การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6467
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/09/04
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1196 รหัสสำเนา 16377
หมวดหมู่ เทววิทยาใหม่
คำถามอย่างย่อ
เหตุใดศาสนาจึงขัดต่อหลักสติปัญญา?
คำถาม
เหตุใดเรายังต้องเคารพในศาสนา ทั้งๆที่ถูกสติปัญญาหักล้างอย่างหมดเปลือกแล้ว?
คำตอบโดยสังเขป

สติปัญญาถือเป็นเครื่องพิสูจน์สัจธรรมจากภายใน ส่วนชะรีอัต(ศาสนา)ก็ถือเป็นเครื่องพิสูจน์สัจธรรมจากภายนอก ทั้งสองมีหน้าที่นำพามนุษย์สู่ความผาสุกและความสมบูรณ์แบบ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่เครื่องพิสูจน์สัจธรรมจากภายในและภายนอกจะขัดแย้งกันเอง

จากการที่สติปัญญานับเป็นปรากฏการณ์หนึ่ง และการที่ทุกปรากฏการณ์มีข้อจำกัด ศักยภาพของสติปัญญาก็มิอาจอยู่เหนือกฏเกณฑ์นี้ได้ จึงมีศักยภาพประมวลผลในระดับของสรรพสิ่งถูกสร้างเท่านั้น โดยไม่อาจที่จะหยั่งรู้ถึงสถานภาพที่แท้จริงของพระเจ้าได้อย่างถี่ถ้วนเนื่องจากทรงปราศจากข้อจำกัด

สติปัญญาสามารถเข้าใจเกี่ยวกับภาพรวมของระบบระเบียบหรือบทบัญญัติต่างๆได้ แต่กระนั้นก็ยังต้องพึ่งพาศาสนาอยู่บ้าง แต่ในส่วนของรายละเอียดปลีกย่อยของวันปรโลก หรือหลักเกณฑ์ของศาสนบัญญัติต่างๆนั้น สติปัญญาไม่สามารถจะเข้าถึงได้เลยหากปราศจากคำบอกเล่าของศาสนา สภาวะเช่นนี้จึงไม่ก่อให้เกิดความผิดฝาผิดตัวระหว่างแนวคิดอิสลามและวิถีแห่งปัญญา
อย่างไรก็ดี บางครั้งเราอาจจะรู้สึกว่าเกิดความขัดแย้งระหว่างสติปัญญาและศาสนาในกรณีที่เราสอดแทรกสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในปริมณฑลของสติปัญญา หรือกระบวนการทางความคิดของเราไม่เข้ารูปเข้ารอย หรือกรณีที่เราจำกัดความหมายของสติปัญญาให้แคบลง
อนึ่ง คงเป็นการดีหากคุณจะกรุณายกตัวอย่างสักประเด็นตามที่คุณกล่าวไว้

คำตอบเชิงรายละเอียด

นักวิชาการนิยามสติปัญญาว่าเป็นเป็นอมฤตภาพเชิงเดียวที่ทำให้มนุษย์สามารถรับรู้ข้อเท็จจริง สติปัญญาคือการรับรู้สัจธรรมและเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมศักยภาพของจิตตรึกตรอง[1]
ส่วนในแง่ปรัชญา เราสามารถแบ่งสติปัญญาออกเป็น ปัญญาภาคทฤษฎี และปัญญาภาคปฏิบัติ ปัญญาภาคทฤษฎีมีหน้าที่รับรู้และจำแนกปรากฏการณ์ต่างๆ[2] ส่วนปัญญาภาคปฏิบัติก็คือปัจจัยที่ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์[3] จำแนกสิ่งที่ควรกระทำออกจากสิ่งที่มิชอบ กล่าวได้ว่าปัญญาประเภทนี้เป็นฐานรากสำหรับการดำเนินชีวิตของผู้คนเนื่องจากเป็นตัวตัดสินใจกระทำหรืองดเว้นพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง[4] ปัญญาภาคปฏิบัติตรงกับสิ่งที่ท่านอิมามศอดิก(.)อธิบายไว้ว่า العقل ما عبد به الرحمن و اکتسب به الجنان (ปัญญาคือสิ่งที่นำพาสู่การภักดีพระเจ้าและใช้ในการไขว่คว้าสรวงสวรรค์)[5]
สรุปเบื้องต้นว่า สติปัญญาที่กล่าวถึงในประเด็นนี้หมายถึงศักยภาพในการเข้าใจ ซึ่งมีคุณสมบัติที่เข้าใจเชิงองค์รวม

