การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
13535
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/10/22
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1068 รหัสสำเนา 17840
คำถามอย่างย่อ
สระน้ำเกาษัรคืออะไร?
คำถาม
สระน้ำเกาษัรคืออะไร?
คำตอบโดยสังเขป

“เกาษัร” หมายถึงความดีจำนวนมากมายและมหาศาล หรือตัวอย่างหลายกรณีสามารถกล่าวเพื่อสิ่งนั้นได้ เช่น : สระน้ำ ละแม่น้ำเกาษัร, ชะฟาอัต, นบูวัต, วิทยปัญญา, ความรู้, ลูกหลานจำนวนมากมาย, ทายาทมาก และ ...

เกาษัร มีตัวอย่างสองประการ หนึ่งคือโลกนี้ได้แก่ (ฟาฏิมะฮฺซะฮฺรอ อะลัยฮัสลาม) ส่วนปรโลกคือ (สระน้ำเกาษัร)

สระน้ำเกาษัร, คือแห่งน้ำดื่มอันชุ่มชื่นใจแห่งสรวงสวรรค์ ซึ่งมีความกว้างมากซึ่งชาวสวรรค์หลังจากผ่านสนามสอบสวนในวันฟื้นคืนชีพ หลังจากนั้นพวกเขาจะถูกนำตัวเข้าสวรรค์และเข้าไปยังสระน้ำนั้น พวกเขาจะได้ดื่มน้ำจากสระเกาษัรเพื่อดับความกระหาย และจะได้ลิ้มรสความอร่อยอย่างที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อน. จากสระน้ำเกาษัร, จะมีแม่น้ำอีกสองสายไหลแยกออกไปและจะไหลผ่านอยู่ในสวรรค์นั้น ซึ่งแหล่งน้ำนั้นเสมือนเป็นรากฐานของบัลลังก์ของอัลลอฮฺ

สระน้ำเกาษัร, คือสระน้ำอันเฉพาะสำหรับท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ผู้ที่จะส่งน้ำให้ดื่มคือท่านอิมามอะลี (อ.) และบรรดาอิมามท่านอื่นๆ (อ.) และสำหรับบรรดาศาสดาท่านอื่นก็จะมีสระน้ำเฉพาะเอาไว้สำหรับประชาชาติของท่าน, แต่สระน้ำเหล่านั้นจะไม่มีความกว้างและไม่มีความจำเริญเหมือนสระน้ำของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ)

คำตอบเชิงรายละเอียด

“เกาษัร” อยู่บนรูปของ “เฟาอัล” เป็นคุณลักษณะหนึ่งที่มาจากคำว่า “กิซรัต” หมายถึง “ความดีงานอันมากมายมหาศาล” ความกว้างในความหมายของคำๆ นี้กว้างและครอบคลุมซึ่งมีตัวอย่างนับจำนวนไม่ถ้วน เช่น “ความดีงามที่ไม่มีที่สิ้นสุด” ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่ารวมอยู่ในความหมายดังกล่าวด้วย. สำหรับคำว่า “เกาษัร” ซึ่งปรากฏอยู่ในบทอัลเกาษัร, ตามการอธิบายของชีอะฮฺและซุนนียฺได้กล่าวถึงความหมายจำนวนมากมายสำหรับคำว่า “เกาษัร” เอาไว้ ซึ่งประโยคหนึ่งจากกรณีดังกล่าวนั้นก็คือ “ความดีงามจำนวนมหาศาล” นั่นเอง ตัวอย่างเช่น :

