การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
13601
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2556/01/24
คำถามอย่างย่อ
กฎเกณฑ์ทางศาสนบัญญัติกล่าวว่าอย่างไร เกี่ยวกับการถอนคิ้วของสตรี?
คำถาม
อัสลามุอะลัยกุม เพราะเหตุใดฝ่ายซุนนียฺจึงกล่าวว่า การถอนคิ้วของสตรีเป็นฮะรอม แม้ว่าจะถอนเพื่ออวดสามีก็ตาม การออกคำวินิจฉัยทำนองนี้ถือว่าถูกต้องหรือไม่? ดังนั้น ดิฉันขอคำตอบที่แข็งแรง เพื่อเป็นข้อหักล้าง ที่สำคัญถูกต้องตรงหลักการของชีอะฮฺ
คำตอบโดยสังเขป
การถอนคิ้วของสตรีโดยหลักการแล้วไม่เป็นไร ตามหลักการอิสลามภรรยาจะเสริมสวยและแต่งตัวเพื่ออวดสามี ถือว่าเป็นมุสตะฮับ ในทางตรงกันข้ามภรรยาที่ปล่อยเนื้อปล่อยตัว ไม่เสริมสวยเพื่ออวดสามี ย่อมได้รับคำประณาม ด้วยเหตุนี้เอง บรรดานักปราชญ์ฝ่ายชีอะฮฺ ฟุเกาะฮา นอกจากจะแนะนำเหล่าสตรีในใส่ใจต่อปัญหาดังกล่าวแล้ว ยังเตือนสำทับด้วยว่าการโอ้อวดสิ่งนั้นแก่ชายอื่นถือว่าฮะรอม ไม่อนุญาตให้กระทำ สตรีต่างมีหน้าที่ปกปิดสิ่งประดับและเรือนร่างของเธอให้พ้นจากสายตาของชายอื่น
คำตอบเชิงรายละเอียด
สตรีได้เสริมสวยเพื่ออวดสามีถือว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ทว่าในหลัการอิสลามถือว่เป็น มุสตะฮับด้วยซ้ำไป ในทางกลับกันสตรีที่ปล่อยปละละเลย หรือเฉยเมยเรื่องการแต่งตัวเพื่ออวดสามี ถือว่าได้รับการตำหนิอย่างยิ่ง[1]คำสั่งลักษณะนี้เป็นสาเหตุทำให้ครอบครัวมีความอบอุ่น แน่นอน อาจมีนักปราชญ์บางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยในเรื่องการเสริมสวยของสตรี (ตัวอย่างการถอนขนคิ้ว) นักปราชญ์กลุ่มนี้สั่งห้ามโดยเด็ดขาด (แม้แต่การเสริมสวยเพื่ออวดสามี) ซึ่งถือว่าเป็นฮะรอมด้วยเช่นกัน ซึ่งท่านเหล่านั้นได้นำหลักฐานฮะดีซบางบท มาเป็นหลักฐานในการออกทัศนะ เช่น รายงานบางบทจากท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ซึ่งกล่าวว่า ท่านเราะซูลได้สาปแช่งสตรี 8 จำพวก อันประกอบด้วย :
«نامصه، منتمصه، واشره، مستوشره، واصله، مستوصله، واشمه و مستوشمه».