สติปัญญามีสถานภาพสูงส่งในทัศนะอิสลาม ท่านอัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี กล่าวไว้ในตัฟซี้รอัลมีซานว่าสติปัญญาคือพลังที่ประเสริฐสุด[6] อัลลอฮ์จึงทรงตรัสไว้ในอัลกุรอานถึงสามร้อยโองการเพื่อรณรงค์ให้มนุษย์หมั่นใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากสติปัญญา[7] ท่านอัลลามะฮ์ฯเชื่อว่าอิสลามให้ความสำคัญต่อสติปัญญาเป็นพิเศษ ดังที่ไม่สามารถพบเห็นโองการใดในกุรอานเลยที่จะชักชวนให้มนุษย์คล้อยตามอย่างไม่ลืมหูลืมตา
[8]
ด้วยเหตุนี้เองที่ไม่อาจจะเชื่อได้ว่าอิสลามและวิถีแห่งปัญญาจะขัดแย้งกันเอง อย่างไรก็ดี บางครั้งเราอาจจะรู้สึกว่าเกิดความขัดแย้งระหว่างสติปัญญาและศาสนาในกรณีที่เราเพิ่มปัจจัยภายนอกเข้าไปในปริมณฑลของสติปัญญา หรือกระบวนการทางความคิดของเราไม่เข้ารูปเข้ารอย หรือกรณีที่เราจำกัดความหมายของสติปัญญาให้แคบลงกว่าที่ควร

เมื่อพิจารณาถ้อยธรรมของท่านอิมามอลี(.)ในหนังสือนะฮ์ญุ้ลบะลาเฆาะฮ์ว่าด้วยเรื่องของภารกิจของบรรดานบี ท่านกล่าวว่า:
 
و یثیروا لهم دفائن العقول [9](บรรดานบีได้กระตุ้นศักยภาพที่ซ่อนเร้นของสติปัญญา) ทำให้ทราบได้ว่าสติปัญญาและศาสนกิจไม่เพียงแต่จะไม่ขัดกัน แต่ยังทำงานสอดประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ
กล่าวคือ ท่านอิมามอลี(.)ถือว่าการปลุกจิตสำนึกและปัญญาของมนุษยชาติเป็นภารกิจสำคัญของบรรดานบี
สติปัญญาและจิตสำนึกมีลักษณะคล้ายหีบสมบัติที่บรรจุสัจธรรมและข้อเท็จจริงไว้ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้บรรดานบีจึงพร่ำสอนในสิ่งที่สอดรับกับตรรกะและปัญญาธรรม ในวิชาอุศูลุ้ลฟิกฮ์มีหลักการหนึ่งทีว่า
 
کل ما حکم به العقل حکم به الشرع ทุกมติที่สติปัญญาบังคับใช้ ศาสนาก็บังคับใช้เช่นกัน[10] ในทางตรงกันข้ามก็ถูกต้อง นั่นก็คือ ทุกมติที่ศาสนาบังคับใช้ สติปัญญาก็บังคับใช้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ปัญญาจึงกลายเป็นหนึ่งในรากฐานของศาสนบัญญัติ

สรุปคือศาสนบัญญัติทั้งหมดไม่ขัดต่อสติปัญญา อันที่จริงคำสอนของบรรดานบีก็คือปัญญาธรรมที่มนุษย์หลงลืมเนื่องจากการลวงล่อของชัยฏอน บรรดานบีมีหน้าที่เผยปัญญาธรรมของมนุษยชาติให้เป็นที่ประจักษ์
จะว่าไปแล้ว วิธีที่บรรดานบีเชิญชวนผู้คนสู่สัจธรรมก็มิได้แตกต่างไปจากวิธีที่มนุษย์เข้าถึงสัจธรรมด้วยกระบวนการที่ถูกต้องทางปัญญาเท่าใดนัก จะต่างกันก็ตรงที่บรรดานบีได้รับสัจธรรมจากต้นกำเนิดอันบริสุทธิ์แห่งวะฮีย์ แต่ถึงแม้บุคคลเหล่านี้จะมีความเชื่อมโยงกับโลกุตรธรรม แต่ก็ถ่อมตนแสดงเทศนาตามระดับความคิดของผู้คนทั่วไป บรรดานบีรณรงค์ให้มนุษยชาติกระตุ้นศักยภาพของสามัญสำนึกที่มีอยู่ เพื่อการไตร่ตรองด้วยเหตุผลอันแข็งแกร่ง ฉะนั้น จึงสรุปได้ว่าบรรดานบีย่อมไม่ไช่บุคคลที่จะบีบบังคับให้ประชาชนคล้อยตามอย่างหูหนวกตาบอดและปราศจากวิจารณญาณ กุรอานกล่าวว่าจงกล่าวเถิด(โอ้มุฮัมมัด) นี่คือแนวทางของฉัน ฉันและผู้เจริญรอยตามฉันเชิญชวนสู่อัลลอฮ์ด้วยวิจารณญาณ(บะศีเราะฮ์)”[11]

ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีความขัดแย้งกันระหว่างศาสนาและสติปัญญา เนื่องจากทั้งสองมีความคล้ายคลึงกันในแง่ต้นกำเนิด จุดประสงค์ และวิธีการ ศาสนาที่แท้จริงจะเชิญชวนมนุษย์ให้ใช้สติปัญญาเป็นเครื่องมือในการสร้างเสริมศรัทธาต่อโลกุตรธรรม สติปัญญาและฮะดีษเชื่อมโยงกันในลักษณะลูกโซ่ สติปัญญาคือเครื่องพิสูจน์สัจธรรมจากภายในมนุษย์ ส่วนชะรีอัตศาสนาก็เป็นเครื่องพิสูจน์สัจธรรมจากภายนอก ซึ่งทั้งสองทำงานสอดประสานกัน นำพาให้มนุษย์พ้นจากวังวนแห่งกิเลศตัณหาเพื่อทะยานสู่ความผาสุกอันนิรันดร์ ดังที่ท่านอิมามกาซิม(.)กล่าวไว้ว่าอัลลอฮ์ได้ประทานเครื่องพิสูจน์สัจธรรมแก่มนุษย์ทั้งจากภายในและภายนอก เครื่องพิสูจน์จากภายนอกก็คือบรรดานบีและอิมาม ส่วนเครื่องพิสูจน์จากภายในก็คือสติปัญญา[12]
ฉะนั้นจึงไม่เกิดความขัดแย้งระหว่างเครื่องพิสูจน์สัจธรรมภายในและภายนอกเด็ดขาด ฮุจญะฮ์(เครื่องพิสูจน์)ในที่นี้หมายถึงการนำทาง และโดยทั่วไป ผู้นำทางคือผู้ที่เชี่ยวชาญเส้นทางที่ทอดสู่จุดหมายปลายทาง ท่านอิมามกาซิม(.)ต้องการสื่อว่าการจาริกสู่อัลลอฮ์ต้องมีผู้นำทางสองแบบ ผู้นำทางภายในและผู้นำทางภายนอก อย่างไรก็ดี สองผู้นำทางนี้ยังต้องพึ่งพาซึ่งกันและกันอยู่ และมนุษย์จะถึงจุดหมายได้ด้วยการนำทางที่สอดประสานกันเท่านั้น
ซึ่งก็เป็นไปตามวจนะของท่านอิมามฮุเซน(.)ที่ว่าจุดสูงสุดของสติปัญญาอยู่ที่การปฏิบัติตามสัจธรรม[13] และดังที่กุรอานกล่าวว่าอัลลอฮ์คือสัจธรรม[14] และสัจธรรมมาจากพระองค์[15] ในเมื่อการปฏิบัติตามสัจธรรมคือจุดอิ่มตัวของปัญญา อัลลอฮ์ผู้เป็นสัจธรรมได้บัญชาให้เราปฏิบัติตามเครื่องพิสูจน์สัจธรรมจากภายนอก ดังที่ทรงตรัสว่า จงภักดีต่ออัลลอฮ์และจงภักดีต่อศาสนทูตและผู้ครองสิทธิ(ผู้เป็นตัวแทนศาสนทูต)ในหมู่สูเจ้า [16]

พึงสังเกตุว่าประเด็นทางศาสนาขั้นสูงบางข้ออาจไม่สอดคล้องกับแนวคิดสหชาตปัญญาตามนิยามของเดการ์ต หรืออาจไม่ตรงกับปัญญาตามนิยามของสำนักคิดปฏิบัตินิยม(Pragmatism) หรืออาจขัดกับปัญญาเชิงทฤษฎีในนิยามของค้านท์ (เดการ์ตไม่เชื่อเกี่ยวกับปัญญาเชิงองค์รวม และพูดถึงสหชาตปัญญาหรือความคิดเชิงย่อยที่มีมาตั้งแต่เกิดเท่านั้น ส่วนพวกปฏิบัตินิยมเชื่อว่าปัญญาที่มีประโยชน์คือปัญญาที่ไขปัญหาเชิงประสบการณ์เชิงผัสสะนิยมได้เท่านั้น และค้านท์เชื่อว่าปัญญาภาคทฤษฎีไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และมติของสติปัญญาไม่มีคุณค่าใดๆในเชิงวิชาการ)

