การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
10016
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/10/27
คำถามอย่างย่อ
ท่านสุลัยมาน (อ.) หลังจากได้สูญเสียบุตรชายไป จึงได้วอนขออำนาจการปกครอง แต่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กล่าว่า โอ้ อะลีหลังจากเจ้าแล้วโลกจะพบกับความหายนะ?
คำถาม
มีรายงานกล่าวว่า ท่านสุลัยมานหลังจากได้สูญเสียบุตรชายไป และเมื่อเข้าไปสู่โศกนาฏกรรมนั้น ท่านได้ดุอาอว่า? قَالَ رَبّ‏ِ اغْفِرْ لىِ وَ هَبْ لىِ مُلْكاً لَّا يَنبَغِى لِأَحَدٍ مِّن بَعْدِى إِنَّكَ أَنتَ الْوَهَّاب‏ » จากดุอาอฺของท่านจะพบว่าท่านมิได้สิ้นหวังจากโลกเลยแม้แต่น้อย
คำตอบโดยสังเขป
เหตุการณ์แห่งกัรบะลาอฺ เราได้เห็นท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คือแบบอย่างของความอดทน และการยืนหยัด ขณะที่ท่านมีความประเสริฐและฐานันดรที่สูงส่ง เมื่อเทียบกับบรรดาศาสดาทั้งหลาย (อ.) หรือแม้แต่ศาสดาที่เป็นเจ้าบทบัญญัติก็ตาม แต่ท่านได้กล่าวขณะท่านอิมามอะลี (อ.) ชะฮาดัตว่า “โอ้ อะลีเอ๋ย หลังจากเจ้าแล้วโลกจะพบกับหายนะ”
ถ้าพิจารณาตามอัลกุรอาน โองการที่กล่าวถึงสอนให้รู้ว่า ทั้งคำพูดและความประพฤติของท่านศาสดาสุลัยมาน (อ.) เป็นความประเสริฐหนึ่ง ดังนั้น เรามีคำอธิบายอย่างไรกับคำกล่าวอย่างสิ้นหวังของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กรุณาหักล้างคำพูดดังกล่าวด้วยเหตุผลเชิงสติปัญญา แม้ว่าคำพูดของท่านศาสดาสุลัยมาน (อ.) จะชี้ให้เห็นถึง ฐานะภาพความยิ่งใหญ่ของท่านก็ตาม และความโปรดปรานอันอเนกอนันต์จากอัลลอฮฺ ซึ่งเมือเทียบกับสามัญชนทั่วไปแล้ว ดีกว่ามากยิ่งนัก แต่เมื่อเทียบกับฐานะภาพเฉพาะของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ไม่อาจเทียบเทียมกันได้ เนื่องจากโองการเหล่านี้ หนึ่ง,แสดงให้เห็นว่าท่านศาสดาสุลัยมาน ในชั่วขณะหนึ่งเกิดความลังเล แต่มิได้ละทิ้งสิ่งที่ดีกว่า และการที่ท่านได้สูญเสียบุตรชายไปนั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในชะตากรรม สอง, บุตรชายที่ท่านได้สูญเสียไปนั้นเป็นเด็กที่ไม่สมบูรณ์ และคลอดเร็วเกินกว่ากำหนด ดังนั้น โดยปรกติการสูญเสียบุตรลักษณะนี้ จะไม่เป็นสาเหตุทำให้ผู้เป็นบิดามารดาต้องเสียใจหรือระทมทุกข์อย่างหนัก แต่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในวันอาชูรอได้กล่าวคำพูดนั้นออกมา