การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
12883
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/02
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1974 รหัสสำเนา 13394
หมวดหมู่ เทววิทยาใหม่
คำถามอย่างย่อ
ศาสนาและวัฒนธรรมมีความสัมพันธ์กันอย่างไร?
คำถาม
ศาสนาและวัฒนธรรมมีความสัมพันธ์กันอย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

การที่จะสามารถนิยามความสัมพันธระหว่างศาสนาและวัฒนธรรมจารีตได้นั้น ขั้นแรกต้องเข้าใจถึงลักษณะจำเพาะ เป้าประสงค์ และผลผลิตของทั้งศาสนาและวัฒนธรรมเสียก่อน.

บางคนปฎิเสธความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและวัฒนธรรมโดยสิ้นเชิง ทัศนคตินี้ค่อนข้างจะไร้เหตุผล ทั้งนี้ก็เพราะแม้ว่าวัฒนธรรมจารีตบางประเภทอาจจะผิดแผกและไม่เป็นที่ยอมรับโดยศาสนาเนื่องจากขัดต่อเป้าประสงค์ที่ศาสนามุ่งนำพามนุษย์สู่ความผาสุก แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่ายังมีวัฒนธรรมจารีตอีกมากมายที่สอดคล้องและได้รับการยอมรับโดยศาสนา ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีวัฒนธรรมจารีตบางส่วนที่เกิดขึ้นจากคุณค่าที่ได้รับการฟูมฟักโดยศาสนาเช่นกัน.

คำตอบเชิงรายละเอียด

คำว่า "ดีน"  (ศาสนา) ในเชิงภาษาอรับมีความหมายที่หลากหลาย อาทิเช่น การตอบแทน ,การภักดี, ความเคยชิน ,การตัดสินพิพากษา แต่จากจำนวนความหมายดังกล่าว ขุมตำราตัฟซีรกุรอาน(อรรถาธิบาย)รวมทั้งตำราไวยากรณ์อรับบ่งชี้ว่าอัลกุรอานใช้คำว่า ดีน เพื่อสื่อความหมายถึงความภักดี และการตอบแทนเสียส่วนใหญ่ ส่วนความหมายอื่นๆที่มีอยู่ประปรายนั้นก็ได้แก่ การหยิบยืมทรัพย์สิน การคำนวน และการตราคำสั่ง[1]

โองการที่สื่อความหมายถึงการภักดีนั้นได้แก่ "لااکراه فی الدین"؛  (ไม่มีการข่มบังคับในเรื่องของการภักดี) [2] ส่วนโองการที่สื่อความหมายถึงการตอบแทนก็ได้แก่ "مالک یوم الدین" (จ้าวแห่งวันตอบแทน)[3]

ส่วนความหมายของคำว่าดีนหรือศาสนาในแวดวง(วิชาการอิสลาม)นั้น ท่านรอฆิบ อิศฟะฮานี (นักไวยากรณ์อรับนามอุโฆษ)เชื่อว่าเป็นการอุปมาอุปมัยถึง ชะรีอัต[4] (บทบัญญัติศาสนา) ส่วนท่านฟาฎิล มิกด้าด เชื่อว่าหมายถึง ฎอรีกัตและชะรีอัต[5] (วิถีทางและบทบัญญัติศาสนา) นอกจากนี้ศาสนายังหมายถึงพันธะสัญญาต่างๆที่มีต่อพระเจ้า ซึ่งจะขับเคลื่อนมนุษย์ให้ประคองตนสอดคล้องกับบทบัญญัติที่ประทานแก่ท่านศาสดา ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นความหมายเชิงกว้างของคำว่า "ดีน" (ศาสนา) ที่สามารถปรับประยุกต์และนำมานิยามบทบัญญัติจากพระเจ้าที่ได้ประทานแก่เหล่าศาสดาทุกท่าน.[6]

หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ศาสนาอุดมไปด้วยแนวความเชื่อ ,ศีลธรรมจรรยา และประมวลบทบัญญัติจากพระเจ้านั่นเอง[7]