1.สระน้ำหรือแม่น้ำเกาษัร ...2.ตำแหน่งของการชะฟาอะฮฺอันยิ่งใหญ่ในวันฟื้นคืนชีพ, 3.นบูวัต, 4.วิทยปัญญาและความรู้, 5.อัลกุรอาน, 6.สหายและผู้ติดตามจำนวนมากมาย, 7.ปาฏิหาริย์จำนวนมาก, 8. ความรู้และการกระทำจำนวนมาก, 9.เตาฮีดและมิติของเตาฮีด, 10.ความโปรดปรานต่างๆ ที่อัลลอฮฺทรงมอบแด่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ในโลกนี้และปรโลก, 11.ลูกหลานหรือทายาทจำนวนมากมาย ที่ยังคงหลงเหลืออยู่แม้กาลเวลาจะผ่านไปอย่างเนิ่นนานแล้วก็ตาม. ไม่ต้องสงสัยหรือคลางแคลงใจอีกต่อไปว่าทายาทและลูกหลานจำนวนมากมายของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในขณะนี้สืบเชื้อสายมาจาก บุตรีผู้ทรงเกียรติอันสูงส่งท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ซะฮฺรอ (อ.). ดังนั้น องค์ประกอบที่ละเอียดอ่อนที่สุดของ “เกาษัร” ก็คือการมีอยู่ของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ อัซซะฮฺรอ (อ.) ท่านคือคำอธิบายความสัจจริงและเป็นพยานที่ดีที่สุดของความจริงในประเด็นนี้ และท่านยังเป็นสาเหตุแห่งการประทานลงมาและเป็นบริบทของโองการในบท อัลเกาษัร อีกด้วย. แน่นอนการมีอยู่ของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) คือแหล่งที่มาของคุณงามความดีจำนวนมากมายมหาศาล อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของกำดำรงอยู่ของสาส์นแห่งศาสดา (ซ็อล ฯ) ตราบจนถึงวันแห่งการฟื้นคืนชีพ และยังเป็นปัจจัยสำคัญแห่งการคงอยู่อย่างเป็นอมตะของเชื้อสายบริสุทธิ์[1]

ด้วยเหตุนี้ เมื่อพิจารณารายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสระน้ำเกาษัร สาเหตุแห่งการประทานลงมาของอัลกุรอานบทเกาษัร เนื้อหาสาระ และบริบทของโองการแล้ว, สามารถสรุปได้ว่า “เกาษัร” มี 2 องค์ประกอบสำคัญ หนึ่งในนั้นคือโลกนี้ สองคือปรโลกหน้า ซึ่งองค์ประกอบสำคัญสำหรับโลกนี้คือ “เกาษัรมุฮัมมะดียฺ” ฟาฏิมะฮฺอัซซะฮฺรอ (อ.) ผู้ซึ่งเป็นแหล่งสืบสกุลลูกหลาน และเชื้อสายอันบริสุทธิ์ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ซึ่งท่านศาสดาและลูกหลานของท่านในโลกนี้ ได้ทำให้ประชาชนได้อิ่มหนำกับวิชาการความรู้ จริยธรรมอันประเสริฐ บทบัญญัติอิสลาม และมารยาทแห่งพระเจ้า ส่วนองค์ประกอบอื่นก็คือ “เกาษัรแห่งสวรรค์” สระน้ำแห่งสรวงสวรรค์ ซึ่งมีอิมามอะลี (อ.) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ท่านอื่น (อ.) เป็นผู้มอบน้ำดื่มแก่ผู้หิวกระหายผู้เป็นชาวสวรรค์ ซึ่งผ่านการสอบสวนจากสนามสอบสวนแห่ง เยามุลมะชัร ไปแล้ว[2]