หนึ่ง, ท่านมีสติและมีความรักในอัลลอฮฺอย่างเต็มเปี่ยมหัวใจ สอง,ท่านได้อุทิศบุตรหลานในหนทางของพระเจ้า ซึ่งเป็นบุตรที่มี่ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง มีจริยธรรม มีคำพูดที่คล้ายคลึงศาสดา (ซ็อลฯ) มากที่สุด ดังนั้น การร้องไห้เสียใจ เนื่องจากการสูญเสียบุตรทำนองนี้ ย่อมทำให้สูญเสียกำลังใจ และทำให้ผู้มีหัวใจแข็งเป็นหินเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ หนึ่ง,เป็นธรรมชาติโดยสมบูรณ์ สอง,อธิบายถึงความสมบูรณ์ของการมีอิมาม ความกล้าหาญ จิตใจที่แข็งแรงและยืนหยัดในการต่อสู้ จิตใจเปี่ยมด้วยความรัก สาม,ประโยคที่ท่านอิมาม (อ.) กล่าวนั้นเป็นการแสดงให้เห็นถึงการเสียสละอย่างที่สุดของท่านอิมาม (อ.) ซึ่งมีค่าที่สุดที่มีอยู่ในครอบครองของท่าน ที่ท่านได้อุทิศในหนทางของพระเจ้า
ด้วยเหตุนี้ คำพูดของท่านอิมาม มิใช่เป็นการแสดงให้เห็นการสิ้นหวัง หรือสิ้นหวังจากความเมตตาของพระเจ้า ทว่าเป็นการบ่งบอกให้เห็นถึงความหวัง และความศรัทธาอันสูงส่งในการดำเนินชีวิตที่ดีกว่า และมีความมั่นคงในปรโลก
 
คำตอบเชิงรายละเอียด
เกี่ยวกับสาเหตุของการประทานโองการ 34, 39 ซูเราะฮฺซ็อด[1] มีรายงานและเรื่องเล่ามากมาย ที่บันทึกไว้ในหนังสือตัฟซีร หรือประวัติศาสตร์ ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจที่สุด เมือพิจารณาตำแหน่งความเป็นมะอฺซูมของท่านศาสดาสุลัยมาน (อ.) แล้ว[2]
ศาสดาสุลัยมาน (อ.) มีความหวังว่าจะได้บุตรที่มีความแข็งแรง กล้าหาญคนหนึ่ง เพื่อจะได้ช่วยเหลือท่านในการดูแลการปกครอง โดยเฉพาะการต่อสู้กับศัตรู, ท่านมีภรรยาหลายคนและกล่าวกับตนเองว่า : ฉันใกล้ชิดกับพวกนาง เพื่อหวังว่าจะได้มีบุตรหลายคน เพื่อให้พวกเขาช่วยเหลือฉันไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่ในที่นี้ประหนึ่งว่าเขามิได้กล่าวคำว่า “อินชาอัลลอฮฺ” ประโยคที่อธิบายภารกิจของมนุษย์ที่มีต่อัลลอฮฺในทุกสภาพ และในเวลานั้นเขาจึงไม่มีบุตรเกิดกับภรรยาสักคน เว้นเสียแต่บุตรพิการคนหนึ่ง ประหนึ่งร่างที่ปราศจากวิญญาณ สุลัยมานคิดหนักและเสีนใจว่าเพราะอะไรเขาจึงได้ลืมอัลลอฮฺ ไปชั่วขณะหนึ่ง และอาศัยพลังที่มีอยู่ในตัวเอง เขาได้กลับตัวกลับใจ และกลับคืนสู่อัลลอฮฺอีกครั้ง[3]