อย่างไรก็ดี ความหมายจำเพาะของคำว่าดีน (ศาสนา) หรือศาสนาที่เที่ยงธรรมดังที่ปรากฏในโองการอัลกุรอานนั้นก็คือ "อิสลาม"

 "ان الدین عندالله الاسلام..." (แน่แท้ อิสลามคือศาสนา(อันเที่ยงธรรม)  อัลลอฮ์)[8]

ส่วน "วัฒนธรรม"นั้น นับเป็นคำที่มีความหมายกว้างและครอบคลุมมากที่สุดคำหนึ่งในเชิงสังคมศาสตร์ โดยมีผู้นิยามความหมายคำนี้ไว้อย่างหลากหลาย

ในเชิงภาษา วัฒนธรรมหมายถึงจรรยามารยาท, องค์ความรู้, ศาสตร์ และความเข้าใจ[9]

ส่วนความหมายในแวดวงสังคมศาสตร์นั้นหมายถึง ความรู้และจรรยามารยาท, จารีตประเพณี, วัตรปฎิบัติของแต่ละกลุ่มชน ซึ่งกลุ่มชนนั้นๆสืบสานและถือปฎิบัติอย่างเคร่งครัด[10] 

บ้างก็นิยามวัฒนธรรมว่า หมายถึงประมวลองค์ความรู้ต่างๆ ศิลปแขนงต่างๆ แนวคิดและความเชื่อ, ศีลธรรมจรรยา, กฎเกณฑ์และข้อตกลง รวมทั้งจารีตประเพณีทั้งหลาย.[11]

เพราะฉะนั้น ต่อข้อซักถามที่ว่า ระหว่างศาสนาและวัฒนธรรมมีความเชื่อมโยงกันหรือไม่? และหากมีความเชื่อมโยงกัน จะถือว่าสองข้อเท็จจริงนี้คือสิ่งเดียวกันได้หรือไม่? เราจะถือว่าศาสนาเป็นองค์ประกอบหนึ่งของวัฒนธรรม หรือในทางกลับกัน เราจะเชื่อว่าศาสนาคือบ่อเกิดของวัฒนธรรมได้หรือไม่?  ปริศนาเหล่านี้ เนื่องจากวัฒนธรรมมีคำนิยามที่หลากหลาย จึงยังเป็นที่ถกเถียงกันในแวดวงวิชาการต่อไป

บางคนเชื่อว่าไม่มีความเกี่ยวโยงใดๆระหว่างคำว่าศาสนาและวัฒนธรรม ทั้งนี้เนื่องจากวัฒนธรรมถือเป็นมรดกทางสังคมและเกี่ยวข้องกับเอกลักษณ์ของชาติ  วัฒนธรรมค่อยๆผลิดอกออกผลภายในสังคม โดยที่ปัจจัยทางธรรมชาติและภูมิประเทศของแต่ละท้องถิ่นสามารถก่อให้เกิดวัฒนธรรมที่แตกต่างกันได้ 

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ วัฒนธรรรมมิไช่สิ่งอื่นใดเลยนอกจากผลผลิตที่สังคมได้สังเคราะห์ขึ้นท่ามกลางบริบททางธรรมชาติและภูมิประเทศ (และปัจจัยทางประวัติศาสตร์) และได้มอบเป็นมรดกแก่คนในสังคมสืบไป ทว่าในทางตรงกันข้าม ศาสนามิไช่มรดกทางสังคม ศาสนามิไช่ผลงานที่มนุษย์รังสรรค์ขึ้น หากจะกล่าวตามประสานักเทวนิยมก็ก็กล่าวได้ว่า "ศาสนาเป็นสถาบันที่พระเจ้าสถาปนาขึ้น"  หากมองในมุมนี้แล้ว เราจะพบว่าศาสนามิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมในแง่จุดกำเนิด แต่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างสอดคล้องกัน[12]