คุณลักษณะของสระน้ำเกาษัร

คำอธิบายเกี่ยวกับเกาษัร จากท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) : เกาษัรคือแม่น้ำสายหนึ่งที่เปี่ยมด้วยความดีงามอันมหาศาลในสรวงสวรรค์ ซึ่งความดีนั้นจะไหลออกจากเกาษัรยังบริเวณรอบๆ ของมันเท่ากับจำนวนหมู่ดวงดาวแห่งฟากฟ้า, และถูกหลอมให้เป็นแก้ว ประชาชาติของฉันเมื่อผ่านการสอบสวนแล้วจะได้เข้าสู่สวรรค์ และเข้าไปยังเกาษัร.ซึ่ง ณ เบื้องหน้าของฉันจะมีสระน้ำใบหนึ่งซึ่งความใหญ่ของมันนับตั้งแต่มะดีนะฮฺ จนถึงเยเมน หรือจากมะดีนะฮฺจนถึงอุมมาน. บริเวณด้านข้างจะเป็นทองคำ เครื่องดื่มในนั้นมีความขาวยิ่งกว่าหิมะและน้ำนม,มีความหวานยิ่งกว่าน้ำผึ้ง, มีความหอมยิ่งกว่าชะมด และน้ำนั้นจะไหลผ่านหินก้อนใหญ่ และไข่มุก. บุคคลใดได้ดื่มน้ำจากเกาษัรแล้ว เขาจะไม่กระหายอีกต่อไป ซึ่งบุคคลแรกที่จะได้เข้าสู่สระน้ำเกาษัร,คือบรรดาผู้อพยพจากมักกะฮฺสู่มะดีนะฮฺ. ส่วนผู้ที่เป็นเจ้าของสระน้ำคอยส่งน้ำให้ดื่มคือ เมาลา,อมีรุลมุอฺมินีน, อะลี (อ.) และบรรดาผู้ศรัทธาหลังจากได้ดื่มน้ำแล้ว พวกเขาจะไปรวมตัวกัน ณ ศาสดา (ซ็อล ฯ) และแต่ละคนจะมีความปิติยินดีเมื่อได้พบกันอีกครั้ง, ตาน้ำแห่งเกาษัรจะไหลมาจากภายใต้บัลลังก์ของอัลลอฮฺ ซึ่งบริเวณสถานที่นั้นคือที่พำนักของบรรดาเอาซิยาอฺ (อ.) และชีอะฮฺของพวกเขา และจากที่นั้นจะมีรางน้ำ 2 อันไหลผ่านไปยังสระน้ำเกาษัร และหลังจากนั้นจะมีแม่น้ำ 2 สายไหลเวียนอยู่ในสวรรค์. สำหรับศาสดาแต่ละท่านจะมีแม่น้ำเฉพาะในสวรรค์ และเนื่องจากมีผู้เข้าสู่สระน้ำของตนมากมาย จึงมีการแข่งขันกัน, ซึ่งฉันหวังว่าผู้เข้าสู่สระน้ำของฉันจะมากมายยิ่งกว่าศาสดาท่านอื่น[3]

สระน้ำเกาษัรในทัศนะของอิมามมะอฺซูม (อ.) :

อิมามอมีรุลมุอฺมินีน อะลี (อ.) กล่าวว่า : “สระน้ำเกาษัรของเราเต็มเปี่ยม จากที่นั้นจะมีแม่น้ำไหลแยกออกไป 2 สายจากสวรรค์, หนึ่งในนั้นแหล่งตาน้ำของมันคือ ตัสนีม และอีกสายหนึ่งคือ มะอีน”[4]

รายงานที่เชื่อถือได้จากท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า : บุคคลที่ได้เจ็บปวดหัวใจของเขาเนื่องจากโศกนาฏกรรมของเราที่มีมายังพวกเขา, เขาจะมีชีวิตชีวาเมื่อเวลาแห่งความตายได้มาถึง ชีวิตชีวาที่ไม่เคยออกไปจากหัวใจของเขาไปจนกว่าจะได้เข้ามาสู่สระน้ำเกาษัรของเรา  และสระน้ำเกาษัรจะทำให้พวกเขาดีใจ,เพราะความรักของเราที่มีต่อพวกเขา.แม้กระทั่งว่าได้ดึงดูดพวกเขาเอาไว้ และพวกเขาต่างมีความสุขสนุกสนานกับอาหารหลากหลายประเภท ทำให้พวกเขาไม่ต้องการเคลื่อนย้ายออกไปที่อื่น.และบุคคลใดก็ตามได้ดื่มน้ำจากสระเกาษัร เขาจะไม่กระหายและไม่เหน็ดเหนื่อยอีกต่อไป.น้ำนั้นจะใสเย็นและมีกลิ่นหอมด้วยพิมเสนและกลิ่นชะมด มีรสชาติเหมือนขิง มีความหวานยิ่งกว่าน้ำผึ้ง มีความนุ่มนวลยิ่งกว่าความเรียบเนียน น้ำมีความใสแวว มีความหอมยิ่งกว่ากลิ่นหอมของชะมด. น้ำได้ไหลออกจากตาน้ำตัสนีมแห่งสวรรค์ เข้าไปรวมกับแม่น้ำทุกสายในสวรรค์ และน้ำได้ไหลไปบนโขดหิน ไข่มุก และทับทิม และ ...บุคคลใดที่ได้เห็นความเศร้าโศกของเราและได้แสดงความเศร้าออกมา,ในวันนั้นเขาจะสดชื่นและดีใจเมื่อได้มองสระน้ำเกาษัรของเรา น้ำจะถูกจัดแบ่งให้พรรคพวกเพื่อนพ้องของเราทุกคน ทุกคนจะได้รับความสุขไปตามความรักและการเชื่อฟังที่มีต่อเรา บุคคลใดที่รักเรามากเขาก็จะมีความสุขมาก ...”[5]