อัลกุรอาน โองการข้างต้น หนึ่ง,เป็นการแสดงให้เห็นถึงเรื่องราวของสุลัยมานและชะตากรรมของเขา สอง,บุตรที่ท่านได้สูญเสียไปนั้นเป็นเด็กพิการโดยกำเนิด ดังนั้น การสูญเสียบุตรลักษณะนี้ แม้ว่าจะเสียใจอยู่บ้างแต่ก็จะไม่มีอิทธิพลต่อความรักแต่อย่างใด แต่สำหรับท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในวันอาชูรอขณะที่ท่านกล่าวคำพูดนี้ ท่านมีสติสัมปชัญญะ เป็นการอธิบายให้เห็นว่า หนึ่ง,ท่านอยู่ในสภาพของความสูงส่งในการรู้จักและความรักที่มีต่อพระเจ้า สอง,บุตรที่ท่านอิมาม (อ.) ได้อุทิศในหนทางของอัลลอฮฺ เป็นคนที่มีความละม้ายคล้ายคลึงท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) มากที่สุด ในแง่ของบุคลิกภาพ หน้าตา และความประพฤติ และแม้แต่คำพูด เป็นบุคคลที่ได้พลีชีวิตเพื่ออิมามแห่งยุคของตน ขณะที่ท่านอะลีอักบัร มุ่งหน้าไปสู่สนามรบ กล่าว่า “ข้าฯคืออะลี บุตรของฮุซัยนฺ บุตรของอะลี บุตรของอบีฏอลิบ ข้ฯมาจากครอบครัวซึ่งตาของข้าฯคือเราะซูล (ซ็อลฯ) ข้าฯขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า บุตรซินา จะไม่ได้เป็นผู้ปกครองในหมู่พวกเรา ข้าฯจะส่งพวกเขาไปสู่ความอัปยศ ข้าฯจะต่อสู้กับพวกเจ้าด้วยดาบ และจะปกป้องบิดาของข้าฯ ข้าฯจะสู้รบกับพวกเจ้าเยี่ยงชายหนุ่มแห่งบนูฮาชิมและอัลละวี[4]
การร้องไห้คือสัญลักษณ์ของความเสียใจ เนื่องจากได้สูญเสียสิ่งที่ตนรักโดยเฉพาะบุตรเช่นอะลีอักบัร ในสภาพเช่นนั้นย่อมทำให้หัวใจ แม้จะแข็งแกร่งเยี่ยงหินก็เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ หนึ่ง,เป็นเรื่องธรรมดาทั่วไป สอง,อธิบายถึงความสมบูรณ์ของการมีอิมาม ความกล้าหาญ จิตใจที่แข็งแรงและยืนหยัดในการต่อสู้ จิตใจเปี่ยมด้วยความรัก เนื่องจากอิมามคือแหล่งที่มาของความสมบูรณ์ความเป็นมนุษย์ ความเมตตา ซึ่งความรักนั้นเป็นหนึ่งในความสมบูรณ์ของมนุษย์ ดังที่ศาสดา (ซ็อลฯ) เมื่อสูญเสียบุตรสุดที่ร้กคืออิบรอฮีม ท่านได้ร้องไห้ และได้ตอบคำถามถึงสาเหตุของการร้องไห้ว่า นี่มิใช่เป็นการร้องไห้ ทว่าเป็นความเมตตาซึ่งผู้ใดไม่มีความเมตตา เขาก็จะไม่ได้รับความเมตา[5] ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) ก็เช่นกันท่านได้ร้องไห้ ณ หลุมศพของบิดาของท่านนบี (ซ็อลฯ) โดยรำพันจากจิตภายในว่า “โอ้ บิดาท่านได้จากไปแล้ว การจากไปของท่าน โลกแห่งความสดใสได้มืดลงสำหรับพวกเราแล้ว ความสุขที่เราได้เคยมีได้เบี่ยงเบนไปจากเรา โลกได้ดีขึ้นและสวยงามด้วยความไพโรจน์ของท่าน แต่บัดนี้วันที่สดใสได้มืดมิดลง ความแห้งแล้งของมัน เป็นการรายงานให้เห็นถึงกลางคืนที่มืดมิด[6]