แน่นอนว่าคุณธรรมอิสลามอย่างเช่นการเสียสละ การพลีชีพ การบริจาค การศรัทธาต่อสิ่งที่เหนือญาณวิสัย และอื่นๆอีกมากมาย ย่อมไม่สามารถนำมาวิเคราะห์ภายใต้แนวคิดสหชาตปัญญาเชิงย่อยของเดการ์ต นอกจากนี้ เรายังจะต้องจำแนกปัญญาออกจากการคาดเดาที่อาจเข้าแทนที่ปัญญา ซึ่งจะทำให้หลงคิดไปว่าสิ่งนั้นเป็นสัจธรรม ดังที่กุรอานกล่าวว่า و هم یحسبون اَنهم یحسنون صنعاً؛ (และพวกเขาคิดว่าตนเองกำลังประกอบคุณความดีอยู่)[17] ซึ่งแท้ที่จริงแล้วเป็นเพียงความคิดเพ้อฝันที่เป็นโมฆะ

ดังที่ได้พิสูจน์แล้วว่าศาสนาและสติปัญญาทำงานสอดประสานกัน และได้ปฏิเสธว่าอิสลามมิได้ขัดแย้งกับกระบวนการทางปัญญาเนื่องจากมีจุดเริ่มต้น จุดประสงค์ และเป้าหมายเดียวกัน ฉะนั้น หากพบกรณีความขัดแย้งระหว่างศาสนาและสติปัญญา จะต้องตรวจสอบว่ามติของปัญญานั้นๆตรงกับมาตรฐานที่ถูกต้องในกระบวนความคิดแล้วหรือไม่ หรือเป็นไปได้ว่าเราอาจนึกว่าทัศนะของตนคือคำสอนของศาสนาที่ขัดกับสติปัญญา
อย่างไรก็ดี ต้องคำนึงเสมอว่าความเชื่อทางศาสนาและศาสนกิจบางประการอาจจะพ้นญาณวิสัย ซึ่งแม้สติปัญญาจะไม่ปฏิเสธ แต่ก็ไม่สามารถบรรลุถึงแก่นความเข้าใจต่อสิ่งเหล่านี้ได้ อาทิเช่น ความเชื่อปลีกย่อยเกี่ยวกับปรโลก และหลักเกณฑ์ของศาสนกิจบางประการ 

ขอย้ำอีกครั้งว่า มีสองปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างสติปัญญากับศาสนกิจบางประการ
1. การที่ศีลธรรมพื้นฐานของอิสลามมากมายอยู่พ้นญาณวิสัยของสหชาตปัญญาที่เข้าใจเพียงประเด็นปลีกย่อย
2. การที่ทฤษฎีหรือข้อสันนิษฐานบางประการถูกแอบอ้างว่าเป็นการชี้ขาดของสติปัญญา จึงต้องแยกให้ชัดเจน
และด้วยการที่สติปัญญาถือเป็นเครื่องพิสูจน์สัจธรรมที่พระเจ้าทรงประทานแก่มนุษย์ ฉะนั้น ผู้ใดที่ศึกษาคัมภีร์ศาสนาด้วยต้นทุนทางสติปัญญา เขาจะได้รับชุดความรู้อันบริสุทธิ์ไม่ว่าจากตัวบทศาสนาหรือหลักคิดทางปัญญา แต่หากผู้ใดศึกษาคัมภีร์บนพื้นฐานของกระบวนการทางความคิดที่อ่อนเปลี้ย ก็เปรียบเสมือนฝุ่นผงที่กลบความเข้าใจในคัมภีร์เสียหมด