สิ่งที่สมควรกล่าวตรงนี้คือ บรรดาอิมามมะอฺซูมทั้งสิบสองท่าน (อ.) ในวันฟื้นคืนชีพคือผู้แจกน้ำจากสระน้ำเกาษัร ดังรายงานฮะดีซและเหตุผลภายนอกจากซัยยิดุชชุฮะดา (อ.) กล่าวว่า : و نحن وُلاة الحوض نسقى وُلاتنا “พวกเราคือเจ้าของสระน้ำเกาษัร,เราจะแจกน้ำให้มิตรสหายของเราได้ดื่ม”[6] ดังเช่นที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้มีความหวังว่า ผู้เข้ามายังสระน้ำของท่านนั้นจะมีมากกว่าศาสดาท่านอื่น มุสลิมคนใดได้ยินชื่อของเกาษัรและคุณสมบัติของมันแล้ว ต่างมีความหวังว่าเขาคงจะได้เป็นผู้หนึ่งที่เข้าไปยังสระน้ำเกาษัร และนบี (ซ็อล ฯ) แต่เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าถ้าต้องการให้ความหวังนั้นเป็นจริง จำเป็นต้องขวนขวายพยายามอย่างยิ่งที่จะเข้าไปสู่สระน้ำเกาษัรให้จงได้ และหลังจากได้จัดเสบียงเตรียมพร้อมที่จะเดินทางแล้วจะต้องระมัดระวังตัวให้ดี เพื่อว่าทุนที่ได้จัดลงแรงไปนั้นจะได้ไม่อันตรธานสูญหายไป ด้วยน้ำมือของมารร้ายชัยฏอน ญิน และมนุษย์ หรือมีอันต้องเสียหายเปรอะเปื้อนความโสมมภายนอก มิเช่นนั้นแล้วความพยายามของตนก็จะสูญเสียไปอย่างไร้ค่า และทำให้เขาไม่อาจเข้าสู่สระน้ำเกาซัรได้ ทุกสิ่งจะกลายเป็นเพียงความฝันและการจินตนาการเท่านั้น ฉะนั้น จงอย่าเฝ้าดีใจกับความฝัน แต่จงพยายามและขวนขวายเพื่อไปให้ถึงยังเป้าหมาย, ความหวังลมๆ แล้งๆ และความหลงลืมคือสิ่งไร้สาระที่สุด

เราต้องตั้งความหวังไว้ว่า บนโลกนี้อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ให้เราได้รับประโยชน์จากความรู้ของบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) และความรักที่มีต่อพวกท่านแล้ว ส่วนในปรโลกเราจะได้เป็นผู้หนึ่งที่ได้เข้าไปยังสระน้ำเกาษัร สายตาของเราจะสว่างไสวเมื่อได้พบท่าน จิตวิญญาณที่หิวกระหายจะได้ดื่มน้ำจากมือของท่าน ด้วยเหตุนี้ ในดุอาอฺนุดบะฮฺเราอ่านว่า :

: "... واسقنا من حوض جده صلى الله علیه وآله بکاسه و بیده ریّا رویّا هنیئاً سائغاً لاظمأ بعده یا ارحم الراحمین"

(โอ้ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า) โปรดให้พวกเราได้อิ่มหนำจากสระน้ำแห่งพระเจ้าตาของท่านอิมามซะมาน (อ.) ด้วยแก้วและถ้วยดื่มจากมือของท่าน (อิมามซะมาน) อิ่มอย่างเต็มรูปแบบดับความกระหาย ซึ่งเขาจะไม่กระหายอีกต่อไปหลังจากนี้ โอ้ ผู้เป็นเลิศแห่งความเมตตา”

แหล่งอ้างอิง :

1. โครัซมี,มักตัล, เล่ม 2, หน้า 33.