 สาม, ท่านอิมามได้กล่าวประโยคนั้น ขณะนั่งอยู่เหนือศีรษะของอะลีอักบัร ที่ร่างกายเต็มไปด้วยบาดแผลฉกรรจ์ว่า “โอ้ อะลีเอ๋ย โลกจะพบกับความหายนะหลังเจ้าจากไป” แสดงให้เห็นถึงฐานะภาพอันยิ่งใหญ่ของอะลี อักบัร ซึ่งการมีท่านสำหรับอิมามแล้วเสมือนชีวิตของอิมาม
สี่,ประโยคที่ท่านอิมาม (อ.) กล่าวนั้นเป็นการแสดงให้เห็นถึงการเสียสละอย่างที่สุดของท่านอิมาม (อ.) ซึ่งมีค่าที่สุดที่มีอยู่ในครอบครองของท่าน ที่ท่านได้อุทิศในหนทางของพระเจ้า
นอกเหนือจากที่กล่าวมา บุคคลที่มีสมบูรณ์สูงสุดในครอบครัว และบุตรของท่านล้วนเป็นความยินดี และความพึงพอใจของพระเจ้า ดังนั้น เขาจะไม่มีความหวังต่อพระเจ้าเชียวหรือ หรือว่าบุคคลที่มีบุตรที่พิการจะมีความหวังมากกว่า ในสภาพเช่นนั้นเขาจึงได้เรียกร้องต่อพระเจ้ากระนั้นหรือ แม้ว่าคำพูดของสุลัยมานจะบ่งชี้ให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่แห่งจิตวิญญาณ และความเชื่อมั่นในความเมตตาอันอเนกอนันต์ของพระเจ้า เมื่อเทียบกับสามัญชนทั่วไปแล้วถือว่าดีกว่าอย่างยิ่ง แต่เมื่อเทียบกับสถานภาพอันเฉพาะสำหรับท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) แล้วไม่อาจเปรียบเทียบกันได้แน่นอน  ด้วยเหตุนี้ คำพูดของท่านอิมาม นอกจากจะมิได้เป็นการบ่งชี้ให้เห็นถึงการสิ้นหวังจากความเมตตาของพระเจ้าแล้ว ทว่ายังเป็นการบ่งชี้ให้เห็นถึงความหวัง และอีมานอันสูงส่ง เมื่อเทียบกับวิถีชีวิตที่ดีกว่าและมั่นคงแห่งชีวิตในปรโลก ประโยคที่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กล่าวออกไปนั้น เป็นการแสดงให้เห็นถึงสถานภาพที่ไม่เอาไหนของชนในตอนนั้น ซึ่งท่านอิมาม (อ.) ได้กล่าวในประเด็นอื่นอีกถึงสาเหตุของการไม่ใส่ใจของผู้คน และความเหน็ดเหนื่อยของท่านที่มีต่อโลก ขณะเดินทางไปกัรบะลาอฺ ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า “ใช่แล้ว โลกไปเปลี่ยนโฉมหน้าไปแล้ว จนจำไม่ได้คนที่ทำความดีกำลังจะสูญสิ้นไป ความดีไม่คงหลงเหลืออยู่อีกแล้ว นอกจากหยดน้ำบนภาชนะ และชีวิตที่ไร้สาระ ประหนึ่งทุ่งหญ้าที่มิได้หญ้างอกเงย นอกจากหญ้าที่นำไปสู่การเจ็บป่วย ซึ่งไม่อาจใช้ประโยชน์อันใดได้ พวกเจ้าไม่เห็นดอกหรือว่า ความจริงมิได้ถูกปฏิบัติ ขณะที่สิ่งโมฆะมิได้ถูกละเว้น ในลักษณะที่ว่าผู้ศรัทธามีสิทธิ์เสรี ต่างเรียกร้องกลับคืนสู่พระเจ้า ดังเช่นผู้ที่ลุ่มหลงโลก คำสอนของศาสนามิได้เกินเลยไปจากคำพูดที่อยู่บนปลายลิ้นของพวกเขา[7]
