การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
56904
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/07/03
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1087 รหัสสำเนา 14940
คำถามอย่างย่อ
ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
คำถาม
ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
คำตอบโดยสังเขป

มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้
1. ดุอาตะวัซซุ้ล
2
. ดุอาฟะร็อจ
3. ดุอา อิสมุลอะอ์ซ็อม
4. ดุอา มุกอติล บิน สุลัยมาน (รายงานจากอิมามซัยนุ้ลอาบิดีน(อ.)
5. ดุอาสะรีอุ้ล อิญาบะฮ์ (รายงานจากอิมามมูซา อัลกาซิม(อ.)
6. อิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า “ผู้ใดเปล่งว่า“ยาอัลลอฮ์”สิบครั้ง จะมีการตอบรับว่า เธอต้องการสิ่งใด?”
7. อิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า “ผู้ใดเปล่งคำว่า“ยาร็อบ ยาอัลลอฮ์”เรื่อยๆจนกว่าจะสุดลมหายใจ จะมีการตอบรับว่า เธอต้องการสิ่งใด?”
ทั้งหมดนี้อยู่ในหมวดของ“ดุอาที่เห็นผลตอบรับรวดเร็ว”ในหนังสือมะฟาตีฮุ้ลญินาน

คำตอบเชิงรายละเอียด

ดุอา คือการสื่อสารอย่างนอบน้อมของบ่าวต่ออัลลอฮ์ เพื่อให้ทรงสนองความจำเป็นในโลกนี้และโลกหน้า
การตอบรับดุอาไม่แตกต่างจากปรากฏการณ์อื่นๆ ที่จะต้องครบถ้วนด้วยเงื่อนไขและมารยาทต่างๆ แต่หากเงื่อนไขเหล่านี้บกพร่อง หรือมีอุปสรรคอื่นใดที่เราไม่อาจทราบได้ ต่อให้เป็นดุอาที่ทรงพลังเพียงใด ท้ายที่สุดก็อาจไม่เป็นที่ตอบรับ[1] อย่างไรก็ดี เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้
ดุอาตะวัซซุ้ล
:
มุฮัมมัด บิน บาบะวัยฮ์ รายงานบทดุอานี้จากบรรดาอิมาม(อ.) โดยเผยว่า “ไม่มีสักครั้งที่ฉันขอดุอาบทนี้แล้วเห็นผลล่าช้าตามที่ต้องการ” ดุอานี้นับเป็นดุอาที่มีชื่อเสียง และนิยมอ่านกันในค่ำวันอังคาร เนื้อหาของดุอานี้กล่าวถึงการขอให้สิบสี่มะอ์ศูม(ผู้ไร้บาป)ช่วยวอนขออัลลอฮ์อีกทอดหนึ่ง ช่วงท้ายของดุอาก็เป็นการวอนขอพระองค์โดยตรงให้ทรงสนองในสิ่งที่ต้องการ โดยเริ่มต้นด้วยประโยคนี้
اللهم انی اسئلک و اتوجه الیک بنبیک نبی الرحمة...»  (โอ้อัลลอฮ์ ข้าฯวอนต่อพระองค์ และเพ่งจิตสู่พระองค์ผ่านนบีของพระองค์ ผู้เป็นศาสดาแห่งเมตตาธรรม) และลงท้ายด้วยประโยคนี้ یا وجیها عندالله اشفع لنا عندالله (โอ้ผู้มีเกียรติ ณ อัลลอฮ์ กรุณาช่วยวอนขอให้เรา ณ อัลลอฮ์)[2]

2. ดุอาฟะร็อจ
กัฟอะมี รายงานดุอาหนึ่งจากอิมามอลี(อ.)ในหนังสือ“บะละดุ้ลอะมีน”ว่า หากผู้ใดประสบปัญหา หวาดกลัว กังวลใจ หรือโศกเศร้า ให้อ่านดุอานี้ อัลลอฮ์จะทรงแก้ไขปัญหาให้สำเร็จลุล่วงไปได้ ดุอานี้เริ่มต้นด้วยประโยคที่ว่า یا عماد من لا عماد له... (โอ้ผู้ให้การพึ่งพา ที่ไม่ต้องพึ่งพาผู้ใด) และจบด้วยประโยคที่ว่า وافعل بی ما انت اهله (ขอทรงบันดาลให้ด้วยเกียรติของพระองค์)[3] จากนั้นให้เอ่ยความจำนงหลังจบดุอา