2.ซะมัคชะรีย์, มะฮฺมูดบินอุมัร, กิชาฟ, หน้า, 806 – 808.

3.เฎาะบาเฏาะบาอีย์, มุฮัมมัด ฮุเซน, อัลมีซาน, เล่ม 20, หน้า 370 – 373.

4.เฏาะบัรระซีย์, ฟัฎลิบนิลฮะซัน, มัจมะอุลบะยาย, เล่ม 5 หน้า 548 – 549.

5.อัลลามะฮฺ มัจญฺลิซ, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 8, หน้า 18.

6.อัลลามะฮฺ มัจญฺลิซ, ฮักกุลยะกีน, หน้า453 และ 455

7. ฟัยฎ์ กาชานีย์, มุลลามุฮฺซิน, มะฮัจญฺตุลบัยฏออ์, เล่ม 8, หน้า 352 – 353

8.มุฮัดดิซ กุมมี, อับบาส, มะฟาตีฮุลญินาน, ดุอาอฺนุดบะฮฺ

9.มิซบายัซดีย์,มุฮัมมัดตะกีย์, ญามี อัซซุลาลเกาษัร, หน้า 19 - 22



[1] มิซบาฮฺ ยัซดี, มุฮัมมัดตะกี,ญามีอัซซุลาลเกาษัร, หน้า 20 – 22, อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอี, มุฮัมมัด ฮุเซน, ตัฟซีรอัลมีซาน, เล่ม 20, หน้า 370, และตัฟซีรต่างๆอีกจำนวนมาก, ตอนอธิบายโองการดังกล่าว

[2] แน่นอน มีความสัมพันธ์กันอย่างไรระหว่าง เกาษัรมุฮัมมะดี กับ เกาษัรแห่งสวรรค์, ต้องอาศัยการศึกษาค้นคว้าและโอกาสที่มากกว่านี้ แต่สิ่งที่สามารถกล่าวได้คือส่วนใหญ่แล้วสติปัญญาของมนุษย์จะไม่ไร้ความสามารถ ในการสร้างความเข้าใจกับกรณีเช่นนี้

[3] ฟัยฎ์ กาชานีย์,มุฮฺซิน, มะฮัจญฺตุลบัยฎออฺ, เล่ม 8,หน้า 352 – 353,และตัฟซีรเล่มอื่นๆ ตอนอธิบายโองการดังกล่าว

[4] อัลลามะฮฺ มัจญฺลิซซีย์, ฮักกุลยะกีน, หน้า 453, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 8, หน้า 18

[5] อัลลามะฮฺ มัจญฺลิซซีย์, ฮักกุลยะกีน, หน้า 455.