และอีกหลายตอนที่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ได้กล่าวถึงสาเหตุของความเบื่อหน่ายและเกลียดชังชีวิตทางโลกคือ การดูหมิ่นศาสนา และการชะฮาดัตของมวลผู้ศรัทธา
ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.) กล่าวว่า บ้านทุกหลังที่ฉันได้เข้าไป บิดาของฉันได้กล่าวถึงการเป็นชะฮีดของ ยะฮฺยาบินซักกะรียา (อ.) ว่า “วันหนึ่งความอัปยศของโลก ณ พระผู้อภิบาลคือ ศีรษะของยะฮฺยาได้ถูกตัดขาด ในฐานะของกำนัลที่ถูกส่งไปยังสตรีชั่วช้าผิดประเวณี แห่งบนีอิสราเอล[8] ในทำนองนั้นท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ขณะชะฮาดัตอะลี อักบัร ท่านกล่าวว่า พวกเขากล้าแสดงความถ่อยต่ออาตมันบริสุทธิ์ของพระเจ้า และเราะซูลของพระองค์ และดูหมิ่นศาสนาได้เยี่ยงนี้ได้อย่างไร[9]
 

[1] กล่าวว่า “โอ้ พระผู้อภิบาลของข้าฯ โปรดอภัยให้แก่ข้าฯ โปรดประทานอำนาจปกครองแก่ข้าฯ ซึ่งหลังจากข้าฯ แล้วจะไม่คู่ควรแก่ผู้ใดทั้งสิ้น เนื่องจากเฉพาะพระองค์เท่านั้นเป็นผู้ทรงประทานให้อย่างมากมาย ดังนั้น เราได้บันดาลให้ลมพัดแผ่วเบาสำหรับเขา โดยพัดไปตามคำสั่งของเขายังทิศทางที่เขาต้อง”
[2] ความสัมพันธ์แง่ของตัฟซีร ระหว่างสองโองการนี้เกี่ยวกับการละทิ้งสิ่งที่ดีกว่าของสุลัยมาน (อ.) และข้อท้วงติงที่มีต่อคำตอบเกี่ยวกับการขออำนาจการปกครอง โดยเฉพาะท่านสุลัยมาน (อ.) โปรดพิจารณาตัฟซีรอัลมีซานฉบับภาษาอาหรับ เล่ม 17, หน้า 204, ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เล่ม 19, หน้า 281, เราะฮฺเนะมอเชะนอซียฺ, หน้า 174, อุสตาดมิซบาฮฺ ยัซดียฺ
[3] ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เล่ม 19, หน้า 281
[4] บิฮารุลอันวาร เล่ม  45, หน้ 43
[5] วะซาอิลชีอะฮฺ เล่ม 2,บาบดะฟั่น , บาบ 17, หน้า 922, รายงานที่ 8.
[6] บิฮารุลอันวาร เล่ม  43, หน้า 174-180
[7] ตะฮฺฟุลอุกูล, สุนทรพจน์ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) หน้า 427
[8] บิฮารุลอันวาร เล่ม  45, หน้า 299, ซีดีวิชาการ กันญีเนะฮฺ ริวายาต นูร, คำถามตอบต่างๆ สำหรับนักศึกษา ลำดับที่ 13 สำนักตัวแทนท่านผู้นำในมหาวิทยาลัยต่างๆ, มัรกัซฟังฮังกี, ฝ่ายให้คำปรึกษาและคำตอบ
[9] บิฮารุลอันวาร เล่ม  45, หน้า 44.
แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • สายรายงานของฮะดีษท่านนบี(ซ.ล.)ที่ระบุให้ท่องจำฮะดีษสี่สิบบทเศาะฮี้ห์หรือไม่? และสี่สิบบทนี้หมายถึงฮะดีษประเภทใด?