ผู้รายงานกล่าวว่า:  «نامصه»หมายถึง หญิงที่ผูกขนที่หน้าเป็นปม, «منتمصه»   หมายถึง หญิงที่ถอนขนบนใบหน้าจนเกลี้ยงเกลา, «واشره»  หมายถึง หญิงนำฟันของหญิงคนอื่นไปแบ่งครึ่งแล้วเหลาจนแหลม, «مستوشره หมายถึง หญิงที่ปล่อยให้กระทำสิ่งเหล่านี้บนเธอ, «واصله»  หมายถึง หญิงที่พูดเพื่อให้นำผมของหญิงคนหนึ่ง ไปต่อกับผมของหญิงอีกคนหนึ่ง, «مستوصله»  หมายถึง หญิงที่นำผมของหญิงอื่นมาต่อกับผมของตน, «واشمه»  หมายถึง หญิ่งที่ทำใฝบนมือหรือบนใบหน้าของหญิงอื่น วิธีการทำคือจะใช้เข็มเจาะที่ฝ่ามือ หรือหลังมือของหญิงให้เป็นรูหลังจากนั้นจะนำผงเขียนตา กึ่งสีฟ้าในสมัยโบราณใส่เข้าไป จำทำให้แลดูเป็นสีฟ้าเข้มๆ, ส่วนคำว่า «مستوشمه»  หมายถึง หญิงที่สักบนร่างกาย[2]
โดยทั่วไปแล้วรายงานบทนี้ที่กล่าวถึงนั้น มิได้หมายความว่าผู้หญิงไม่มีสิทธิ์เสริมสวยเลยแม้แต่เล็กน้อย แต่เมื่อเราพิจารณาคำพูดอันทรงค่ายิ่งของบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺแห่งเราะซูล (อ.) จะทำให้เข้าใจรายงานบทนี้ได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น รายงานจากท่านอิมามมุฮัมมัด บากิร (อ.) โดยเกาะรอมุลได้ถามท่านอิมามถึงเรื่องผมเทียมหรือวิค ซึ่งทำมาจากผม ขน หรือไหม แล้วสตรีได้นำไปใส่ครอบไว้บนผมของตน[3] ท่านอิมาม (อ.) ตอบว่า “ไม่เป็นไร ถ้าสตรีจะแต่งตัวเพื่ออวดสามีของตน”
ผู้รายงานกล่าวว่า ฉันกล่าวกับท่านอิมามว่า มีรายงานจากท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) มาถึงเราว่า ท่านเราะซูลได้สาปแช่งเหล่าสตรีที่เป็นทั้ง «واصله و موصوله» ผู้เชื่อมต่อ และผู้ถูกต่อเชื่อม ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า มิได้เป็นดั่งที่ท่านเข้าใจ สตรีที่ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวสาปแช่งในฐานะที่เธอเป็นสื่อ นั่นหมายถึงในช่วงวัยรุ่นเธอได้ชอบทซินา ส่วนในวัยชราเธอก็ยังเป็นแม่สื่อแม่ชัก ให้ชายหนุ่มและหญิงสาวประกอบการชั่ว[4]
อีกรายงานหนึ่ง อบี บะซีร กล่าวว่า ฉันถามท่านอิมามบากิร (อ.) เกี่ยวกับการเสริมสวยของสตรี (เช่นการถอนขนคิ้วหรือบนหน้า) เพื่ออวดสามี, ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า “ไม่มีการกระทำอันใดจากสิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาทั้งสิ้น”[5]
ด้วยเหตุนี้ ไม่สามารถกล่าวได้ว่าทุกการเสริมสวยจะเป็นฮะรอมสำหรับสตรีเสมอไป ซึ่งเฉพาะการเสริมสวยที่โอ้อวดชายอื่นนอกจากสามีของตน อันเป็นสาเหตุนำเธอไปสู่ความเสื่อมเสีย เป็นความชั่วร้ายและเป็นบาปกรรมสำหรับสังคม ด้วยเหตุนี้ เอง บรรดานักปราชญ์อิสลาม จึงเตือนสำทับเหล่าสตรีเสมอว่า พวกเธอสามารถเสริมสวยได้แต่สำหรับสามีของเธอเท่านั้น แน่นอนว่าถ้าเธอเสริมสวยเพื่อโอ้อวดชายอื่น ถือว่าฮะรอมไม่อนุญาตให้กระทำเด็ดขาด สตรีต่างมีหน้าที่เหมือนกันคือ ต้องปิดปิดสิ่งสวยงามและเครื่องประดับ ให้รอดพ้นจากสายตาชายอื่น[6]