อย่างไรก็ดี นักวิชาการบางคนเชื่อว่าเป็นการยากที่จะปฎิเสธสัมพันธภาพที่มีระหว่างนัยยะของศาสนาและวัฒนธรรม ทั้งนี้เนื่องจากคำสอนศาสนาหลายประการนับเป็นคำสอนทางวัฒนธรรมด้วยนั่นเอง กล่าวคือ หากศาสนาสอนเกี่ยวกับหลักความเชื่อและศีลธรรมจรรยา ก็มิอาจปฏิเสธได้ว่าสิ่งดังกล่าวถือเป็นแก่นของวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และหากจรรยามารยาทและจารีตต่างๆคือองค์ประกอบหลักของวัฒนธรรม อย่าลืมว่าชะรีอัต (บทบัญญัติ) ของศาสนาก็พูดถึงเรื่องดังกล่าวเช่นกัน [13]

อย่างไรก็ดี วัฒนธรรมย่อมแตกต่างกันไปตามปัจจัยทางภูมิประเทศและสภาวะดินฟ้าอากาศ วัฒนธรรมจารีตบางอย่าง อาทิเช่นการฝังบุตรสาวทั้งเป็นในยุคอรับญาฮิลียะฮ์ รวมถึงอุตริกรรมและสิ่งงมงายอันแพร่หลายซึ่งเมื่อกาลเวลาผ่านไปก็ค่อยๆแปรสภาพเป็นวัฒนธรรมนั้น ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับคำสอนของศาสนาอย่างแน่นอน วัฒนธรรมจารีตบางประเภทสามารถเป็นที่ยอมรับของศาสนาได้หากได้รับการสังคายนาแก้ไขบ้างเสียก่อน และวัฒนธรรมจารีตบางประเภทก็เกิดขึ้นภายใต้ร่มเงาคำสอนของศาสนาโดยตรง

หากจะพิจารณาถึงจุดกำเนิดของศาสนา ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาต่างๆชี้ให้เห็นว่าศาสนาแต่ละศาสนาจะกำเนิดขึ้นเมื่อโครงสร้างของระบอบศาสนาที่มีอยู่เดิมได้เสื่อมลงหรืออาจเกิดความเสื่อมโทรมทางศีลธรรมขึ้นในสังคม อย่างไรก็ตาม เมื่อศาสนาหนึ่งเริ่มแผ่ขยายขึ้นก็มักจะปฎิวัติโค่นล้มหรือไม่ก็ปฎิรูปโครงสร้างค่านิยมเดิมในสังคม ส่งผลให้วัฒนธรรมของสังคมดังกล่าวสั่นสะเทือนรุนแรงและหาทางกำจัดเนื้อหาของตนบางประการ และยอมรับเนื้อหาอันสอดคล้องกับคุณค่าชุดใหม่ของศาสนาหรือสำนักคิดใหม่ จากจุดนี้เองที่เราจะเห็นว่าศาสนาหรือสำนักคิดสามารถสร้างวัฒนธรรมได้

อย่างไรก็ตาม มิไช่ว่าทุกศาสนาจะสร้างวัฒนธรรมขึ้นมาได้ ข้อเท็จจริงก็คือ ศาสนาทุกศาสนาจะสร้างสรรค์/นำเสนอคุณค่าชุดหนึ่งขึ้นมา โดยที่คุณค่าเหล่านี้ :

1.     สวมบทบาทวัฒนธรรมเข้าแก้ไขวัฒนธรรมเดิมที่ขัดแย้งกับคุณค่าดังกล่าว ดังกรณีที่วัฒนธรรมจารีตการฝังบุตรสาวทั้งเป็นได้ถูกเพิกถอนหลังอิสลามแผ่ขยาย 