หากถามว่าสามารถปกป้องคำสอนหลักและปลีกย่อยของศาสนาด้วยกระบวนการทางสติปัญญาได้ทั้งหมดหรือไม่? ตอบว่าสติปัญญาเป็นปัจจัยสำคัญในการเข้าใจศาสนา แต่ไม่ไช่ปัจจัยที่เพียงพอ เนื่องจากไม่สามารถจะใช้กระบวนการทางสติปัญญาพิสูจน์ศาสนกิจปลีกย่อยได้ เพราะสิ่งปลีกย่อยอยู่นอกญาณวิสัยของสติปัญญา ไม่ว่าจะเป็นข้อปลีกย่อยทางธรรมชาติหรือศาสนบัญญัติก็ตาม กล่าวคือ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการก็ดี ประสบการณ์ก็ดี สิ่งจริงแท้หรือสมมติขึ้นก็ดี หากเป็นข้อปลีกย่อย ก็อยู่นอกเขตการพิสูจน์โดยสติปัญญาทั้งสิ้น  และสิ่งที่อยู่นอกเขตของสติปัญญาย่อมไม่อาจพิสูจน์ด้วยสติปัญญาได้  แต่สามารถพิสูจน์หรือตีความเชิงองค์รวมได้ ไม่ว่าจะทางธรรมชาติหรือศาสนบัญญัติ

สรุปคือ จากการที่สติปัญญาไม่สามารถเข้าถึงประเด็นบางประเด็นได้ ทำให้ต้องพึ่งพาการชี้นำจากศาสนา ฉะนั้น ตรรกะของสติปัญญาก็คือ ฉันเข้าใจว่ายังมีอีกหลายสิ่งที่ฉันไม่เข้าใจและยังต้องพึ่งพาศาสนา[18]

อ่านเพิ่มเติมได้ที่
1. การครุ่นคิดในกุรอาน,อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี
2. ฮิกมะฮ์ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในนะฮ์ญุ้ลบะลาเฆาะฮ์,.ญะวาดี ออโมลี
3. ชะรีอัตจากมุมแห่งสารธรรม,. ญะวาดี ออโมลี,หน้า 199-224
4.
ศาสนศึกษา, .ญะวาดี ออโมลี,หน้า 170-174
5.
ความเชื่อและคำถามต่างๆ,มะฮ์ดี ฮาดะวี เตหรานี,หน้า 51-58
6.
พื้นฐานทางเทววิทยาของอิจติฮ้าด,มะฮ์ดี ฮาดะวี เตหรานี,หน้า 280-284
7.
นิตยสารโพ้รเซมอน,ฉบับพิเศษที่ ,เดือนโมรด้อด, ปี (..สุริยุคติ) บทความ: อิสลามและปัญญา สอดคล้องหรือขัดแย้ง,ฮะมี้ดริฎอ ริฎอนิยอ



[1] ศัพท์แวดวงปรัชญา,อลี คะระญี,หน้า 171,172

[2] สิบมุขปาฐะ,ชะฮีดมุเฏาะฮะรี,หน้า 30,31

[3] ร่อฮี้กิมมัคตูม,.ญะวาดี ออโมลี,เล่ม,หน้า 153

[4] สิบมุขปาฐะ,ชะฮีดมุเฏาะฮะรี,หน้า 30,31

[5] อุศูลุลกาฟี,กุลัยนี,เล่ม 1,หน้า 11,ฮะดีษที่ 3

[6] อัลมีซาน,มุฮัมมัดฮุเซน ฏอบาฏอบาอี,เล่ม 3,หน้า 57

[7] อ้างแล้ว,เล่ม 5,หน้า 255

[8] ปัญญานิยมในตัฟซี้รศตวรรษที่สิบสี่,ชอดี นะฟีซี,หน้า 194,195

[9] นะฮ์ญุ้ลบะลาเฆาะฮ์,คุฏบะฮ์ที่ 1

[10] ตะฮ์ซีบุ้ลอุศู้ล,ซัยยิดอับดุลอะอ์ลา ซับซะวอรี,เล่ม 1,หน้า 145และ อุศูลุลฟิกฮ์,มุฮัมมัดริฎอ มุซ็อฟฟัร,เล่ม 1,หน้า 217