[6] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 45, หน้า 49

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ความสำคัญ และปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คืออะไร?
    7489 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/20
    สำหรับการติดตามผลอย่างมีนัยของการให้ความสำคัญและปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้:1. ...
  • แถวนมาซญะมาอะฮฺควรตั้งอย่างไร? การเคลื่อนในนมาซทำให้บาฎิลหรือไม่?
    6575 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    เกี่ยวกับคำถามของท่านในเรื่องการจัดแถวนมาซญะมาอะฮฺมีกล่าวไว้แล้วในหนังสือฟิกฮต่างๆ :1. มะอฺมูมต้องไม่ยืนล้ำหน้าอิมามญะมาอะฮฺ[1]2. มุสตะฮับถ้าหากมะอฺมูม,เป็นชายเพียงคนเดียว, ให้ยืนด้านขวามือของอิมามญะมาอะฮฺ[2], และเป็นอิฮฺติยาฏวาญิบให้ยืนถอยไปด้านหลังของอิมามญะมาอะฮฺแต่ถ้ามีมะอฺมูมหลายคนให้ยืนด้านหลังของอิมามญะมาอะฮฺ[3]ดังนั้นโดยทั่วไปของเรื่องนี้ต้องการให้แต่ละคนจากมะอฺมูมคนที่ 1 และ 2 ปฏิบัติหน้าที่ของตนส่วนคำตอบสำหรับคำถามที่ว่ามะอฺมูมคนที่สองเป็นสาเหตุทำให้มะอฺมูมคนแรกต้องเคลื่อนที่ในนมาซญะมาอะฮฺอันเป็นสาเหตุทำให้นมาซของเขาบาฏิลหรือไม่นั้น, ต้องกล่าวว่า: การกระทำใดก็ตามที่ทำให้รูปแบบของมนาซต้องสูญเสียไปถือว่านมาซบาฏิล, เช่นการกอดอกหรือการกระโดดและฯลฯ[4]มัรฮูมซัยยิดกาซิมเฎาะบาเฏาะบาอียัซดีกล่าวว่า[5]ขณะนมาซ,ถ้าได้เคลื่อนเพื่อหันให้ตรงกับกิบละฮฺ[6]ถือว่าถูกต้อง,แม้ว่าจะถอยไปสองสามก้าวหรือมากกว่านั้น, เนื่องจากการเคลื่อนเพียงเท่านี้ไม่นับว่าเป็นอากับกริยาเพิ่มในนมาซทั้งที่มิได้มีการเคลื่อนมากมายและไม่ถือเป็นการทำลายรูปลักษณ์ของนมาซหรือเคลื่อนมากไปกว่านั้นก็ยังไม่ถือว่าทำลายรูปลักณ์ของนมาซอยู่ดีด้วยเหตุนี้มีรายงานอนุญาตให้กระทำเช่นนั้นด้วย
  • ในเมื่อการกดขี่เป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลกแล้ว เหตุใดอิมามมะฮ์ดี (อ.) จึงยังไม่ปรากฏกาย
    6293 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    เมื่อคำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้จะทำให้เราค้นหาคำตอบได้ง่ายยิ่งขึ้น1.     เราจะเห็นประโยคที่ว่าیملأ الارض قسطا و عدلا کما ملئت ظلما و جورا" ในหลายๆฮะดิษ[1] (ท่านจะเติมเต็มโลกทั้งผองด้วยความยุติธรรมแม้ในอดีตจะเคยคละคลุ้งไปด้วยความอยุติธรรม) สิ่งที่เราจะเข้าใจได้จากฮะดีษดังกล่าวก็คือ
  • ทัศนะของอัลกุรอาน เกี่ยวกับความประพฤติสงบสันติของชาวมุสลิม กับศาสนิกอื่นเป็นอย่างไร?
    14546 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/09/29
    »การอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสันติของศาสนาต่างๆ« คือแก่นแห่งแนวคิดของอิสลาม อัลกุรอานมากมายหลายโองการ ได้เน้นย้ำเกี่ยวกับประเด็นนี้เอาไว้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งกล่าวโดยตรงสมบูรณ์ หรือกล่าวเชิงเปรียบเปรย ทัศนะของอัลกุรอาน ถือว่าการทะเลาะวิวาท การสงคราม และความขัดแย้งกัน เนื่องจากแตกต่างทางความเชื่อ ซึ่งบางศาสนาได้กระปฏิบัติเช่นนั้น เช่น สงครามไม้กางเกงของชาวคริสต์ เป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ อิสลามห้ามการเป็นศัตรู และมีอคติกับผู้ปฏิบัติตามศาสนาอื่น และถือว่าวิธีการดูถูกเหยียดหยามต่างๆ ที่มีต่อศาสนาอื่น มิใช่วิธีการของศาสนา อัลกุรอาน ได้แนะนำและสนับสนุนการอยู่ร่วมกันอย่างสันติวิธี ด้วยแนวทางต่างๆ มากมาย แต่ ณ ที่นี้จะขอกล่าวถึงประเด็นสำคัญที่สุด อาทิเช่น : 1.