2.     เข้าเติมเต็มวัฒนธรรมที่ว่างเปล่าไร้ซึ่งเนื้อหาคุณค่า หรือในกรณีที่วัฒนธรรมบางอย่างห่อหุ้มเนื้อหาที่เป็นภัยคุกคามต่อคุณค่าชุดใหม่ แต่ยังสามารถชำระให้บริสุทธิจากเนื้อหาเก่าได้ ศาสนาก็จะแปรสภาพวัฒนธรรมดังกล่าวให้พร้อมต่อการเจริญงอกงามของคุณค่าชุดใหม่ ดังจะเห็นได้จากกรณีการประกอบพิธีฮัจย์ที่เคยคราคร่ำไปด้วยเนื้อหาของการตั้งภาคีและการบูชาเจว็ดในยุคญาฮิลียะฮ์ (อวิชชา) อิสลามมิได้ขจัดวัฒนธรรมดังกล่าวอย่างถอนรากถอนโคน แต่ได้อนุรักษ์ไว้โดยเติมเต็มเนื้อหาเข้าไปให้สมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้เองที่วัฒนธรรมเหล่านี้ยังคงดำรงอยู่ได้ในโครงสร้างของคุณค่าชุดใหม่ต่อไปได้ ดังเช่น วัฒนธรรมการฉลองปีใหม่ของชาวอิหร่านก่อนและหลังอิสลาม[14]

ขอย้ำอีกครั้งว่าศาสนาใหม่มิได้นำมาซึ่งวัฒนธรรมใหม่ แต่ศาสนาจะนำเสนอคุณค่าชุดใหม่ โดยที่สังคมจะก่อกำเนิดวัฒนธรรมขึ้นตามบริบทของคุณค่าชุดดังกล่าว และเมื่อวัฒนธรรมใหม่ถือกำเนิดขึ้นตามคำสอนของศาสนาใหม่ ครั้นเวลาผ่านไป ศาสนาก็จะกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกับวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆในที่สุด

เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับประเด็นนี้ก็คือ หากศาสนาใดศาสนาหนึ่งมีอิทธิพลเหนือความคิดของกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ย่อมจะให้กำเนิดพหุวัฒนธรรมอันหลากหลายทว่าตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณค่าชุดเดียวกัน คงไม่ถูกต้องนักที่จะคิดว่าเมื่อศาสนาเข้าสู่เขตคามใดย่อมจะบังเกิดวัฒนธรรมเดียวเท่านั้น ที่ถูกต้องก็คือ ศาสนาจะผลักดันให้คุณค่าชุดเดียวโดดเด่นและมีอิทธิพลเหนือกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ส่วนวัฒนธรรมนั้นจะแตกต่างกันไปตามภูมิหลังทางวัฒนธรรมดั้งเดิมของแต่ละท้องถิ่น ทั้งนี้ก็เพราะกรอบแห่งวัฒนธรรมเกิดขึ้นบนพื้นฐานทางภูมิประเทศและสภาพความเป็นอยู่ของแต่ละท้องถิ่นนั่นเอง [15]



[1]. สารานุกรมตะชัยยุอ์ เล่ม 7  คำว่า دین

2. ซูเราะฮ์ อัลบะเกาะเราะฮ์ : 256

[3]. ซูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์ : 4

[4]. รอฆิบ อิศฟะฮานี,มุฟเราะดาต อัลฟาซุลกุรอาน หน้า 177 คำว่า دین (ศาสนา)

[5]. ฟาฎิล มิกด้าด, ชัรฮ บาบ ฮาดีอะชัร หน้า 2

[6]. สารานุกรมตะชัยยุอ์ หน้า 7 คำว่า دین

[7]. อายะตุลลอฮ์ ญะวาดี ออโมลี, ฟิตรัต ดาร กุรอาน เล่ม 12 หน้า 145

[8]. ซูเราะฮ์อาลิอิมรอน : 19

[9]. มุฮัมมัด มุอีน, พจนานุกรมมุอีน เล่ม 2 คำว่า فرهنگ (วัฒนธรรม)

