การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7710
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/01/23
 
รหัสในเว็บไซต์ fa11599 รหัสสำเนา 21052
คำถามอย่างย่อ
แนวทางความคุ้นเคยกับอัลกุรอาน และความหลงใหลคืออะไร?
คำถาม
ถ้าหากมีวัยรุ่นต้องการคำแนะนำจากท่าน ให้ช่วยโน้มน้าวเขาไปสู่อัลกุรอาน หรือมีความรักต่ออัลกุรอาน ท่านจะมีวิธีการแนะนำเขาอย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

ถ้าหากท่นได้อ่านอัลกุรอาน, เพียงแค่เนียตเพื่ออัลลอฮฺ พร้อมกับใคร่ครวญและปฏิบัติตาม, เท่านี้ความรักในอัลกุรอาน ก็จะเกิดขึ้นโดยปริยาย และจะทำให้มนุษย์มีความรักต่ออัลกุรอาน

คำตอบเชิงรายละเอียด

อะดีซจากท่านอิมามซอดิก (.) กล่าวว่า ความถูกต้องอันอมตะคือ ผลพวงที่เกิดจากความมักคุ้นที่มีต่ออัลกุรอาน นับตั้งแต่วัยเด็กเรื่อยมา :

เยาวชนทุกคนที่มีศรัทธา ได้อ่านอัลกุรอาน ฟังอัลกุรอาน และอัลกุรอานได้ผสมผสานเข้าไปในเนื้อหนังมังสาของเขา พระผู้เป็นเจ้าจะจัดให้เขาอยู่ในแถวเดียวกันกับมลาอิกะฮฺ และอัลกุรอาน และจะกลายเป็นผู้พิทักษ์ปกป้องเขาในวันฟื้นคืนชีพ..ดังนั้น ถ้าเขายิ่งมีความอดทนอดกลั้นมากเท่าใด ผลรางวัลของเขาก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น[1]

แต่อย่างไรก็ตามสำหรับการที่จะได้รับประโยชน์ด้านจิตวิญญาณของอัลกุอานนั้น จำเป็นต้องรักษาเงื่อนไขสำคัญเอาไว้ ซึ่งสำคัญที่สุดของเงื่อนไขเหล่านั้นคือ การเอาใจใส่เรื่องความสำรวมตนต่ออัลลอฮฺ มนุษย์จำเป็นต้องปฏิบัติตนให้เข้ากับอัลกุรอาน ทั้งสองด้าน เขาจำเป็นต้องรับทุกคำแนะนำสั่งสอนของอัลกุรอาน แล้วต้องปฏิบัติตามคำสอนเหล่านั้น เพื่อว่าจะได้ทำให้จิตใจของตนมีความสูงส่ง และได้รับประโยชน์จากด้านอื่นของอัลกุรอาน มิเช่นนั้นแล้ว การล่วงรู้ในคำแนะนำสั่งสอนของอัลกุรอาน หรือการอ่านอัลกุรอาน เพียงอย่างเดียวไม่สามารถปลดเปลื้องปมเงื่อนงำในกิจการงานของเขาได้ดอก

โปรดพิจารณาโองการอัลกุรอาน เกี่ยวกับประเด็นนี้ :

1. และเราได้ให้ส่วนหนึ่งจากอัลกุรอานลงมา ซึ่งเป็นการบำบัดและความเมตตาแก่บรรดาผู้ศรัทธา แต่อัลกุรอานมิได้เพิ่มอันใดแก่พวกอธรรม นอกจากการขาดทุนเท่านั้น[2]

2. “จงกล่าวเถิด "อัลกุรอานนั้นเป็นแนวทางที่เที่ยงธรรมและเป็นการบําบัดแก่บรรดาผู้มีศรัทธา ส่วนบรรดาผู้ไม่มีศรัทธานั้น ในหูของพวกเขามีจะหนวก และอัลกุรอานเป็นความบอดสำหรับพวกเขา ชนเหล่านี้จะถูกร้องเรียกจากสถานที่อันไกล"[3]