3. ดุอา อิสมุ้ลอะอ์ซ็อม:
ซัยยิด อลีคาน ชีรอซี รายงานไว้ในหนังสือ“กะลิมุฎฎ็อยยิบ”ว่า อิสมุลอะอ์ซ็อม(พระนามอันเปี่ยมฤทธานุภาพ)ของอัลลอฮ์คือประโยคที่ขึ้นต้นด้วย الله และลงท้ายด้วย هو และผู้ใดเปล่งประโยคดังกล่าววันละสิบเอ็ดจบ อุปสรรคปัญหาที่ยากลำบากจะง่ายดายลง พระนามดังกล่าวปรากฏในห้าซูเราะฮ์ดังต่อไปนี้ อัลบะเกาะเราะฮ์ อาลิอิมรอน อันนิซาอ์ ฏอฮา อัตตะฆอบุน โดยประโยคดังกล่าวไม่มีจุดพยัญชนะ และมีสระที่คล้ายคลึงกันทุกซูเราะฮ์ ดังนี้:
الله لا إله إلا هو الحی القیوم... กระทั่งจบอายะฮ์กุรซี
الله لا اله الا هو ...نزل علیک الکتاب ...
الله لا إله الا هو لیجمعنکم ...
الله لا إله الا هو له الاسماء ...
الله لا إله الا هو و علی إلله...[4]

4. ดุอา มุกอติล บิน สุลัยมาน (รายงานจากอิมามซัยนุลอาบิดีน)
อิมามได้สอนดุอาบทนี้แก่ มุกอติล บิน สุลัยมาน โดยเขาเผยว่าหากผู้ใดอ่านดุอาบทนี้ร้อยจบ เขาจะได้ในสิ่งที่เอ่ยขอ ประโยคเริ่มต้นของดุอานี้คือ
الهی کیف ادعوک و انا... (โอ้นายข้าฯ ข้าฯจะวอนขอพระองค์อย่างไรดี ขณะที่ข้านั้น...) และจบด้วยประโยคที่ว่า
تفرج عنی فرجا عاجلا غیر اجل نفسک و رحمتک یا ارحم الراحمین (ขอทรงแก้ไขปัญหาของข้าฯอย่างรวดเร็ว ด้วยพระเมตตาของพระองค์ โอ้ผู้เปี่ยมเมตตาเหนือผู้ใด)[5]

5. ดุอา สะรีอุ้ลอิญาบะฮ์:
กัฟอะมีรายงานดุอาบทหนึ่งจากท่านอิมามมูซา อัลกาซิม(อ.)ว่า“เป็นดุอาที่ล้ำค่าและได้รับการสนองอย่างรวดเร็ว” เริ่มต้นด้วย
 
اللهم انی اطعتک فی احب الاشیاء الیک و هو التوحید (โอ้อัลลอฮ์ ข้าฯเชื่อฟังพระองค์ในสิ่งอันเป็นที่รักยิ่งของพระองค์ นั่นคือ หลักเตาฮีด...) และสิ้นสุดด้วย و ارزقنی من حیث احتسب و من حیث لا احتسبه، انک ترزق من تشاء بغیر حساب (ขอทรงประทานแก่ข้าฯทั้งสิ่งที่ข้าฯคาดคิดและไม่คาดคิด เพราะแท้จริงพระองค์ทรงประทานริซกีแก่ผู้ที่ทรงประสงค์โดยไม่คำนวนนับ) หลังจบดุอาให้ขอตามที่ต้องการ.[6]

6. อิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า “ผู้ใดเปล่งว่า“ยาอัลลอฮ์”สิบครั้ง จะมีการตอบรับว่า เธอต้องการสิ่งใด?”[7]
7. อิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า “ผู้ใดเปล่งคำว่า“ยาร็อบ ยาอัลลอฮ์”เรื่อยๆจนกว่าจะสุดลมหายใจ จะมีการตอบรับว่า เธอต้องการสิ่งใด?”[8]

ทั้งหมดนี้รวมอยู่ในบทที่ห้าในหนังสือมะฟาตีฮุ้ลญินานของมัรฮูม เชคอับบาส กุมี

อย่างไรก็ดี ควรทราบว่าในแต่ละอุปสรรคปัญหาจะมีดุอาที่เจาะจงไว้โดยเฉพาะ หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาศึกษารายละเอียดได้ในหนังสือมะฟาตีฮุ้ลญินาน.



[1] ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาอ่านดัชนีต่อไปนี้: เงื่อนไขจำเป็นสำหรับการตอบรับดุอา คำถามที่983, วิธีทราบถึงความเหมาะสมในดุอา คำถามที่764

2] มะฟาตีฮุ้ลญินาน(ฉบับเต็ม),ดุอาตะวัสสุ้ล,หน้า 225.