มีคำพูดว่าการถอนคิ้วสำหรับสตรีทั้งหลาย โดยหลักการแล้วไม่เป็นไร[7] แต่การกระทำนี้จะถือว่าเป็นการเสริมสวยหรือไม่ และวาญิบต้องปกปิดให้พ้นจากสายตาชายอื่นหรือไม่ บรรดานักปราชญ์มีทัศนะแตกต่างกัน
1.บางท่าน[8] กล่าวว่า ถ้าเผยบางส่วนตามที่เป็นที่ยอมรับกันถือว่าอนุญาต และการปกปิดคิ้วที่ถอนให้รอดพ้นจากสายตาชายอื่นถือว่า ไม่จำเป็น[9]
2.บางท่าน[10] ถือว่าการถอนคิ้วเป็นหนึ่งในการเสริมสวย วาญิบต้องปกปิดให้รอดพ้นจากสายตาชายอื่น[11]
3.บางท่าน[12] ท่านเหล่านั้นถือว่าปัญหาดังกล่าวขึ้นอยู่กับสาธารณชนด้วย โดยกล่าวว่า ถ้าหากสังคมนับว่านั่นเป็นการเสริมสวย วาญิบต้องปกปิดให้รอดพ้นจากสายตาของชายอื่น[13]
หมายเหตุ ถ้าหากการเสริมสวยใบหน้า ทำให้เป็นที่สนใจของชายอื่น อันเป็นเหตุนำไปสู่การก่อความเสียหาย วาญิบต้องปกปิดให้รอดพ้นจากสายตาของชายอื่น[14]
 

[1] ญะอฺฟะรียาน เราะซูล,
[2]  อิบนุ บาบูวีเยะฮฺ มุฮัมมัด บิน อะลี, มะอานิลอัคบาร, หน้า 249, แก้ไขและตรวจทานโดย, ฆอฟฟารียฺ อะลีอักบัร, พิมพ์ที่ อินเตะชารอตอิสลามี, กุม, พิมพ์ครั้งแรก, ปี ฮ.ศ. 1403
[3] ญุซรียฺ อิบนุ อะษีร มุบาร็อก บิน มุฮัมมัด, อันนิฮายะฮฺ ฟี เฆาะรีบิลฮะดีซ วัลอะษะเราะ, เล่ม 4 หน้า 51, สำนักพิมพ์ อิสมาอีลลียาน, กุม, พิมพ์ครั้งแรก บีทอ
[4] กุลัยนียฺ มุฮัมมัด ยะอฺกูบ, อัลกาฟียฺ, ตรวจทานและแก้ไขโดย เฆาะฟารียฺ อะลี อักบัร และอาคูนวันดียฺ, มุฮัมมัด เล่ม 5, หน้า 118, หมวดที่ 119, ฮะดีซที่ 3 สำนักพิมพ์ ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮฺ พิมพ์ครั้งที่ 4, เตหะราน ฮ.ศ. 1407
[5] เชรโฮร อามีลียฺ มุฮัมมัด บิน ฮะซัน,วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 20, หน้า 189, ฮะดีซที่ 25390, สำนักพิมพ์ อาลัลบัยตฺ พิมพ์ครั้งแรก กุม ปี ฮ.ศ. 1409
[6] บะฮฺญัต มุฮัมมัด ตะกียฺ, อิสติฟตาอาต (บะฮฺญัต) เล่ม 4, หน้า 175, คำถามที่ 5201, สำนักฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ บะฮฺญัต, กุม พิมพ์ครั้งแรก ปี ฮ.ศ 1428
[7] ศึกษาจากหัวข้อที่ 18717 (การเสริมสวยของเด็กสาว)
[8] มัรญิอฺตักลีด เช่น อิมาโคมัยนี ซิสตานี มะการิมชีรอซียฺ นูรีฮัมเมดานี และตับรีซียฺ
[9] อิสติฟตาอาต อายะตุลลอฮฺ ซิสตานียฺ )sistani.org (ส่วนหนึ่งของอิสติฟตาอาต คำว่า เสริมสวย หน้า 17, มะการิมชีรอซียฺ นาซิร อิสติฟตาอาตฉบับใหม่ เล่ม 2, หน้า 351, และ 1034, สำนักพิมพ์ มัดเราะซะฮฺ อิมามอะลี บนิ อะบีฏอลิบ (อ.) กุ่ม พิมพ์ครั้งที่ 2 ปี ฮ.ศ. 1427, อายะตุลลอฮฺ นูรียฺ อิสติฟตาอาต เล่ม 1 คำถามที่ 491, 542, อิมามโคมัยนี ซัยยิดรูฮุลลอฮฺ อิสติฟตาอาต เล่ม 3, หน้า 257 คำถามที่ 33, 34, สำนักพิมพ์ อินเตะชารอตอิสลามี ขึ้นกับญามิอฺมุดัรริซน กุม พิมพ์ครั้งที่ 5 ปี ฮ.ศ.1422, ตับรีซียฺ ญะวาด อิสติฟตาอาต ฉบับใหม่ เล่ม 2, หน้า 360, คำถามที่ 1490 กุม พิมพ์ครั้งแรก บีทอ