[10]. ซัยยิดมุศเฏาะฟา ดัชตี ฮุซัยนี, มะอาริฟ วะ มะอารีฟ เล่ม คำว่า فرهنگ

[11]. อับดุลฮุเซน สะอีดียอน, ดาอิเราะตุลมะอาริฟ โนว์ เล่ม 4 คำว่า فرهنگ

[12]. นสพ.สะลอม, ประจำวันที่ 15/7/1373 หน้า 10

[13]. อ้างแล้ว

[14]. นสพ.ญะฮอเน อิสลาม, ประจำวันที่ 1/2/1373 หน้า 10

[15]. อ้างแล้ว

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ความต่างกิจกรรมของวิญญาณขณะนอนหลับ และสลบคืออะไร?
    16058 ปรัชญาอิสลาม 2555/09/29
    รูปแบบการปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับจิตวิญญาณขณะตื่นนอน กับการปฏิสัมพันธ์ขณะนอนหลับนั้นมีความแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ ตามคำสอนของอิสลามจึงได้เรียกการนอนหลับว่า เป็นพี่น้องของความตาย วิทยาศาสตร์แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลการปฏิสัมพันธ์ระหว่างจิตวิญญาณกับร่างกายขณะนอนหลับ แต่สามารถค้นพบการเปลี่ยนแปลงและปฏิกิริยาบางอย่างทางร่างกายขณะนอนหลับได้ บนพื้นฐานของการค้นคว้านั้นและการทำสอบพบว่ามนุษย์มีการนอนหลับในสองระดับ ด้วยนามว่า REM และ Non REM ซึ่งทั้งสองมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยปกติแล้วการความฝันที่มักเกิดในระดับของ Non REM เกิดจากการหลับลึกซึ่งจะไม่อยู่ในความทรงจำ แต่เฉพาะการนอนหลับในระ REM เท่านั้นที่จะคงอยู่ในความทรงจำ ส่วนการสลบหมดสติเกิดจากการเบี่ยงเบนของวิญญาณ และเป็นการหลับที่ลุ่มลึกมาก ทำให้เขาไม่มีความทรงจำอันใดหลงเหลืออยู่ ...
  • ถ้าหากพิจารณาบทดุอาอฺต่างๆ ในอัลกุรอาน จะเห็นว่าดุอาอฺเหล่านั้นได้ให้ความสำคัญต่อตัวเองก่อน หลังจากนั้นเป็นคนอื่น เช่นโองการอัลกุรอาน ที่กล่าวว่า “อะลัยกุม อันฟุซะกุม” แต่เมื่อพิจารณาดุอาอฺของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺจะพบว่าท่านหญิงดุอาอฺให้กับคนอื่นก่อนเป็นอันดับแรก, ดังนั้น ประเด็นนี้จะมีทางออกอย่างไร?
    8872 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ในตำแหน่งของการขัดเกลาจิตวิญญาณและยกระดับจิตใจตนเองนั้น, มนุษย์ต้องคำนึงถึงตัวเองก่อนบุคคลอื่นเพราะสิ่งนี้เป็นคำสั่งของอัลกุรอานและรายงานนั่นเอง, เนื่องจากถ้าปราศจากการขัดเกลาจิตวิญญาณแล้วการชี้แนะแนวทางแก่บุคคลอื่นจะบังเกิดผลน้อยมาก, แต่ส่วนในตำแหน่งของดุอาอฺหรือการวิงวอนขอสิ่งที่ต้องการจากพระเจ้า,ถือว่าเป็นความเหมาะสมอย่างยิ่งที่มนุษย์จะวอนขอให้แก่เพื่อนบ้านหรือบุคคลอื่นก่อนตัวเอง, ...
  • กฎของการออกนอกศาสนาของบุคคลหนึ่ง, ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครองหรือไม่?