3. “แท้จริง อัลกุรอานนี้ชี้นำกลุ่มชนสู่ทางที่เที่ยงตรงยิ่ง และแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้ศรัทธาที่ประกอบความดี[4]

4. “ดังนั้น เจ้าจงตักเตือนด้วยอัลกุรอานนี้แก่ผู้กลัวการลงโทษของฉันให้ระวัง[5]

บนพื้นฐานดังกล่าวนี้เอง, ก่อนที่จะอ่านอัลกุรอาน,จงหลีกเลี่ยงจากชัยฏอนไปสู่การคุ้มครองของอัลลอฮฺเถิดดังนั้น เมื่อเจ้าอ่านอัลกุรอาน ก็จงขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺให้พ้นจากชัยฏอนที่ถูกอเปหิ[6] และเมื่ออ่านอัลกุรอาน, จงรำลึกถึงสัญลักษณ์ต่างๆ ของพระผู้อภิบาลเถิด, และจงอย่าทำตนเยี่ยงคนหูหนวกตาบอดและบรรดาผู้ที่เมื่อถูกกล่าวเตือนให้รำลึกถึงโองการทั้งหลายของพระผู้อภิบาลของ พวกเขา พวกเขาจะไม่ผินหลังให้เป็นสภาพเช่นคนหูหนวกตาบอด[7] ทว่าพวกเธอจงก้มกราบศีรษะแนบพื้นดินด้วยน้ำตาและความความสำรวมเมื่ออัลกุรอานได้ถูกอ่านแก่พวกเขาแล้ว พวกเขาจะหมอบลง ใบหน้าจรดพื้นเพื่อกราบสุญด"[8] และหลังจากนั้นเมื่อได้ยินคำสอนของอัลกุรอาน สรรพลางของเขาจะสั่นด้วยความหวาดกลัว “. อัลลอฮฺได้ทรงประทานพระวจนะที่ดียิ่งลงมาเป็นคัมภีร์คล้องจองกันกล่าวซ้ำกัน ผิวหนังของบรรดาผู้ที่เกรงกลัวพระผู้อภิบาลของพวกตนจะมีขนลุกชัน แล้วผิวหนังของพวกเขาและหัวใจของพวกเขาจะสงบลงเพื่อรำลึกถึงอัลลอฮฺ นั่นคือการชี้นำทางของอัลลอฮฺ พระองค์จะทรงชี้นำทางแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และผู้ใดที่อัลลอฮฺทรงให้เขาหลงทาง เขาก็จะไม่มีผู้ชี้นำทาง[9]

และเหล่านี้คือเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นถึงความรักหลงใหลต่ออัลกุรอาน ที่มีอยู่ในตัวมนุษย์และทุกท่วงท่าของชีวิตเขาจะขอความช่วยเหลือจากอัลกุรอาน และเขาจะเป็นผู้ช่วยเหลืออัลกุรอานที่ดีที่สุด ดังบทกวีของท่านฮาฟิซ ชีรอซียฺกล่าวว่า:

ความรักเมื่อสุกงอมถึงขั้น ก็จะกลายเป็นส่งปกป้องตัวคุณ

จงอ่านกุรอานด้วยความใคร่ครวญและสำนึก

 แล้วเวลานั้นจงพิจารณาอัลกุรอานด้วยความรัก ท่านก็จะสามารถติดตามการเติบโตทางจิตวิญญาณและความเป็นเลิศได้ :