[10] อายะตุลลอฮฺ ซอฟียฺ ฆุลภัยกานียฺ
[11] อายะตุลลอฮฺ ซอฟยฺ ฆุลภัยกานียฺ
[12] อายะตุลลอฮฺ คอเมเนอี ฟาฎิลลันกะรอนียฺ บะฮฺญัต และวาฮีดโครอซานียฺ
[13] ฟัตวาอายะตุลลอฮฺ คอเมเนอียฺ คัดลอกมาจากหัวข้อ 598, ฟาฏิลลันกะรอนียฺ มุฮัมมัด ญามิอุลมะซาอิล เล่ม 1, หน้า 451, คำถามที่ 1708, อินเตะชารอต อะมีร กะลัม กุม พิมพ์ครั้งที่ 11, บีทอ, บะญัต มุฮัมมัด ตะกียฺ อิสติฟตาอาต เล่ม 4, หน้า 208 คำถามที่ 534 สำนักฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ บะฮฺญัต กุม พิมพ์ครั้งแรก ปี ฮ.ศ. 1428, อิสติฟตาอาต สำนักฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ วะฮีด โคราซานนียฺ
[14] อิมามโคมัยนี ซัยยิดรูฮุลลอฮฺ อัลมูซาวียฺ อิสติฟตาอาต เล่ม 3 หน้า 256 สำนักพิมพ์ อินเตะชารอต อิสลามี กุม พิมพ์ครั้งที่ 5 ปี ฮ.ศ. 1422

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ความต่างกิจกรรมของวิญญาณขณะนอนหลับ และสลบคืออะไร?
    16058 ปรัชญาอิสลาม 2555/09/29
    รูปแบบการปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับจิตวิญญาณขณะตื่นนอน กับการปฏิสัมพันธ์ขณะนอนหลับนั้นมีความแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ ตามคำสอนของอิสลามจึงได้เรียกการนอนหลับว่า เป็นพี่น้องของความตาย วิทยาศาสตร์แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลการปฏิสัมพันธ์ระหว่างจิตวิญญาณกับร่างกายขณะนอนหลับ แต่สามารถค้นพบการเปลี่ยนแปลงและปฏิกิริยาบางอย่างทางร่างกายขณะนอนหลับได้ บนพื้นฐานของการค้นคว้านั้นและการทำสอบพบว่ามนุษย์มีการนอนหลับในสองระดับ ด้วยนามว่า REM และ Non REM ซึ่งทั้งสองมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยปกติแล้วการความฝันที่มักเกิดในระดับของ Non REM เกิดจากการหลับลึกซึ่งจะไม่อยู่ในความทรงจำ แต่เฉพาะการนอนหลับในระ REM เท่านั้นที่จะคงอยู่ในความทรงจำ ส่วนการสลบหมดสติเกิดจากการเบี่ยงเบนของวิญญาณ และเป็นการหลับที่ลุ่มลึกมาก ทำให้เขาไม่มีความทรงจำอันใดหลงเหลืออยู่ ...
  • ถ้าหากพิจารณาบทดุอาอฺต่างๆ ในอัลกุรอาน จะเห็นว่าดุอาอฺเหล่านั้นได้ให้ความสำคัญต่อตัวเองก่อน หลังจากนั้นเป็นคนอื่น เช่นโองการอัลกุรอาน ที่กล่าวว่า “อะลัยกุม อันฟุซะกุม” แต่เมื่อพิจารณาดุอาอฺของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺจะพบว่าท่านหญิงดุอาอฺให้กับคนอื่นก่อนเป็นอันดับแรก, ดังนั้น ประเด็นนี้จะมีทางออกอย่างไร?