    5438 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    คำถามของท่าน สำนัก ฯพณฯ มัรญิอฺตักลีดได้ออกคำวินิจฉัยแล้ว คำตอบของท่านเหล่านั้น ดังนี้ ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน): การออกนอกศาสนา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครอง ซึ่งถ้าหากบุคคลนั้นได้ปฏิเสธหนึ่งในบัญญัติที่สำคัญของศาสนา ปฏิเสธการเป็นนบี หรือมุสาต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือนำความบกพร่องต่างๆ มาสู่หลักการศาสนาโดยตั้งใจ อันเป็นสาเหตุนำไปสู่การปฏิเสธศรัทธา หรือออกนอกศาสนา หรือตั้งใจประกาศว่า ตนได้นับถือศาสนาอื่นนอกจากอิสลามแล้ว ทั้งหมดเหล่านี้ถือว่า เป็นมุรตัด หมายถึงออกนอกศาสนา หรือละทิ้งศาสนาแล้ว ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา มะการิม ชีรอซียฺ (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน) : ถ้าหากบุคคลหนึ่งปฏิเสธหลักความเชื่อของศาสนา หรือปฏิเสธบทบัญญัติจำเป็นของศาสนาข้อใดข้อหนึ่ง และได้สารภาพสิ่งนั้นออกมาถือว่า เป็นมุรตัด ...
  • ได้ยินว่าระหว่างสงครามอิรักกับอิหร่านนั้น ร่างของบางคนที่ได้ชะฮีดแล้ว, แต่ไม่เน่าเปื่อยสลาย, รายงานเหล่านี้เชื่อถือได้หรือยอมรับได้หรือไม่?
    8235 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/17
    โดยปกติโครงสร้างของร่างกายมนุษย์, จะเป็นไปในลักษณะที่ว่า เมื่อจิตวิญญาณได้ถูกปลิดไปจากร่างกายแล้ว, ร่างกายของมนุษย์จะเผ่าเปื่อยและค่อยๆ สลายไป, ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก ที่ร่างกายของบางคนหลังจากเสียชีวิตไปแล้วนานหลายปี จะไม่เน่าเปื่อยผุสลายและอยู่ในสภาพปกติ. แต่อีกด้านหนึ่ง อัลลอฮฺ ทรงพลานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่างและทุกการงาน[1] ซึ่งอย่าเพิ่งคิดว่าสิ่งนี้จะไม่มีความเป็นไปได้ หรือห่างไกลจากภูมิปัญญาแต่อย่างใด. เพราะว่านี่คือกฎเกณฑ์ทั่วไป ซึ่งได้รับการละเว้นไว้ในบางกรณี, เช่น กรณีที่ร่างของผู้ตายอาจจะไม่เน่าเปื่อย โดยอนุญาตของอัลลอฮฺ ดังเช่น มามมีย์ เป็นต้น จะเห็นว่าร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อย ซึ่งเรื่องนี้ได้ผ่านพ้นไปนานหลายพันปีแล้ว และประสบการณ์ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นความจริงดังกล่าวแล้วด้วย ดังนั้น ถ้าหากพระประสงค์ของอัลลอฮฺ ครอบคลุมเหนือประเด็นดังกล่าวนี้ ก็เป็นไปได้ที่ว่าบางคนอาจเสียชีวิตไปแล้วหลายร้อยปี แต่ร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อยผุสลาย ยังคงสมบูรณ์เหมือนเดิม แล้วพระองค์ทรงเป่าดวงวิญญาณให้เขาอีกครั้ง ซึ่งเขาผู้นั้นได้กลับมีชีวิตขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง, อัลกุรอานบางโองการ ก็ได้เน้นย้ำถึงเรื่องราวของศาสดาบางท่านเอาไว้[2] เช่นนี้เองสิ่งที่กล่าวไว้ในรายงานว่า ถ้าหากบุคคลใดที่มีนิสัยชอบทำฆุซลฺ ญุมุอะฮฺ, ร่างกายของเขาในหลุมฝังศพจะไม่เน่นเปื่อย
  • มีการระบุสิทธิของสิ่งถูกสร้างอื่นๆไว้ในคำสอนอิสลามหรือไม่?
    6585 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/04