    8161 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/18
    ท่านนบี(ซ.ล.)ได้กล่าวไว้ในฮะดีษที่เรียกกันว่า “อัรบะอีน” ซึ่งรายงานไว้ในตำราฝ่ายชีอะฮ์[1]และซุนหนี่[2]บางเล่มเนื้อหาของฮะดีษนี้เป็นการรณรงค์ให้ท่องจำฮะดีษสี่สิบบทอาทิเช่นสำนวนต่อไปนี้: “ผู้ใดในหมู่ประชาชาติของฉันที่ได้ท่องจำฮะดีษที่จำเป็นต่อการดำรงศาสนาของผู้คนถึงสี่สิบบทอัลลอฮ์จะทรงปกป้องเขาในวันกิยามะฮ์และจะฟื้นคืนชีพในฐานะปราชญ์ศาสนาที่มีเกียรติ”[3] ฮะดีษนี้มีความเป็นเอกฉันท์ (ตะวาตุร) ในเชิงความหมาย[4]และเป็นฮะดีษเศาะฮี้ห์ฮะดีษข้างต้นมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้เกิดแรงจูงใจในหมู่นักวิชาการในการประพันธ์ตำรารวบรวมฮะดีษสี่สิบบทโดยตำราเหล่านี้รวบรวมฮะดีษจากบรรดามะอ์ศูมีนสี่สิบบทเกี่ยวกับประเด็นความศรัทธาและหลักจริยธรรมในบางเล่มมีการอธิบายเพิ่มเติมด้วยทั้งนี้ฮะดีษข้างต้นมิได้ระบุประเภทฮะดีษเอาไว้เป็นการเฉพาะแต่หมายรวมถึงฮะดีษทุกบทที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ทั้งโลกนี้และโลกหน้าอัลลามะฮ์มัจลิซีเชื่อว่า “การท่องจำฮะดีษ” ที่ระบุไว้ในฮะดีษข้างต้นมีระดับขั้นที่แตกต่างกันซึ่งจะกล่าวโดยสังเขปดังนี้: หนึ่ง. “การท่องจำฮะดีษ”ในลักษณะการรักษาถ้อยคำของฮะดีษอย่างเช่นการปกปักษ์รักษาไว้ในความจำหรือสมุดหรือการตรวจทานตัวบทฮะดีษฯลฯสอง. การปกปักษ์รักษาฮะดีษในลักษณะการครุ่นคิดถึงความหมายของฮะดีษอย่างลึกซึ้งหรือการวินิจฉันบัญญัติศาสนาจากฮะดีษสาม. การปกปักษ์รักษาฮะดีษในลักษณะปฏิบัติตามเนื้อหาของฮะดีษ
  • อิมามมะฮ์ดีสมรสแล้วหรือยัง?
    7729 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/09
    แม้จะเป็นไปได้ว่าท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)อาจมีคู่ครองและบุตรหลาน เนื่องจากภาวะการเร้นกายมิได้จำกัดว่าจะท่านต้องงดกระทำการสมรสอันเป็นซุนนะฮ์แต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราไม่พบเหตุผลใดๆที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ สันนิษฐานว่าสาเหตุที่ประเด็นดังกล่าวไม่เป็นที่เปิดเผยนั้น อาจเป็นผลพวงมาจากความจำเป็นที่พระองค์ทรงเร้นกายท่านจากสายตาผู้คนนั่นเอง ...
  • โปรดอธิบาย หลักความเชื่อของวะฮาบี และข้อทักท้วงของพวกเขาที่มีต่อชีอะฮฺว่า คืออะไร?
    18322 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/06/30
    วะฮาบี, คือกลุ่มบุคคลที่เชื่อและปฏิบัติตาม มุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ, พวกเขาเป็นผู้ปฏิตามแนวคิดของสำนักคิด อิบนุตัยมียะฮฺ และสานุศิษย์ของเขา อิบนุ กัยยิม เญาซียฺ ซึ่งเขาเป็นผู้วางรากฐานทางความศรัทธาใหม่ในแคว้นอาหรับ. วะฮาบี เป็นหนึ่งในสำนักคิดของนิกายในอิสลาม ซึ่งมีผู้ปฏิบัติตามอยู่ในซาอุดิอารเบีย ปากีสถาน และอินเดีย ตามความเชื่อของพวกเขาการขอความช่วยเหลือผ่านท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) การซิยาเราะฮฺ, การให้เกียรติ ยกย่องและแสดงความเคารพต่อสถานฝังศพของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ถือเป็น บิดอะฮฺ อย่างหนึ่ง ประหนึ่งเป็นการแสดงความเคารพต่อเจว็ดรูปปั้น ถือว่า ฮะรอม. พวกเขาไม่อนุญาตให้กล่าวสลาม หรือยกย่องให้เกียรติท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ยกเว้นในนมาซเท่านั้น, พวกเขายอมรับการสิ้นสุดชีวิตทางโลกของเขา เป็นการสิ้นสุดอันยิ่งใหญ่ และเป็นการสิ้นสุดที่มีเกียรติยิ่ง ร่องรอยของทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็น โดม ลูกกรง และอื่นๆ ...