    8872 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ในตำแหน่งของการขัดเกลาจิตวิญญาณและยกระดับจิตใจตนเองนั้น, มนุษย์ต้องคำนึงถึงตัวเองก่อนบุคคลอื่นเพราะสิ่งนี้เป็นคำสั่งของอัลกุรอานและรายงานนั่นเอง, เนื่องจากถ้าปราศจากการขัดเกลาจิตวิญญาณแล้วการชี้แนะแนวทางแก่บุคคลอื่นจะบังเกิดผลน้อยมาก, แต่ส่วนในตำแหน่งของดุอาอฺหรือการวิงวอนขอสิ่งที่ต้องการจากพระเจ้า,ถือว่าเป็นความเหมาะสมอย่างยิ่งที่มนุษย์จะวอนขอให้แก่เพื่อนบ้านหรือบุคคลอื่นก่อนตัวเอง, ...
  • กฎของการออกนอกศาสนาของบุคคลหนึ่ง, ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครองหรือไม่?
    5438 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    คำถามของท่าน สำนัก ฯพณฯ มัรญิอฺตักลีดได้ออกคำวินิจฉัยแล้ว คำตอบของท่านเหล่านั้น ดังนี้ ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน): การออกนอกศาสนา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครอง ซึ่งถ้าหากบุคคลนั้นได้ปฏิเสธหนึ่งในบัญญัติที่สำคัญของศาสนา ปฏิเสธการเป็นนบี หรือมุสาต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือนำความบกพร่องต่างๆ มาสู่หลักการศาสนาโดยตั้งใจ อันเป็นสาเหตุนำไปสู่การปฏิเสธศรัทธา หรือออกนอกศาสนา หรือตั้งใจประกาศว่า ตนได้นับถือศาสนาอื่นนอกจากอิสลามแล้ว ทั้งหมดเหล่านี้ถือว่า เป็นมุรตัด หมายถึงออกนอกศาสนา หรือละทิ้งศาสนาแล้ว ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา มะการิม ชีรอซียฺ (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน) : ถ้าหากบุคคลหนึ่งปฏิเสธหลักความเชื่อของศาสนา หรือปฏิเสธบทบัญญัติจำเป็นของศาสนาข้อใดข้อหนึ่ง และได้สารภาพสิ่งนั้นออกมาถือว่า เป็นมุรตัด ...
  • ได้ยินว่าระหว่างสงครามอิรักกับอิหร่านนั้น ร่างของบางคนที่ได้ชะฮีดแล้ว, แต่ไม่เน่าเปื่อยสลาย, รายงานเหล่านี้เชื่อถือได้หรือยอมรับได้หรือไม่?
    8235 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/17
    โดยปกติโครงสร้างของร่างกายมนุษย์, จะเป็นไปในลักษณะที่ว่า เมื่อจิตวิญญาณได้ถูกปลิดไปจากร่างกายแล้ว, ร่างกายของมนุษย์จะเผ่าเปื่อยและค่อยๆ สลายไป, ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก ที่ร่างกายของบางคนหลังจากเสียชีวิตไปแล้วนานหลายปี จะไม่เน่าเปื่อยผุสลายและอยู่ในสภาพปกติ. แต่อีกด้านหนึ่ง อัลลอฮฺ ทรงพลานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่างและทุกการงาน[1] ซึ่งอย่าเพิ่งคิดว่าสิ่งนี้จะไม่มีความเป็นไปได้ หรือห่างไกลจากภูมิปัญญาแต่อย่างใด. เพราะว่านี่คือกฎเกณฑ์ทั่วไป ซึ่งได้รับการละเว้นไว้ในบางกรณี, เช่น กรณีที่ร่างของผู้ตายอาจจะไม่เน่าเปื่อย โดยอนุญาตของอัลลอฮฺ ดังเช่น มามมีย์ เป็นต้น จะเห็นว่าร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อย ซึ่งเรื่องนี้ได้ผ่านพ้นไปนานหลายพันปีแล้ว และประสบการณ์ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นความจริงดังกล่าวแล้วด้วย ดังนั้น ถ้าหากพระประสงค์ของอัลลอฮฺ ครอบคลุมเหนือประเด็นดังกล่าวนี้ ก็เป็นไปได้ที่ว่าบางคนอาจเสียชีวิตไปแล้วหลายร้อยปี แต่ร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อยผุสลาย ยังคงสมบูรณ์เหมือนเดิม แล้วพระองค์ทรงเป่าดวงวิญญาณให้เขาอีกครั้ง ซึ่งเขาผู้นั้นได้กลับมีชีวิตขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง, อัลกุรอานบางโองการ ก็ได้เน้นย้ำถึงเรื่องราวของศาสดาบางท่านเอาไว้[2] เช่นนี้เองสิ่งที่กล่าวไว้ในรายงานว่า ถ้าหากบุคคลใดที่มีนิสัยชอบทำฆุซลฺ ญุมุอะฮฺ, ร่างกายของเขาในหลุมฝังศพจะไม่เน่นเปื่อย
  • มีการระบุสิทธิของสิ่งถูกสร้างอื่นๆไว้ในคำสอนอิสลามหรือไม่?