[11] ซูเราะฮ์ยูซุฟ, 108

[12] ดู: มีซานุ้ลฮิกมะฮ์ฉบับย่อ,มุอัมมัด เรย์ชะฮ์รี,หน้า 358,ฮะดีษที่ 4387

[13] อ้างแล้ว,หน้า 395,ฮะดีษที่ 4407

[14] ซูเราะฮ์ลุกมาน, 30

[15] ซูเราะฮ์อาลิอิมรอน, 60

[16] ซูเราะฮ์นิซาอ์, 59

[17] อัลกะฮ์ฟิ, 104

[18] ศาสนศึกษา(บทเรียนปรัชญาศาสนา),.ญะวาดี ออโมลี,หน้า 127-174

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • เหตุใดจึงตั้งชื่อซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์ด้วยนามนี้?
    6898 วิทยาการกุรอาน 2555/03/18
    ซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์ถูกตั้งชื่อด้วยนามนี้เนื่องจากในซูเราะฮ์นี้ได้มีการกล่าวถึงเรื่องราวของบะก็อร(วัว)ของบนีอิสรออีลระหว่างอายะฮ์ที่ 67-71 หลายต่อหลายครั้ง เช่น وَ إِذْ قالَ مُوسى‏ لِقَوْمِهِ إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُكُمْ أَنْ تَذْبَحُوا بَقَرَةً قالُوا أَ تَتَّخِذُنا هُزُواً قالَ أَعُوذُ بِاللَّهِ أَنْ أَكُونَ مِنَ الْجاهِلين‏"؛ (และจงรำลึกถึงขณะที่มูซาได้กล่าวแก่กลุ่มชนของเขาว่า แท้จริงอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงบัญชาแก่พวกท่านให้เชือดวัวตัวเมียตัวหนึ่ง (เพื่อนำชิ้นอวัยวะของวัวไปแตะศพที่ไม่สามารถระบุตัวผู้สังหารได้ เพื่อให้ศพฟื้นคืนชีพและชี้ตัวผู้ต้องสงสัย อันเป็นการยุติความขัดแย้งในสังคมยุคนั้น) พวกเขากล่าวว่า “ท่านจะถือเอาพวกเราเป็นที่ล้อเล่นกระนั้นหรือ?” มูซากล่าวว่า “ฉันขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) ให้พ้นจากการที่ฉันจะเป็นพวกโง่เขล่าเบาปัญญา)[1] และเนื่องจากประเด็นดังกล่าวมีความสำคัญต่อการขัดเกลาของมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง จึงได้ตั้งชื่อด้วยนามนี้
  • ฮะดีษที่กล่าวว่า ท่านศาสดา (ซ.ล.) กล่าวว่า “จงทานแอปเปิ้ลเมื่อท้องว่าง (ในช่วงเช้า) เพราะจะช่วยชำระล้างกระเพาะ” เป็นฮะดีษที่ถูกต้องหรือไม่?
    10454 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/06/23
    แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่นอกจากจะมีประโยชน์ทางด้านสารอาหารแล้ว ยังมีสรรพคุณทางด้านการรักษาและเป็นยาอีกด้วย ซึ่งเหล่าบรรดาแพทย์ทั้งสมัยก่อนและสมัยใหม่ได้กล่าวและเขียนเกี่ยวกับมันมากมาย เกี่ยวกับประโยชน์และสรรพคุณของแอปเปิ้ล นอกจากทัศนะของเหล่าบรรดาแพทย์ทั้งหลายแล้ว เราจะพบฮะดีษบางบทจากบรรดามะอ์ศูมีนในหนังสือทางประวัติศาสตร์ด้วยเช่นกัน หนึ่งในนั้นคือฮะดีษที่ได้กล่าวมาในคำถามข้างต้นที่กล่าวว่า “و قال النبی (ص) کلوا التفاح علی الريق فإنه وضوح المعده”[1] จงทานแอปเปิ้ลเมื่อท้องว่าง (ในยามเช้า) เพราะจะช่วยชำระล้างกระเพาะ” และฮะดีษนี้รายงานจากอิมามอลี (อ.) โดยมีเนื้อหาดังนี้ “كُلُوا التُّفَّاحَ فَإِنَّهُ يَدْبُغُ الْمَعِدَةَ” จงกินแอปเปิ้ล เนื่องจากแอปเปิ้ลจะช่วยชำระล้างกระเพาะ ฮะดีษดังกล่าวนอกจากจะปรากฏในหนังสือมะการิมุลอัคลากแล้ว ยังจะพบได้ในหนังสือบิฮารุลอันวารของท่านมัจลิซีย์และมุสตัดร็อกของท่านนูรีย์อีกด้วย นอกจากนี้ท่านอิมามศอดิก (อ.) ก็ได้กล่าวถึงสรรพคุณของแอปเปิ้ลว่า “หากประชาชนได้รู้ถึงสรรพคุณที่มีอยู่ในแอปเปิ้ล พวกเขาจะใช้แอปเปิ้ลรักษาผู้ป่วยของตนเพียงอย่างเดียว”
  • เพราะสาเหตุอันใด มนุษย์จึงลืมเลือนอัลลอฮฺ?
    8338 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/10/22