  • ทั้งที่ซะกาตไม่วาญิบสำหรับท่านอะลี (อ.) แล้วเพราะเหตุใดท่านต้องบริจาคซะกาตขณะนมาซด้วย ?
    6707 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/25
    ท่านอิมามอะลี (อ.) ไม่เคยเป็นคนจนหรือคนอนาถาจนไม่มีจะกินแต่อย่างใดแต่ท่านเป็นคนมีความพยายามสูงและไม่เคยหยุดนิ่ง, ท่านได้รับทรัพย์สินจำนวนมากมายแต่ทรัพย์ทั้งหมดเหล่านั้นท่านได้บริจาคไปในหนทางของอัลลอฮฺ (ซบ.), โดยไม่เหลือทรัพย์ส่วนใดไว้สำหรับตนเอง,ดังที่โองการต่างๆได้กล่าวถึงการบริจาคซะกาตของท่านไว้มากมายซึ่งหนึ่งในโองการเหล่านั้นก็คือโองการที่กำลังกล่าวถึงนอกจากนั้นแล้ววัฒนธรรมของอัลกุรอานยังได้กล่าวถึงการบริจาคที่เป็นมุสตะฮับ (สมัครใจ)
  • สาเหตุของการปฏิเสธอัลลอฮฺ เนื่องจากเหตุผลในการพิสูจน์พระองค์ไม่เพียงพอ?
    7953 ปรัชญาอิสลาม 2555/04/07
    ความจริงที่เหล่าบรรดาศาสดาแห่งพระเจ้าได้พิสูจน์ด้วยเหตุผลแน่นอน, แต่กระนั้นก็ยังได้รับการปฏิเสธจากผู้คนในสมัยของตน,แสดงให้เห็นถึงความดื้อรั้นของผู้ปฏิเสธ, เนื่องจากไม่ต้องการที่จะยอมรับความจริง, มิใช่ว่าเหตุผลในการพิสูจน์พระเจ้าไม่เพียงพอ, หรือเหตุผลในการปฏิเสธพระเจ้าเหนือกว่า ...
  • เหตุใดจึงเรียกอิมามฮุเซนว่าษารุลลอฮ์?
    6934 จริยธรรมทฤษฎี 2554/12/11
    ษารุลลอฮ์ให้ความหมายว่าการชำระหนี้เลือดแต่ก็สามารถแปลว่าเลือดได้เช่นกันตามความหมายแรกอิมามฮุเซนได้รับฉายานามนี้เนื่องจากอัลลอฮ์จะเป็นผู้ทวงหนี้เลือดให้ท่านแต่หากษารุลลอฮ์แปลว่า"โลหิตพระเจ้า" การที่อิมามได้รับฉายานามดังกล่าวเป็นไปตามข้อชี้แจงต่อไปนี้:1. "ษ้าร"เชื่อมกับ"อัลลอฮ์"เพื่อให้ทราบว่าเป็นโลหิตอันสูงส่งเนื่องจากเป็นการเชื่อมคำในเชิงยกย่อง2.มนุษย์ที่บรรลุสู่ความสมบูรณ์ในระดับใกล้ชิดทางภาคบังคับต่างก็เป็นหัตถาพระเจ้าชิวหาพระเจ้าและโลหิตพระเจ้าหมายถึงถ้าหากพระองค์ทรงประสงค์จะทำสิ่งใดมนุษย์ผู้นี้จะเป็นดั่งพระหัตถ์หากทรงประสงค์จะตรัสเขาจะเป็นดั่งชิวหาและหากพระองค์ทรงประสงค์จะพิทักษ์ศาสนาของพระองค์ด้วยโลหิตเขาจะเป็นดั่งโลหิตพระองค์อิมามฮุเซน(อ.)เป็นดั่งโลหิตพระองค์เนื่องจากโลหิตของท่านช่วยชุบชีวิตแก่ศาสนาของพระองค์เราเชื่อว่าความหมายแรกเป็นความหมายที่เหมาะสมกว่าแต่ความหมายที่สองก็เป็นคำธิบายที่น่าสนใจเช่นกันโดยเฉพาะหากเป็นผู้ที่อยู่ในแวดวงจาริกทางจิตอาจทำให้เข้าใจได้ลึกซึ้งกว่า ...