    6585 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/04
    ในตำราทางศาสนามีฮะดีษมากมายที่ระบุว่าสิทธิประโยชน์ต่างๆมิได้ครอบคลุมเฉพาะมนุษย์เท่านั้นทว่ามัคลู้กอื่นๆก็มีสิทธิบางประการเช่นกันดังที่ปรากฏในหนังสือمن لا یحضره الفقیه มีฮะดีษหลายบทรวบรวมไว้ในหมวดที่ว่าด้วยสิทธิของปศุสัตว์เหนือเจ้าของ (حق الدابّة علی صاحبه ) ซึ่งเราขอนำเสนอโดยสังเขปดังต่อไปนี้:ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า “สัตว์ทั้งหลายมีสิทธิเหนือผู้ครอบครองดังต่อไปนี้จะต้องให้อาหารเมื่อลงจากหลังของมันจะต้องให้มันกินน้ำเมื่อผ่านแหล่งน้ำจะต้องไม่บรรทุกสัมภาระหรือบังคับให้เดินทางเกินความสามารถของมันและอย่าฟาดที่ใบหน้าของมันเพราะสรรพสัตว์พร่ำรำลึกถึงพระองค์เสมอ”[1]นอกจากนี้ยังมีฮะดีษที่คล้ายคลึงกันในหมวดحق الدابّة علی صاحبه ของหนังสือบิฮารุลอันว้ารเล่าว่าท่านอิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า “สรรพสัตว์มีสิทธิเหนือเจ้าของเจ็ดประการ1. จะต้องไม่บรรทุกเกินกำลังของมัน 2.ให้อาหารเมื่อลงจากหลังของมัน 3.ให้น้ำเมื่อผ่านแหล่งน้ำ... “[2]เมื่อพิจารณาถึงฮะดีษที่ระบุถึงสิทธิของสัตว์ทำให้ทราบว่ามนุษย์มิไช่ผู้ที่มีสิทธิเพียงผู้เดียวทว่าสรรสิ่งอื่นๆก็มีสิทธิบางประการเช่นกันกรุณาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ระเบียน:  วิธีการรำลึกถึงอัลลอฮ์ของวัตถุและพืชคำถามที่ 7575  ( ลำดับในเว็บไซต์8341 ) 
  • บทบัญญัติเกี่ยวกับปลาสเตอร์เจียน คืออะไร?
    9294 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/20
    ปลาสเตอร์เจียน เป็นปลาที่มนุษย์ใช้เป็นอาหารมานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งไข่ปลา ที่เรียกว่า คาเวียร์ ซึ่งนับเป็นอาหารราคาแพงที่สุดชนิดหนึ่งของโลก แต่ทั่วไปมักเรียกว่า ปลาคาเวียร์ บุคคลที่ตักลีดกับมัรญิอฺ เช่น ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ถ้าสงสัยว่าปลาคาเวียร์มีเกล็ดหรือไม่,เขาสามารถรับประทานได้ แต่ถ้าตักลีดกับมัรญิอฺ บางท่าน ซึ่งในกรณีนี้ไม่อนุญาตให้รับประทาน, แต่ถ้าใช้ประโยชน์อย่างอื่นนอกจากรับประทาน เช่น ซื้อขายถือว่าไม่เป็นไร, ด้วยเหตุนี้, ในกรณีนี้แต่ละคนต้องปฏิบัติตามทัศนะของมัรญิอฺที่ตนตักลีด ...
  • ชาวสวรรค์ทุกคนจะได้ครองรักกับฮูรุลอัยน์หรือไม่? ฮูรุลอัยน์แต่ละนางมีสามีได้เพียงคนเดียวไช่หรือไม่? และจะมีฮูรุลอัยน์เพศชายสำหรับสตรีชาวสวรรค์หรือไม่?