 เมื่อตืนนอนยามเช้าฉันกำได้พบกับความสลามัตและการปกป้อง

 ทุกสิ่งที่ฉันมีทั้งหมดมาจากอัลกุรอาน

ในทางกลับกัน, ถ้าเป้าหมายของการเรียนรู้หรือการอ่านอัลกุรอาน, เพื่อเป็นปฏิปักษ์แล้วละก็ชีวิตแห่งโลกนี้ก็จะล่อลวงพวกเขาเพราะพวกเจ้าได้ยึดถือเอาสัญญาณต่าง  ของอัลลอฮฺเป็นของล้อเลียน และชีวิตแห่งโลกนี้ได้ล่อลวงพวกเจ้า[10] หรือมีเป้าหมายเพื่อวัตถุปัจจัยหรือความเห็นแก่ตัวในการสร้างความสัมพันธ์กับอัลกุรอาน, นอกจากจะไม่มีความก้าวหน้าหรือเติบโตทางจิตวิญญาณแล้ว, ทว่าความสัมพันธ์ของเขา  พระผู้อภิบาลเขาจะมิได้เป็นผู้มีความสัมพันธ์ต่ออัลกุรอานเลยแม้แต่น้อย ทว่าเขาจะถูกทำให้ตกต่ำเสียด้วยซ้ำไป มีรายงานจำนวนมากมายกล่าวถึงประเภทความสัมพันธ์ที่มีต่ออัลกุรอาน ซึ่งได้รับการวิเคราะห์วิจัยไว้มากมาย ซึ่งจะขอหยิบยกเป็นตัวอย่างดังนี้ :

1.ท่านศาสดา (ซ็อล ) กล่าวว่า : ประชาชาติที่ดีที่สุดคือ ผู้ที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน, นมาซและศีลอดไม่ว่าจะอยู่ในที่ลับสายตา หรือที่เปิดเผย,อัลกุรอานก็อยู่ในใจของเขามาโดยตลอด, ดังนั้น จะมีเสียงประกาศดังขึ้นว่า : โอ้ บุคคลที่อัลกุรอานอยู่ในใจของพวกเขา จงแสดงความนอบน้อมถ่อมตนกับอัลกุรอาน เถิดเพื่ออัลลอฮฺจะทรงเพิ่มพูนความเข้มแข็งในการยืนหยัดแก่ท่าน และจงอย่าแสวงหาความไม่ภาคภูมิใจจากคัมภีร์กุรอาน เนื่องจากอัลลอฮฺทรงให้กาลเวลามีชีวิตด้วยอัลกุรอาน, ดังนั้น จงประประดับประเวลาชีวิตของตนด้วยการปรากฏตัว  เบื้องพระพักตร์ของพระองค์ เพื่อว่าอัลลอฮฺจะทรงเพิ่มพูนการประดับประดาในตัวท่าน และจงอย่านำเอาอัลกุรอาน เป็นสิ่งประดับประดาตัวท่าน  ประชาชน เพราะอัลลอฮฺ จะกระชากท่านให้หน้าคะมำลงมา เวลานั้นจงอ่านอัลกุรอานให้ดียิ่ง, ประหนึ่งวามิได้สัมพันธ์อยู่กับวะฮฺยู แตะสาส์นของนบูวัตได้อยู่ในใจท่านตลอดเวลา เมื่อท่านอยู่กับอัลกุรอาน ท่านก็จะไม่ปฏิบัติตัวเยี่ยงคนโง่เขลาเบาปัญญา ที่ไม่รู้เรื่องใดๆ , ท่านจะไม่กริ้วโกรธหรือบันดาลโทสะเมื่อประสบกับความโมหะของคนอื่น, ท่านจะไม่ระรานด้วยการระรานของคนอื่น, ทว่าเพื่อให้เกียรติในความยิ่งใหญ่ของอัลกุรอาน ท่านจะอดทน ให้อภัย และปกปิดสายตาจากพฤติกรรมไม่ดีของพวกเขา ...”[11]

2. ท่านอิมามบากิร (.) กล่าวว่า : นักอ่านอัลกุรอานแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน กล่าวคือ :

กลุ่มที่หนึ่ง : บุคคลหนึ่งได้ให้อัลกุรอานเป็นสื่อในการแสวงหาเครื่องยังชีพสำหรับตน เขาจะอ่านอัลกุรอานต่อหน้าชนชั้นผู้ปกครอง และจะขายเกียรติยศของเขาแก่ประชาชน

กลุ่มที่สอง : พวกเขาอ่านอัลกุรอานด้วยการพึงระมัดระวังความสมดุลภายนอก มีความตั้งใจอันเพียงพอ แต่จะหลงลืมคำสั่งสอนของอัลกุราอน ดังนั้น อัลลอฮฺ จะไม่ทรงเพิ่มพูนสิ่งในแก่นักอ่านเหล่านี้