    การหยุแหย่ของชัยฏอนมารร้าย,เกี่ยวข้องทางโลกเท่านั้นอันเป็นความผิดที่เกิดจากความหลงลืมองค์พระผู้อภิบาลซึ่งในทางตรงกันข้ามนมาซ, กุรอาน, การใคร่ครวญในสัญลักษณ์ต่างๆของพระเจ้าการใช้ประโยชน์จากเหตุผลและข้อพิสูจน์
  • ทิฐิที่ปรากฏในกุรอานมีความหมายอย่างไร? มีสาเหตุ ผลลัพธ์ และวิธีแก้อย่างไร? คนมีทิฐิมีคุณลักษณะอย่างไร?
    11809 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/09/20
    การถืออคตินับเป็นอุปนิสัยที่น่ารังเกียจยิ่ง เราสามารถวิเคราะห์อุปนิสัยดังกล่าวจากหลายแง่มุมด้วยกัน ทั้งนี้ก็เนื่องจากมีผลร้ายหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นผลร้ายเชิงปัจเจกหรือสังคม จิตใจและร่างกาย โลกนี้และโลกหน้า อิสลามได้ตีแผ่ถึงรากเหง้าและผลเสียของการถือทิฐิ ตลอดจนนำเสนอวิธีปรับปรุงตนเองเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างถี่ถ้วน ...
  • มีหลักฐานอะไรที่จะบ่งบอกว่าชิมร์ได้บั่นศีรษะท่านอิมามฮุเซน (อ.) จากด้านหลังบ้าง?
    5793 تاريخ بزرگان 2554/11/29
    มีการกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวไว้ในหลายๆเหตุการณ์ด้วยกันอาทิเช่น1.           ท่านหญิงซัยนับ (อ.) กล่าวว่า ".... یا محمداه بناتک سبایا و ذریتک مقتلة تسفی علیهم ریح الصبا و هذا حسین مجزوز الرأس من القفا .." (...โอ้ท่านตาขณะนี้หลานสาวของท่านล้วนถูกจับเป็นเชลย,บุตรหลานของท่านถูกเข่นฆ่า, สายลมพัดผ่านเรือนร่างของพวกเขา, และนี่คือฮูเซน (อ.) ที่ถูกบั่นศีรษะจากด้านหลัง...)  
  • เพราะเหตุใดกุญแจสู่สรวงสวรรค์คือ นมาซ?
    7409 จริยธรรมทฤษฎี 2555/05/17
    เป้าหมายของการสร้างมนุษย์ก็เพื่อ การแสดงความเคารพภักดีและการรู้จักพระเจ้า, ซึ่งการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้านั้น จะทำให้มนุษย์ก้าวไปสู่ความสมบูรณ์ และตำแหน่งอันใกล้ชิดต่อพระเจ้า, นมาซ คือภาพลักษณ์ที่ดีและสวยงามที่สุดของการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้า หรือการแสดงความเป็นบ่าวที่ดีต่อพระผู้ทรงสร้าง, ความเคร่งครัดต่อนมาซ 5 เวลาคือสาเหตุของความประเสริฐและเป็นพลังด้านจิตวิญญาณ ซึ่งทำให้มนุษย์ละเว้นการทำความผิดบาป หรือการแสดงความประพฤติไม่ดี อีกด้านหนึ่งเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้พลังแห่งความสำรวมตน ภายในจิตใจมนุษย์มีความเข้มแข็งขึ้น, ในกรณีนี้ เข้าใจได้ทันทีว่า เพราะอะไรนมาซ, จึงเป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์ ต้องไม่ลืมที่จะกล่าวว่า, นมาซคือหนึ่งในภาคปฏิบัติที่เป็นอิบาดะฮฺ อันมีผลบุญคือ เป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์, เนื่องจากรายงานฮะดีซ,เกี่ยวกับความรักที่มีต่อบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) คือ การกล่าวว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ, ความอดทน ...ก็ถือว่าเป็นกุญแจแห่งสรวงสวรรค์เช่นกัน, และเช่นกันสิ่งที่เข้าใจได้จากรายงานที่ว่า นมาซพร้อมกับความศรัทธามั่นที่มีต่ออัลลอฮฺ ความเป็นเอกะของพระองค์ ขึ้นอยู่กับความรักที่มีต่อบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เป็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องที่มีความพิเศษยิ่งต่อกัน ...
  • ในสังคมอิสลามมีสตรีศึกษาในสถาบันศาสนาแล้วถึงขั้นมุจญฺตะฮิดมีบ้างหรือไม่?
    5813 تاريخ بزرگان 2554/09/25