    10439 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    สรวงสวรรค์นับเป็นความโปรดปรานที่พระองค์ทรงมอบเป็นรางวัลสำหรับผู้ศรัทธาและประพฤติดีโดยไม่มีข้อจำกัดทางเพศจากการยืนยันโดยกุรอานและฮะดีษพบว่า “ฮูรุลอัยน์”คือหนึ่งในผลรางวัลที่อัลลอฮ์ทรงมอบให้ชาวสวรรค์น่าสังเกตุว่านักอรรถาธิบายกุรอานส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าในสวรรค์ไม่มีพิธีแต่งงานส่วนคำว่าแต่งงานกับฮูรุลอัยน์ที่ปรากฏในกุรอานนั้นตีความกันว่าหมายถึงการมอบฮูรุลอัยน์ให้เคียงคู่ชาวสวรรค์โดยไม่ต้องแต่งงาน.ส่วนคำถามที่ว่าสตรีในสวรรค์สามารถมีสามีหลายคนหรือไม่นั้นจากการศึกษาโองการกุรอานและฮะดีษทำให้ได้คำตอบคร่าวๆว่าหากนางปรารถนาจะมีคู่ครองหลายคนในสวรรค์ก็จะได้ตามที่ประสงค์ทว่านางกลับไม่ปรารถนาเช่นนั้น ...
  • การส่งยิ้มเมื่อเวลาพูดกับนามะฮฺรัม มีกฎเป็นอย่างไร?
    5643 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    การส่งยิ้มและล้อเล่นกับนามะฮฺรัมถ้าหากมีเจตนาเพื่อเพลิดเพลินไปสู่การมีเพศสัมพันธ์หรือเกรงว่าจะเกิดข้อครหานินทาหรือเกรงว่าจะนำไปสู่ความผิดแล้วละก็ถือว่าไม่อนุญาต
  • การลงจากสวรรค์ของอาดัมหมายถึงอะไร?
    8580 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/22
    คำว่า “ฮุบูต” หมายถึงการลงมาด้านล่างจากที่สูง (นุซูล) ตรงกันข้ามกับคำว่า สุอูด (ขึ้นด้านบน), บางครั้งก็ใช้ในความหมายว่าหมายถึงการปรากฏในที่หนึ่งการวิพากถึงการลงมาของศาสดาอาดัม และความหมายของการลงมานั้น อันดับแรกขึ้นอยู่กับว่า สวรรค์ที่ศาสดาอาดัมอยู่ในตอนนั้นเราจะตีความกันว่าอย่างไร? สวรรค์นั้นเป็นสวรรค์บนโลกหรือว่าสวรรค์ในปรโลก? สิ่งที่แน่ชัดคือมิใช่สวรรค์อมตะนิรันดร์, ดังนั้นการลงมาของศาสดาอาดัม, จึงเป็นการลงมาในฐานะของฐานันดร, กล่าวคือวัตถุประสงค์ของอาดัมที่ลงจากสวรรค์, หมายถึงการขับออกจากสวรรค์ การกีดกันจากการใช้ชีวิตในสวรรค์ (สวรรค์บนพื้นโลก) การใช้ชีวิตบนพื้นโลก การดำเนินชีวิตไปพร้อมกับการเผชิญกับความยากลำบาก ดังที่อัลกุรอานหลายโองการได้กล่าวถึงไว้ ...
  • จะให้นิยามและพิสูจน์ปาฏิหาริย์ได้อย่างไร?
    8192 วิทยาการกุรอาน 2554/10/22
    อิอฺญาซหมายถึงภารกิจที่เหนือความสามารถของมนุษย์บุถุชนธรรมดาอีกด้านหนึ่งเป็นการท้าทายและเป็นภารกิจที่ตรงกับคำกล่าวอ้างตนของผู้ที่อ้างตนเองว่าเป็นผู้แสดงปาฏิหาริย์นั้นการกระทำที่เหนือความสามารถหมายถึงการกระทำที่แตกต่างไปจากวิสามัญทั่วไปซึ่งเกิดภายใต้เงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติภารกิจที่เหนือธรรมชาติหมายถึง

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59459 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56918 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41723 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38476 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38463 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33496 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27572 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27294 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27190 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25265 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...