[3] อ้างแล้ว,ดุอาฟะร็อจ.

[4] อ้างแล้ว,โองการอิสมุ้ลอะอ์ซ็อม,หน้า 224.

[5] อ้างแล้ว,ดุอามุกอติล บิน สุลัยมาน,หน้า 236.

[6] อ้างแล้ว,ดุอาสะรีอุ้ลอิญาบะฮ์,หน้า 237,754.

[7] อุศูลุลกาฟี,หมวดดุอา: ผู้ใดกล่าวยาอัลลอฮ์สิบครั้ง...

[8] อ้างแล้ว,ผู้ใดกล่าวยาอัลลอฮ์ยาร็อบจนสุดลมหายใจ...

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • การอยู่ตามลำพังกับหญิงสาวที่เป็นนามะฮฺรัม ภายในห้องเดียวกัน เป็นอะไรหรือไม่?
    18496 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/04/07
    คำหลักคำสอนของศาสนา,หนึ่งในหลักการที่สอนให้มนุษย์มีความบริสุทธิ์และปกป้องตนจากการทำความผิดคือ การห้ามมิให้อยู่กับหญิงสาวตามลำพังภายในห้องเดียวกัน คำสั่งเสียของชัยฏอน ที่มีต่อมูซา (อ.) ที่ว่า “โอ้ มูซาจงอย่าอยู่ตามลำพังกับหญิงสองต่อสองในที่เดียวกัน เนื่องจากบุคคลใดก็ตามกระทำเช่นนี้ ฉันจะเป็นเพื่อนกับเขา มิใช่ผู้ช่วยเหลือเขา”[1] เช่นเดียวกันท่อนหนึ่งจากคำแนะนำที่มารมีต่อศาสดานูฮฺ (อ.) “เมื่อใดก็ตามที่เจ้าได้อยู่ตามลำพังสองต่อสองกับหญิง ในที่นั้นจะไม่มีใครอยู่กับเจ้าเลย แล้วเจ้าจะคิดถึงเรา”[2] ด้วยเหตุนี้เอง, จากการที่ชัยฏอน จะอยู่กับเราในที่ซึ่งเราได้อยู่ตามลำพังสองต่อสองกับหญิง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง การอยู่ตามลำพังสองต่อสองกับหญิงที่เป็นนามะฮฺรัม เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อแห่งการกระซิบกระซาบของชัยฏอน ประเด็นสำคัญที่จำเป็นต้องเตือนสำทับในที่นี้คือ บางครั้งอาจเกิดขึ้นได้ที่เราได้จำเป็นต้องอยู่ตามลำพังกับนามะฮฺรัม เนื่องด้วยความจำเป็นด้านการศึกษาค้นคว้า การให้คำปรึกษา และอื่นๆ ดังนั้น ในกรณีที่จำเป็นเหล่านี้ ถ้าหากใส่ใจและมีความเคร่งครัดต่อคำสอนของศาสนาและชัรอียฺ หรือให้เลือกอยู่ในที่สาธารณเพื่อปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว เพื่อปิดประตูการหยุแหย่ของชัยฏอน
  • ฮะดีษร็อฟอ์ (เพิกถอน) คืออะไร?
    7138 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/04
    ฮะดีษร็อฟอ์เป็นชื่อเรียกของฮะดีษสองบทจากท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งหนึ่งในสองบทกล่าวถึงการผ่อนผันข้อบังคับหรือสถานะนานาประเภทรวมทั้งผลต่อเนื่องต่างๆในอิสลามให้พ้นจากผู้บรรลุนิติภาวะในลักษณะบทเฉพาะกาล อีกบทหนึ่งกล่าวถึงการผ่อนผันข้อบังคับบางประการเฉพาะสำหรับบุคคลบางกลุ่มฮะดีษแรกแม้จะมีข้อแตกต่างเกี่ยวกับรายละเอียดของภาระที่ผ่อนผันอยู่บ้างแต่ก็ปรากฏอยู่ในตำราที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่ของชีอะฮ์ทั้งยุคแรกและยุคหลังโดยอิมามศอดิก(อ.) และอิมามริฎอ(อ.)รายงานจากท่านนบี(ซ.ล.) และถือว่ามีสายรายงานที่เศาะฮี้ห์เนื้อหาเบื้องต้นของฮะดีษที่คัดเฉพาะบทที่มีรายละเอียดสมบูรณ์ที่สุดมีดังนี้ “ประชาชาติมุสลิมได้รับการผ่อนผันเก้าสิ่งต่อไปนี้หนึ่ง. ความผิดพลาดสอง.