ความเสรีทางความเชื่อและความคิด 2.ใส่ใจต่อหลักศรัทธาร่วม 3.ปฏิเสธเรื่องความนิยมในเชื้อชาติ 4.แลกเปลี่ยนความคิดด้วยสันติวิธี
  • จุดประสงค์ของคำว่า “บุรูจญ์” ในกุรอานหมายถึงอะไร?
    12491 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/20
    โดยปกติความหมายของโองการที่มีคำว่า “บุรุจญ์” นั้นหมายถึงอัลลอฮฺ ตรัสว่า : เราได้ประดับประดาท้องฟ้า – หมายถึงด้านบนเหนือขึ้นไปจากพื้นดิน – อาคารและคฤหาสน์อันเป็นสถานพำนักของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์, เราได้ประดับให้สวยงามแก่ผู้พบเห็น และเครื่องประดับเหล่านั้นได้แก่หมู่ดวงดาวทั้งหลาย คำๆ นี้ตามความหมายเดิมหมายถึง ปราสาทและหอคอยที่แข็งแรงมั่นคง, ซึ่งอัลกุรอานก็ถูกใช้ในความหมายดังกล่าวด้วย หรือหมายถึง เครื่องประดับที่ทุกวันนี้ทั่วโลกได้นำไปประดับประดาสร้างความสวยงาม ตระการตา. ...
  • ท่านนบี(ซ.ล.)เคยกล่าวไว้ดังนี้หรือไม่? “หากผู้คนล่วงรู้ถึงอภินิหารของอลี(อ.) จะทำให้พวกเขาปฏิเสธพระเจ้าเพราะจะโจษขานว่าอลีก็คือพระเจ้านั่นเอง(นะอูซุบิลลาฮ์)”
    8982 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    เราไม่พบฮะดีษที่คุณยกมาในหนังสือเล่มใดแต่มีฮะดีษชุดที่มีความหมายคล้ายคลึงกันปรากฏอยู่ในตำราหลายเล่มซึ่งขอหยิบยกฮะดีษบทหนึ่งจากหนังสืออัลกาฟีมานำเสนอพอสังเขปดังนี้อบูบะศี้รเล่าว่าวันหนึ่งขณะที่ท่านนบี(ซ.ล.)นั่งพักอยู่ท่านอิมามอลี(อ.)ก็เดินมาหาท่านท่านนบีกล่าวแก่อิมามอลี(อ.)ว่า “เธอคล้ายคลึงอีซาบุตรของมัรยัมและหากไม่เกรงว่าจะมีผู้คนบางกลุ่มยกย่องเธอเสมือนอีซาแล้วฉันจะสาธยายคุณลักษณะของเธอกระทั่งผู้คนจะเก็บดินใต้เท้าของเธอไว้เพื่อเป็นสิริมงคล ...
  • เราสามารถที่จะใช้เงินคุมุสที่เกิดขึ้นจากการออมทรัพย์เพื่อการซื้อบ้านได้หรือไม่?
    5448 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/08
    ก่อนที่จะตอบคำถามของคุณจะต้องกล่าวว่า: ตามทัศนะของท่านอายาตุลลอฮ์อุซมาคอเมเนอีเงินออมจากกำไรของผลประกอบการนั้นแม้จะเป็นการออมเพื่อใช้ชำระในชีวิตประจำวันแต่เมื่อถึงปีคุมุสแล้วจะต้องชำระคุมุสนอกจากได้มีการออมเพื่อซื้อของใช้จำเป็นในชีวิตหรือค่าใช้ชำระจำเป็น
  • เป็นไปได้ไหมที่จะอธิบาย อัรบะอีน, อิมามฮุซัยนฺ ให้ชัดเจน?
    8315 تاريخ بزرگان 2555/05/20
    เกี่ยวกับพิธีกรรมอัรบะอีน, สิ่งที่ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรฒศาสนาของเรา, คือการรำลึกถึงช่วง 40 วัน แห่งการเป็นชะฮาดัตของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ซัยยิดุชชุฮะดา ซึ่งตรงกับวันที่ 20 เดือนเซาะฟัร, ท่านอิมามฮะซันอัสการียฺ (อ.) ได้กล่าวถึงสัญลักษณ์ของผู้ศรัทธา »มุอฺมิน« ไว้ 5 ประการด้วยกัน กล่าวคือ : การดำรงนมาซวันละ 51 เราะกะอัต, ซิยารัตอัรบะอีน, สวมแหวนทางนิ้วมือข้างขวา, เอาหน้าซัจญฺดะฮฺแนบกับพื้น และอ่านบิสมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม ในนมาซด้วยเสียงดัง[1] ทำนองเดียวกันนักประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า ท่านญาบิร บิน อับดุลลอฮฺ อันซอรียฺ,พร้อมกับอุฏ็อยยะฮฺ เอาฟีย์ ประสบความสำเร็จต่อการเดินทางไปซิยาเราะฮฺอิมามฮุซัยนฺ (อ.) หลังจากถูกทำชะฮาดัตในช่วง 40 วันแรก