    ในตำราทางศาสนามีฮะดีษมากมายที่ระบุว่าสิทธิประโยชน์ต่างๆมิได้ครอบคลุมเฉพาะมนุษย์เท่านั้นทว่ามัคลู้กอื่นๆก็มีสิทธิบางประการเช่นกันดังที่ปรากฏในหนังสือمن لا یحضره الفقیه มีฮะดีษหลายบทรวบรวมไว้ในหมวดที่ว่าด้วยสิทธิของปศุสัตว์เหนือเจ้าของ (حق الدابّة علی صاحبه ) ซึ่งเราขอนำเสนอโดยสังเขปดังต่อไปนี้:ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า “สัตว์ทั้งหลายมีสิทธิเหนือผู้ครอบครองดังต่อไปนี้จะต้องให้อาหารเมื่อลงจากหลังของมันจะต้องให้มันกินน้ำเมื่อผ่านแหล่งน้ำจะต้องไม่บรรทุกสัมภาระหรือบังคับให้เดินทางเกินความสามารถของมันและอย่าฟาดที่ใบหน้าของมันเพราะสรรพสัตว์พร่ำรำลึกถึงพระองค์เสมอ”[1]นอกจากนี้ยังมีฮะดีษที่คล้ายคลึงกันในหมวดحق الدابّة علی صاحبه ของหนังสือบิฮารุลอันว้ารเล่าว่าท่านอิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า “สรรพสัตว์มีสิทธิเหนือเจ้าของเจ็ดประการ1. จะต้องไม่บรรทุกเกินกำลังของมัน 2.ให้อาหารเมื่อลงจากหลังของมัน 3.ให้น้ำเมื่อผ่านแหล่งน้ำ... “[2]เมื่อพิจารณาถึงฮะดีษที่ระบุถึงสิทธิของสัตว์ทำให้ทราบว่ามนุษย์มิไช่ผู้ที่มีสิทธิเพียงผู้เดียวทว่าสรรสิ่งอื่นๆก็มีสิทธิบางประการเช่นกันกรุณาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ระเบียน:  วิธีการรำลึกถึงอัลลอฮ์ของวัตถุและพืชคำถามที่ 7575  ( ลำดับในเว็บไซต์8341 ) 
  • บทบัญญัติเกี่ยวกับปลาสเตอร์เจียน คืออะไร?
    9294 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/20
    ปลาสเตอร์เจียน เป็นปลาที่มนุษย์ใช้เป็นอาหารมานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งไข่ปลา ที่เรียกว่า คาเวียร์ ซึ่งนับเป็นอาหารราคาแพงที่สุดชนิดหนึ่งของโลก แต่ทั่วไปมักเรียกว่า ปลาคาเวียร์ บุคคลที่ตักลีดกับมัรญิอฺ เช่น ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ถ้าสงสัยว่าปลาคาเวียร์มีเกล็ดหรือไม่,เขาสามารถรับประทานได้ แต่ถ้าตักลีดกับมัรญิอฺ บางท่าน ซึ่งในกรณีนี้ไม่อนุญาตให้รับประทาน, แต่ถ้าใช้ประโยชน์อย่างอื่นนอกจากรับประทาน เช่น ซื้อขายถือว่าไม่เป็นไร, ด้วยเหตุนี้, ในกรณีนี้แต่ละคนต้องปฏิบัติตามทัศนะของมัรญิอฺที่ตนตักลีด ...
  • ชาวสวรรค์ทุกคนจะได้ครองรักกับฮูรุลอัยน์หรือไม่? ฮูรุลอัยน์แต่ละนางมีสามีได้เพียงคนเดียวไช่หรือไม่? และจะมีฮูรุลอัยน์เพศชายสำหรับสตรีชาวสวรรค์หรือไม่?
    10439 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    สรวงสวรรค์นับเป็นความโปรดปรานที่พระองค์ทรงมอบเป็นรางวัลสำหรับผู้ศรัทธาและประพฤติดีโดยไม่มีข้อจำกัดทางเพศจากการยืนยันโดยกุรอานและฮะดีษพบว่า “ฮูรุลอัยน์”คือหนึ่งในผลรางวัลที่อัลลอฮ์ทรงมอบให้ชาวสวรรค์น่าสังเกตุว่านักอรรถาธิบายกุรอานส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าในสวรรค์ไม่มีพิธีแต่งงานส่วนคำว่าแต่งงานกับฮูรุลอัยน์ที่ปรากฏในกุรอานนั้นตีความกันว่าหมายถึงการมอบฮูรุลอัยน์ให้เคียงคู่ชาวสวรรค์โดยไม่ต้องแต่งงาน.ส่วนคำถามที่ว่าสตรีในสวรรค์สามารถมีสามีหลายคนหรือไม่นั้นจากการศึกษาโองการกุรอานและฮะดีษทำให้ได้คำตอบคร่าวๆว่าหากนางปรารถนาจะมีคู่ครองหลายคนในสวรรค์ก็จะได้ตามที่ประสงค์ทว่านางกลับไม่ปรารถนาเช่นนั้น ...