การหลงลืมสาม. สิ่งที่ไม่รู้สี่. สิ่งที่ไม่สามารถกระทำได้ห้า. สิ่งที่กระทำโดยไม่มีทางเลือกหก. สิ่งที่ถูกบังคับให้กระทำเจ็ด. การกระทำที่ฤกษ์ไม่ดีแปด. ความคิดฟุ้งซ่านเกี่ยวกับการสร้างโลกเก้า. ความริษยาตราบเท่าที่ยังไม่สำแดงออก”[i]ฮะดีษชุดนี้นอกจากจะได้รับการอรรถาธิบายโดยผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาอุศูลุลฟิกห์แล้ว (เกี่ยวกับหลักมุจมั้ลและมุบัยยันในตำราของพี่น้องซุนนะฮ์ยุคแรก) ยังได้รับการศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วนโดยผู้เชี่ยวชาญวิชาอุศู้ลในสายอิมามียะฮ์อีกด้วย (ใช้ตัวบทที่ว่าمالایعلمون เพื่อพิสูจน์หลักบะรออะฮ์ในข้อสงสัยเชิงฮุก่มหักห้าม)ฮะดีษอีกบทหนึ่งที่เป็นที่รู้จักในนาม (ร็อฟอุ้ลเกาะลัม) เป็นสายรายงานของฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ที่รายงานจากท่านนบีผ่านท่านอิมามอลี(อ.) และอาอิชะฮ์
  • แนวทางความคุ้นเคยกับอัลกุรอาน และความหลงใหลคืออะไร?
    7666 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    ถ้าหากท่นได้อ่านอัลกุรอาน, เพียงแค่เนียตเพื่ออัลลอฮฺพร้อมกับใคร่ครวญและปฏิบัติตาม, เท่านี้ความรักในอัลกุรอานก็จะเกิดขึ้นโดยปริยายและจะทำให้มนุษย์มีความรักต่ออัลกุรอาน ...
  • จุดประสงค์ของท่านอิมามอะลี (อ.) จากการที่อัลลอฮฺทรงนิ่งเงียบต่อบางบทบัญญัติ? เพราะเหตุใดจึงตรัสว่าเพื่อการได้รับสิ่งนั้นไม่ต้องทำตนให้ลำบากดอก?
    6747 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/07
    ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวในคำพูดของท่านว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) มิทรงอธิบายแก่แท้ของทุกสิ่งเกี่ยวบทบัญญัติและวิชาการ, ทว่ายังมีอีกหลายสิ่งที่พระองค์มิทรงกำหนดให้เป็นหน้าที่แก่มนุษย์ พระองค์ทรงนิ่งเงียบกับสิ่งเหล่านั้น, เช่น หน้าที่ในการรับรู้วิชาการบางอย่างโดยละเอียด ซึ่งไม่มีผลต่อปรโลกแต่อย่างใด, แต่พระองค์ก็มิได้เฉยเมยเนื่องจากการหลงลืมแต่อย่างใด, เนื่องจากอัลลอฮฺทรงห่างไกลจากการหลงลืมทั้งปวง, ทว่าเนื่องจากสิ่งนั้นไม่มีมรรคผลอันใดแก่ปรโลกของมนุษย์ และด้วยเหตุผลที่ว่าการหมกมุ่นอยู่กับสิ่งเหล่านั้น เป็นสาเหตุทำให้มนุษย์ต้องละทิ้งความรู้อันก่อเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง บางทีจุดประสงค์จาก การนิ่งเฉย เกี่ยวกับบางอย่าง, อาจเป็นเรื่องมุบาฮฺก็ได้ เช่น ความรู้เรื่องดาราศาสตร์, การคำนวณ, เรขาคณิต, บทกวี, หัตถกรรมโดยประณีต และ... การละเลยสิ่งเหล่านี้เนื่องจากไม่ให้ความสำคัญ และเป็นการไม่ใส่ใจของตัวท่านเอง แน่นอน มีวิชาการที่ค่อนข้างยากเช่น เรื่องเทววิทยา ปรัชญา หรือปรัชญาของบทบัญญัติ การจมดิ่งอยู่กับสิ่งเหล่านี้ – สำหรับบุคคลทั่วไปที่มิใช่นักวิชาการ หรือไม่มีความฉลาดเพียงพอ- นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดผลลัพธ์อันเป็นประโยชน์แล้ว ยังอาจเป็นสาเหตุก่อให้เกิดเบี่ยงเบนทางความเชื่อได้อีกต่างหาก ...
  • จะสามารถพิสูจน์การมีอยู่ของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) และการปรากฏกายของท่าน ด้วยอัลกุรอานได้อย่างไร?
    6192 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    เบื้องต้นจำเป็นต้องรับรู้ว่าอัลกุรอานเพียงแค่กล่าวเป็นภาพรวมเอาไว้ส่วนรายละเอียดและคำอธิบายปรากฏอยู่ในซุนนะฮฺของศาสดา (ซ็อลฯ).
  • มะลาอิกะฮ์และญินรุดมาช่วยอิมามฮุเซน(อ.)จริงหรือไม่ และเหตุใดท่านจึงปฏิเสธ?
    8038 تاريخ بزرگان 2554/12/03