กลุ่มที่สาม : พวกเขาได้อ่านอัลกุรอานโดยนำเอาโอสถของอัลกุรอาน มาบำบัดเยียวยาอาการป่วยไข้ และความเจ็บปวดแห่งจิตวิญญาณของตน เขาได้ท่องไปกับอัลกุรอานทั้งในยามทิวาและราตรี เขาได้ยื่นหยัดนมาซ และตื่นจากที่นอนด้วยด้วยอัลกุรอาน และนักอ่านอัลกุรอานกลุ่มนี้เองที่พระผู้อภิบาลทรงถอดถอนการลงโทษ และการทดสอบต่างๆ ออกไปเนื่องด้วยความสิริมงคลที่มาจากพวกเขา และพระองค์ยังทรงให้ห่างไกลจากบรรดาศัตรู ทรงประทานฝนแห่งความเมตตาจากฟากฟ้าให้หลั่งไหลสู่พื้นดิน เนื่องจากพวกเขา[12]

3.ญาบิรได้สนทนาถึงความศักดิ์สิทธิ์ของอัลกุรอาน ซึ่งมีบางกลุ่มชนเมื่อได้อ่านหรือได้ยินอัลกุรอาน เนื่องจากแรงโน้มน้าวของอัลกุรอาน พวกเขาจะสลบหมดสติไป ถึงขึ้นที่ฉันคิดว่าถ้าหากในช่วงนั้นจับเขาตัดมือและเท้า เขาก็จะไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวด ท่านศาสดา (ซ็อล ) กล่าวว่า : ซุบฮานัลลอฮฺ นี่คือแนวทางของชัยฎอน อัลลอฮฺ มิทรงปรารถนาสิ่งนี้จากพวกเขา ทว่าการอ่านอัลกุรอ่านต้องทำให้จิตใจอ่อนนุ่มและมีความเยือกเย็น มีสัมมาคารวะ ร่ำไห้และมีความเกรงกลัวต่อพระองค์[13]



[1] กุลัยนียฺ, มุฮัมมัด บินยะอฺกูบ,กาฟียฺ, เล่ม 2 หน้า 603, ฮะดีซที่ 4, ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮฺ, เตหะราน ปี 1365.

[2] อัลกุรอาน บทอัลอิสรอ, 82.

[3] อัลกุรอาน บทฟุซลัต,44

[4] อัลกุรอาน บทอัลอิสรอ, 9

[5] อัลกุรอาน บทก็อฟ, 45

[6] อัลกุรอาน บทนะฮฺลุ,98

[7] อัลกุรอาน บทฟุรกอน, 73

[8] อัลกุรอาน บทมัรยัม, 58, บทอิสรออฺ 107, 109.

[9] อัลกุรอาน บทอัซซุมัร, 23

[10] อัลกุรอาน บทญาซียะฮฺ, 35.