  • การส่งยิ้มเมื่อเวลาพูดกับนามะฮฺรัม มีกฎเป็นอย่างไร?
    5643 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    การส่งยิ้มและล้อเล่นกับนามะฮฺรัมถ้าหากมีเจตนาเพื่อเพลิดเพลินไปสู่การมีเพศสัมพันธ์หรือเกรงว่าจะเกิดข้อครหานินทาหรือเกรงว่าจะนำไปสู่ความผิดแล้วละก็ถือว่าไม่อนุญาต
  • การลงจากสวรรค์ของอาดัมหมายถึงอะไร?
    8580 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/22
    คำว่า “ฮุบูต” หมายถึงการลงมาด้านล่างจากที่สูง (นุซูล) ตรงกันข้ามกับคำว่า สุอูด (ขึ้นด้านบน), บางครั้งก็ใช้ในความหมายว่าหมายถึงการปรากฏในที่หนึ่งการวิพากถึงการลงมาของศาสดาอาดัม และความหมายของการลงมานั้น อันดับแรกขึ้นอยู่กับว่า สวรรค์ที่ศาสดาอาดัมอยู่ในตอนนั้นเราจะตีความกันว่าอย่างไร? สวรรค์นั้นเป็นสวรรค์บนโลกหรือว่าสวรรค์ในปรโลก? สิ่งที่แน่ชัดคือมิใช่สวรรค์อมตะนิรันดร์, ดังนั้นการลงมาของศาสดาอาดัม, จึงเป็นการลงมาในฐานะของฐานันดร, กล่าวคือวัตถุประสงค์ของอาดัมที่ลงจากสวรรค์, หมายถึงการขับออกจากสวรรค์ การกีดกันจากการใช้ชีวิตในสวรรค์ (สวรรค์บนพื้นโลก) การใช้ชีวิตบนพื้นโลก การดำเนินชีวิตไปพร้อมกับการเผชิญกับความยากลำบาก ดังที่อัลกุรอานหลายโองการได้กล่าวถึงไว้ ...
  • จะให้นิยามและพิสูจน์ปาฏิหาริย์ได้อย่างไร?
    8192 วิทยาการกุรอาน 2554/10/22
    อิอฺญาซหมายถึงภารกิจที่เหนือความสามารถของมนุษย์บุถุชนธรรมดาอีกด้านหนึ่งเป็นการท้าทายและเป็นภารกิจที่ตรงกับคำกล่าวอ้างตนของผู้ที่อ้างตนเองว่าเป็นผู้แสดงปาฏิหาริย์นั้นการกระทำที่เหนือความสามารถหมายถึงการกระทำที่แตกต่างไปจากวิสามัญทั่วไปซึ่งเกิดภายใต้เงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติภารกิจที่เหนือธรรมชาติหมายถึง

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59459 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56918 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41723 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38476 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38463 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33496 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27572 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27294 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27190 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25265 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...