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ชะตากรรมของเหล่าภรรยาท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) หลังจากเหตุการณ์กัรบะลาอฺเป็นอย่างไรบ้าง?
    7176 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) มีภรรยาทั้งสิ้น 5 คน, นักประวัติศาสตร์บางท่านจำนวนบุตรของท่านท่านอิมาม (อ.) ที่เกิดจากภรรยาเหล่านี้มีจำนวน 6 คนหรือบางคนกล่าวว่ามีมากกว่า
  • การกระทำใดบ้างที่ส่งผลให้คนเราแลดูสง่ามีราศี?
    6021 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/28
    ในมุมมองของอิสลามความสง่างามแบ่งได้เป็นสองประเภทอันได้แก่ความงดงามภายนอกและภายใน.ปัจจัยที่สร้างเสริมความสง่างามภายในตามที่ฮะดีษบ่งบอกไว้ก็คือความอดทนความสุขุมความยำเกรง...ฯลฯ
  • ความตายจะเกิดขึ้นในสวรรค์หรือนรกหรือไม่?
    6811 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/08/15
    โองการกุรอานฮะดีษและเหตุผลเชิงสติปัญญาพิสูจน์แล้วว่าหลังจากที่มนุษย์ขึ้นสวรรค์และลงนรกแล้วความตายจะไม่มีความหมายอีกต่อไป กุรอานขนานนามวันกิยามะฮ์ว่า “เยามุ้ลคุลู้ด”(วันอันเป็นนิรันดร์) และยังกล่าวถึงคุณลักษณะของชาวสวรรค์ว่า “คอลิดีน”(คงกระพัน) ส่วนฮะดีษก็ระบุว่าจะมีสุรเสียงปรารภกับชาวสวรรค์และชาวนรกว่า “สูเจ้าเป็นอมตะและจะไม่มีความตายอีกต่อไป(یا اهل الجنه خلود فلاموت و یا اهل النار خلود فلا ...
  • จุดประสงค์ของโองการที่ 85-87 บทอัลฮิจญฺร์ คืออะไร?
    6546 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    อัลลอฮฺ (ซบ.) กล่าวในโองการโดยบ่งชี้ให้เห็นถึง, ความจริงและการมีเป้าหมายในการชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินของพระองค์ ทรงแนะนำแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า จงแสดงความรักและความห่วงใยต่อบรรดาผู้ดื้อรั้น, พวกโง่เขลาทั้งหลาย, บรรดาพวกมีอคติ, พวกบิดพลิ้วที่ชอบวางแผนร้าย, พวกตั้งตนเป็นปรปักษ์ด้วยความรุนแรง, และพวกไม่รู้, จงอภัยแก่พวกเขา และจงแสดงความหวังดีต่อพวกเขา ในตอนท้ายของโองการ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปลอบใจท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และให้กำลังใจท่าน ว่าไม่ต้องเป็นกังวลหรือเป็นห่วงในเรื่องความรุนแรงจากฝ่ายศัตรู ผู้คนจำนวนมากกว่า สิ่งอำนวยความสะดวกที่ดีกว่า และทรัพย์สินจำนวนมากมายที่อยู่ในครอบครองของพวกเขา, เนื่องจากอัลลอฮฺ ทรงมอบความรัก ความเมตตา และเหตุผลในการเป็นศาสดาแก่ท่าน ซึ่งไม่มีสิ่งใดบนโลกนี้จะดีและเสมอภาคกับสิ่งนั้นโดยเด็ดขาด ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59442 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56903 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41707 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38462 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38454 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33485 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27564 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27280 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27179 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25255 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...