[11] อุซูลกาฟียฺ, เล่ม 2 หน้า 604, ฮะดีซที่ 1

[12] อ้างแล้วเล่มเดิม, หน้า 627, ฮะดีซที่ 1

[13] อ้างแล้วเล่มเดิม, หน้า 616, ฮะดีซที่ 1

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ได้ยินว่าผู้บริจาคเศาะดะเกาะฮ์จะพ้นจากภยันตรายต่างๆ ถามว่าผู้รับเศาะดะเกาะฮ์จะประสบกับภยันตรายเหล่านั้นแทนหรือไม่?
    10492 بیشتر بدانیم 2557/02/12
    “เศาะดะเกาะฮ์” ในแง่ภาษาอรับแล้ว ถือเป็นอาการนาม ให้ความหมายว่า “การมอบให้เพื่อจะได้รับผลบุญ” และมีรากศัพท์จากคำว่า “ศิดกุน” พหูพจน์ของเศาะดะเกาะฮ์คือ “เศาะดะกอต” [1] นิยามของเศาะดะเกาะฮ์ เศาะดะเกาะฮ์หมายถึง สิ่งที่บุคคลมอบให้ผู้ขัดสน ผู้ยากไร้ เพื่ออัลลอฮ์ อันเป็นการพิสูจน์ความจริงใจในแนวทางของพระองค์[2] บทบัญญัติเกี่ยวกับเศาะดะเกาะฮ์ และผลบุญที่จะได้รับ อิสลามมีบทบัญญัติเกี่ยวกับเศาะดะเกาะฮ์สองประเภทด้วยกัน 1. เศาะดะเกาะฮ์ภาคบังคับ (วาญิบ) ซึ่งก็หมายถึง “ซะกาต” นั่นเอง ดังโองการที่กล่าวว่า خُذْ مِنْ أَمْوَالِهِمْ صَدَقَةً تُطَهِّرُهُمْ وَ تُزَکِّیهِمْ بِهَا وَ صَلِّ عَلَیْهِمْ إِنَّ صَلاَتَکَ سَکَنٌ ...
  • ทำไมจึงเรียกการไว้อาลัยแด่ซัยยิดุชชูฮะดาว่า การอร่านร็อวเฎาะฮ์?
    5812 تاريخ کلام 2554/12/10
    สำนวน “ร็อวเฎาะฮ์” เกิดขึ้นเนื่องจากการนำบทต่างๆในหนังสือ “ร็อวเฎาะตุชชุฮะดา”มาอ่านโดยนักบรรยายหนังสือเล่มนี้เป็นหนึ่งในหนังสือเล่มแรกๆที่กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกัรบาลาซึ่งเขียนโดยมุลลาฮุเซนกาชิฟซับซะวอรี (เกิด 910 ฮ.ศ.) เป็นหนังสือภาษาฟาร์ซีหนังสือเล่มนี้ใช้อ่านในการไว้อาลัยมาเป็นเวลาช้านานแล้วดังนั้นพิธีต่างๆที่มีการไว้อาลัยจึงเรียกว่าการร็อวเฎาะฮ์ถึงปัจจุบัน
  • เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาวเคราะห์ดวงอื่น,อิสลามมีทัศนะอย่างไรบ้าง?
    11970 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/06/22
    แนวคิดที่ว่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่บนเส้นทางช้างเผือกหรือดาวเคราะห์ดวงอื่นหรือมีสิ่งมีสติปัญญาอื่นอยู่อีกหรือไม่, เป็นหนึ่งในคำถามที่มนุษย์เฝ้าติดตามค้นหาคำตอบอยู่จนถึงปัจจุบันนี้, แต่ตราบจนถึงเดี๋ยวนี้ยังไม่ได้รับคำตอบที่แน่นอน. อัลกุรอานบางโองการได้กล่าวถึงสิ่งมีชีวิตอื่นในชั้นฟ้าเอาไว้อาทิเช่น1. ในการตีความของคำว่า “มินดาบะติน” ในโองการที่กล่าวว่า :”และหนึ่งจากบรรดาสัญญาณ (อำนาจ) ของพระองค์คือการสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินและสิ่งที่ (ประเภท) มีชีวิตทั้งหลายพระองค์ทรงแพร่กระจายไปทั่วในระหว่างทั้งสองและพระองค์เป็นผู้ทรงอานุภาพที่จะรวบรวมพวกเขาเมื่อพระองค์ทรงประสงค์”
  • ตักวาหมายถึงอะไร?
    17371 จริยธรรมทฤษฎี 2555/01/23
    ตักว่าคือพลังหนึ่งที่หยุดยั้งจิตด้านในซึ่งการมีอยู่ของมนุษย์คือสาเหตุของการมีพลังนั้นและพลังดังกล่าวจะพิทักษ์ปกป้องมนุษย์ให้รอดพ้นจากการกระทำความผิดฝ่าฝืนต่างๆความสมบูรณ์ของตักวานอกจากจะช่วยทำให้มนุษย์ห่างไกลจากความผิดบาปและการก่ออาชญากรรมต่างๆ