  • สัมพันธภาพระหว่างศรัทธาและความสงบมั่นที่ปรากฏในกุรอานเกิดขึ้นได้อย่างไร?
    6631 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/07
    อีหม่านให้ความหมายว่าการให้การยอมรับ ซึ่งตรงข้ามกับการกล่าวหาว่าโกหก แต่ในสำนวนทั่วไป อีหม่านหมายถึงการยอมรับด้วยวาจา ตั้งเจตนาในใจ และปฏิบัติด้วยสรรพางค์กาย ส่วน “อิฏมินาน” หมายถึงความสงบภายหลังจากความกระวนกระวายใจ ความแตกต่างระหว่างอีหม่านและความสงบมั่นทางจิตใจก็คือ ในบางครั้งสติปัญญาของคนเราอาจจะยอมรับเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยกระบวนการพิสูจน์เชิงเหตุและผล ทว่ายังไม่บังเกิดความสงบมั่นใจจิตใจ แต่ถ้าลองได้มั่นใจในสิ่งใดแล้ว ความมั่นใจนี้จะนำมาซึ่งความสงบมั่นทางจิตใจในที่สุด มีผู้ถามอิมามริฎอ(อ.)ว่า ท่านนบีอิบรอฮีม(อ.)มีความเคลือบแคลงสงสัยหรืออย่างไร? ท่านตอบว่า “หามิได้ ท่านมีความมั่นใจจริง แต่ทว่าท่านขอให้พระองค์ทรงเพิ่มพูนความมั่นใจแก่ตนเองอีก” ...
  • เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาวเคราะห์ดวงอื่น,อิสลามมีทัศนะอย่างไรบ้าง?
    12008 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/06/22
    แนวคิดที่ว่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่บนเส้นทางช้างเผือกหรือดาวเคราะห์ดวงอื่นหรือมีสิ่งมีสติปัญญาอื่นอยู่อีกหรือไม่, เป็นหนึ่งในคำถามที่มนุษย์เฝ้าติดตามค้นหาคำตอบอยู่จนถึงปัจจุบันนี้, แต่ตราบจนถึงเดี๋ยวนี้ยังไม่ได้รับคำตอบที่แน่นอน. อัลกุรอานบางโองการได้กล่าวถึงสิ่งมีชีวิตอื่นในชั้นฟ้าเอาไว้อาทิเช่น1. ในการตีความของคำว่า “มินดาบะติน” ในโองการที่กล่าวว่า :”และหนึ่งจากบรรดาสัญญาณ (อำนาจ) ของพระองค์คือการสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินและสิ่งที่ (ประเภท) มีชีวิตทั้งหลายพระองค์ทรงแพร่กระจายไปทั่วในระหว่างทั้งสองและพระองค์เป็นผู้ทรงอานุภาพที่จะรวบรวมพวกเขาเมื่อพระองค์ทรงประสงค์”

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59625 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57021 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41834 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38639 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38535 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33630 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27648 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27443 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27286 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25344 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...