    การให้ความร่วมมือกันของนักปราชญ์และนักวิชาการอิสลาม, ประกอบกับเป็นข้อบังคับเหนือตัวมุสลิมทั้งชายและหญิง, สิ่งนี้กลายเป็นสาเหตุทำให้สตรีได้เข้าศึกษาศาสนาจนถึงระดับชั้นของการอิจญฺติฮาดหรือมุจญตะฮิดตัวอย่างสุภาพสตรีที่ศึกษาถึงขั้นอิจญฺติฮาดมุจญฺตะฮิดะฮฺอะมีนเสียชีวิตในปีฮ.ศ. 1403 (1362) หรือมุจญฺตะฮิดะฮฺซะฟอตียฺซึ่งปัจจุบันท่านยังเป็นอาจารย์สอนหนังสือในสถาบันสอนศาสนาเฉพาะสตรีซึ่งสองท่านนี้ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างของสตรีที่ประสบความสำเร็จสูง ...
  • ท่านอิมามฮุเซน(อ.)มีบุตรสาวคนหนึ่งชื่อรุก็อยยะฮ์ไช่หรือไม่?
    7968 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/04
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ในกรณีที่เป็นไปได้โปรดอธิบายถึงรายชื่อของสตรีที่เป็นนายหญิงแห่งโลก และนักวิชาการแห่งศตวรรษจากอดีตจนถึงปัจจุบัน?
    6826 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    รายชื่อของสตรีบางคนในโลกนี้,ฟะกีฮฺ, มุฮัดดิซ, นักปรัชญา, และ ....นับตั้งแต่ศตวรรษในอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งบันทึกอยู่ในแหล่งอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ ตัวอย่างเช่น 1.ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ มะอฺซูมมะฮฺ (อ.) บุตรีของท่านอิมามมูซา กาซิม (อ.) น้องสาวของท่านอิมามริฎอ (อ.) 2.ท่านอุมมุ กุลษูม โรฆันนี,แกซวีนียฺ เป็นมุจญฺตะฮิด และมุฮัดดิษ 3.เคาะดิญะฮฺ บัรฆอนียฺ แกซวีนียฺ,เป็นมุจญฺตะฮิด มุฮัดดิษ และนักเทววิทยา, ท่านมีความรู้ด้านเทววิทยาเป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังเป็นนักท่องจำ และเป็นนักตัฟซีรอัลกุรอาน อีกด้วย 4.นักกิซ บัรฆอนียฺ แกซวีนียฺ,ป็นมุจญฺตะฮิด มุฮัดดิษ และนักเทววิทยา, ท่านมีความรู้ด้านเทววิทยา ไวยากรณ์ภาษาอาหรับ ความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงคำ โครงสร้างของลำดับคำในประโยคและวลี ตรรกวิทยา ...
  • จะต้องงดเว้นบาปนานเท่าใดจึงจะหลาบจำไม่ทำบาปอีก?
    5652 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/08/09
    เราไม่พบโองการหรือฮะดีษใดเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรงมีเพียงฮะดีษที่กล่าวว่า “ผู้ใดที่กระทำทุกอย่างด้วยความบริสุทธิใจต่ออัลลอฮ์ถึงสี่สิบวันอัลลอฮ์จะดลบันดาลให้วิทยปัญญาใหลรินจากหัวใจและปลายลิ้นของเขา”อย่างไรก็ดีควรคำนึงถึงสาระสำคัญต่อไปนี้1. ตราบเท่าที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ภัยคุกคามจากชัยฏอนก็ยังมีอยู่เสมอจึงไม่ควรจะคิดว่ามีภูมิคุ้มกันที่จะทำให้รอดพ้นการทำบาปได้ตลอดไป2. อย่าปล่อยให้ตนเองสิ้นหวังจากความเมตตาของอัลลอฮ์คนเราแม้จะทำบาปมากเท่าใดแต่ประตูแห่งการเตาบะฮ์ยังเปิดกว้างเสมอจึงต้องมีหวังในพระเมตตาของพระองค์ตลอดเวลา ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59442 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56904 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41708 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38462 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38455 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33485 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27564 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27281 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27179 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25255 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...