  • ท่านนบี(ซ.ล.)เคยกล่าวไว้ดังนี้หรือไม่? “หากผู้คนล่วงรู้ถึงอภินิหารของอลี(อ.) จะทำให้พวกเขาปฏิเสธพระเจ้าเพราะจะโจษขานว่าอลีก็คือพระเจ้านั่นเอง(นะอูซุบิลลาฮ์)”
    8960 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    เราไม่พบฮะดีษที่คุณยกมาในหนังสือเล่มใดแต่มีฮะดีษชุดที่มีความหมายคล้ายคลึงกันปรากฏอยู่ในตำราหลายเล่มซึ่งขอหยิบยกฮะดีษบทหนึ่งจากหนังสืออัลกาฟีมานำเสนอพอสังเขปดังนี้อบูบะศี้รเล่าว่าวันหนึ่งขณะที่ท่านนบี(ซ.ล.)นั่งพักอยู่ท่านอิมามอลี(อ.)ก็เดินมาหาท่านท่านนบีกล่าวแก่อิมามอลี(อ.)ว่า “เธอคล้ายคลึงอีซาบุตรของมัรยัมและหากไม่เกรงว่าจะมีผู้คนบางกลุ่มยกย่องเธอเสมือนอีซาแล้วฉันจะสาธยายคุณลักษณะของเธอกระทั่งผู้คนจะเก็บดินใต้เท้าของเธอไว้เพื่อเป็นสิริมงคล ...
  • มีความแตกต่างกันบ้างไหมระหว่างทัศนะของชีอะฮฺ กับทัศนะของซุนนียฺในปัญหาเกี่ยวกับท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.)
    9290 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    แน่นอนความเชื่อเรื่องอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) เป็นส่วนสำคัญของหลักศรัทธาอิสลามบนพื้นฐานคำบอกกล่าวของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ
  • คำว่าศ็อฟในโองการ جَاء رَبُّكَ وَالْمَلَكُ صَفّاً صَفّاً หมายความว่าอย่างไร?
    6276 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/04
    คำดังกล่าวและคำอื่นๆที่มีรากศัพท์เดียวกันปรากฏอยู่ในหลายโองการ[1] คำว่า “ศ็อฟ” หมายถึงการเรียงสิ่งต่างๆให้เป็นเส้นตรง อาทิเช่นการยืนต่อแถว หรือแถวของต้นไม้[2] “ศ็อฟฟัน” ในโองการดังกล่าวมีสถานะเป็น ฮาล (ลักษณะกริยา)ของมะลาอิกะฮ์ ซึ่งนักอรรถาธิบายกุรอานได้ให้ความหมายไว้หลายรูปแบบ ซึ่งจะขอนำเสนอโดยสังเขปดังต่อไปนี้ หนึ่ง. มวลมะลาอิกะฮ์จะมาเป็นแถวที่แตกต่างกัน ซึ่งจำแนกตามฐานันดรศักดิ์ของแต่ละองค์[3] สอง. หมายถึงการลงมาของมะลาอิกะฮ์แต่ละชั้นฟ้า โดยจะมาทีละแถว ห้อมล้อมบรรดาญินและมนุษย์[4] สาม. บางท่านเปรียบกับแถวนมาซญะมาอะฮ์ โดยมะลาอิกะฮ์จะมาทีละแถวจากแถวแรก แถวที่สอง ฯลฯ ตามลำดับ[5]
  • การถูกสาปเป็นลิงคือโทษของผู้ที่จับปลาในวันเสาร์เพราะมีความจำเป็นหรืออย่างไร?
    13184 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/09
    ในเบื้องแรกควรทราบว่าการหาปลาประทังชีวิตมิไช่เหตุที่ทำให้บนีอิสรออีลส่วนหนึ่งถูกสาป เพราะการหาเลี้ยงชีพนอกจากจะไม่เป็นที่ต้องห้ามแล้ว ยังถือเป็นส่วนหนึ่งของอิบาดะฮ์ในทัศนะอิสลามอีกด้วย ท่านอิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า “ผู้ที่ทำงานหาเลี้ยงครอบครัวเสมือนนักต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์” ฉะนั้น เหตุที่ทำให้พวกเขาถูกสาปจึงไม่ไช่แค่การจับปลา และนั่นก็คือสิ่งที่อัลลอฮ์กล่าวไว้ว่า “และเช่นนี้แหล่ะที่เราได้ทดสอบพวกเขาในสิ่งที่พวกเขาฝ่าฝืน” สิ่งที่ช่วยยืนยันเหตุผลดังกล่าวก็คือ มีสำนวน اعتدوا และ یعدون (ละเมิด) ปรากฏในโองการที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ อันแสดงว่าพวกเขาถูกลงโทษเนื่องจากทำบาปและฝ่าฝืนพระบัญชาของพระองค์ ทำให้ไม่ผ่านบททดสอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ การพักงานในวันเสาร์ถือเป็นหลักปฏิบัติถาวรของชนชาติยิวจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งก็มิได้เป็นการชี้โพรงให้นอนเอกเขนกด้วยความเกียจคร้านแต่อย่างใด แต่เนื่องจากโดยปกติแล้ว คนเราจะทำงานอย่างเต็มที่ตลอดสัปดาห์โดยไม่ไคร่จะสนใจอิบาดะฮ์ ความสะอาด ครอบครัว ฯลฯ เท่าที่ควร จึงสมควรจะสะสางหน้าที่เหล่านี้ในวันหยุดสักหนึ่งวันต่อสัปดาห์ การได้อยู่กับครอบครัวก็มีส่วนทำให้เกิดพลังงานด้านบวกที่จะกระตุ้นให้เริ่มงานในวันแรกของสัปดาห์อย่างมีประสิทธิภาพ ฉะนั้น การไม่ทำงาน (ที่เป็นทางการ) ในวันหยุด มิได้แสดงถึงความเกียจคร้านเสมอไป ...
  • การให้การเพื่อต้อนรับเดือนมุฮัรรอม ตามทัศนะของชีอะฮฺถือว่ามีความหมายหรือไม่?
    7249 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/20
    การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงโศกนาฏกรรมของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ถือเป็นซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ซึ่งได้รับการสถาปนาและสนับสนุนโดยบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.)
  • เหตุใดจึงเรียกอิมามฮุเซนว่าษารุลลอฮ์?
    6977 จริยธรรมทฤษฎี 2554/12/11
    ษารุลลอฮ์ให้ความหมายว่าการชำระหนี้เลือดแต่ก็สามารถแปลว่าเลือดได้เช่นกันตามความหมายแรกอิมามฮุเซนได้รับฉายานามนี้เนื่องจากอัลลอฮ์จะเป็นผู้ทวงหนี้เลือดให้ท่านแต่หากษารุลลอฮ์แปลว่า"โลหิตพระเจ้า" การที่อิมามได้รับฉายานามดังกล่าวเป็นไปตามข้อชี้แจงต่อไปนี้:1. "ษ้าร"เชื่อมกับ"อัลลอฮ์"เพื่อให้ทราบว่าเป็นโลหิตอันสูงส่งเนื่องจากเป็นการเชื่อมคำในเชิงยกย่อง2.มนุษย์ที่บรรลุสู่ความสมบูรณ์ในระดับใกล้ชิดทางภาคบังคับต่างก็เป็นหัตถาพระเจ้าชิวหาพระเจ้าและโลหิตพระเจ้าหมายถึงถ้าหากพระองค์ทรงประสงค์จะทำสิ่งใดมนุษย์ผู้นี้จะเป็นดั่งพระหัตถ์หากทรงประสงค์จะตรัสเขาจะเป็นดั่งชิวหาและหากพระองค์ทรงประสงค์จะพิทักษ์ศาสนาของพระองค์ด้วยโลหิตเขาจะเป็นดั่งโลหิตพระองค์อิมามฮุเซน(อ.)เป็นดั่งโลหิตพระองค์เนื่องจากโลหิตของท่านช่วยชุบชีวิตแก่ศาสนาของพระองค์เราเชื่อว่าความหมายแรกเป็นความหมายที่เหมาะสมกว่าแต่ความหมายที่สองก็เป็นคำธิบายที่น่าสนใจเช่นกันโดยเฉพาะหากเป็นผู้ที่อยู่ในแวดวงจาริกทางจิตอาจทำให้เข้าใจได้ลึกซึ้งกว่า ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59545 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56968 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41771 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38542 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38503 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33556 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27606 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27373 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27240 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25302 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...