  • จัดเลี้ยงวันเกิดเป็นฮะรอมหรือไม่?
    23025 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/07
    การฉลองวันเกิดมิได้เป็นประเพณี (ซุนนะฮฺ) อิสลาม และคำสอนของศาสนาอิสลามก็ไม่ได้แนะนำไว้ว่า มนุษย์ต้องจัดฉลองวันเกิดของเขา แต่เราไม่ต้องการที่จะประณามการกระทำนี้ว่าเป็นประเพณีใหม่ แต่ก็ไม่อาจยอมรับการนำเข้าประเพณีอื่น ๆ อย่างสุ่มสี่สุ่มห้าได้ เนื่องจากเราเชื่อว่า ประเพณีต่างๆ จะต้องมีที่มาอันเป็นรากลึกในการรับรู้ของประชาชน แต่หลังจากการพิจารณาแล้วประเพณีเหล่านี้สามารถนำไปสู่ความสมบูรณ์และการพัฒนาได้ ซึ่งสามารถให้นิยามสำหรับประเพณีใหม่นี้ ซึ่งเป็นวันเกิดของคนๆ หนึ่งให้มีความเหมาะสมกับเขา โดยตั้งชื่อว่า เป็นวันขอบคุณและสรรเสริญพระเจ้า ซึ่งพระองค์ทรงดูและขาให้มีชีวิตอยู่นับตั้งแต่วันเกิด จนถึงบัดนั้น เช่นเดียวกันถือว่าเป็นโอกาสหนึ่งสำหรับการคิดใคร่ครวญในอายุขัยของเขาว่า เขาได้ใช้ไปในหนทางใด และส่วนอายุขัยที่เหลือเขาจะใช้มันไปอย่างไร หรือมีการปรับปรุงแก้ไขวิธีการ ขั้นตอน และแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างไร และจงรำลึกถึงอัลลอฮฺเสมอ วิงวอนต่อพระองค์ว่า โอ้ อัลลอฮฺ โปรดทำให้ก้าวเดินต่อไปของเรามีแต่ความดีงาม ดีกว่าอดีตที่ผ่านมา โปรดทำให้วันสุดท้ายของเราเป็นวันที่ดีที่สุด และโปรดทำให้วันต่างๆ ของเราเป็นวันพบกับพระองค์ ด้วยเหตุนี้, การจัดงานวันเกิดสำหรับตนเองหรือบุตรหลาน, ถ้างานนั้นเต็มไปด้วยความฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุหร่าย หรือไม่ขัดต่อชัรอียฺ, เช่น ไม่มีการขับกล่อมบรรเลงเพลงที่ฮะรอม เต้นรำ และ ...ร่วมอยู่ในงาน ถือว่าไม่เป็นไร ...
  • คำอธิบายอัลกุรอาน บทอัฏฏีน จากตัฟซีรฟะรอต มีฮะดีซบทหนึ่งกล่าวว่า วัตถุประสงค์ของคำว่า ฏีน หมายถึงอิมามฮะซัน (อ.) และวัตถุประสงค์ของ ซัยตูน คืออิมามฮุซัยนฺ (ฮ.) ถามว่าฮะดีซเหล่านี้ และฮะดีซที่คล้ายคลึงกันเชื่อถือได้หรือไม่?
    10365 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/20
    อัลกุรอาน นอกจากจะมีความหมายภายนอกแล้ว,เป็นไปที่ว่าอาจมีความหมายภายในซ่อนเร้นอยู่อีก เช่น ความหมายภายนอกของคำว่า ฏีนและซัยตูน ซึ่งอัลลอฮฺ กล่าวไว้ในโองการที่ 1 และ 2 ของบท ฏีนว่า ขอสาบานด้วยพวกเขาว่า, สามารถกล่าวได้ว่าอาจหมายถึงผลมะกอก และมะเดื่อตามที่ประชาชนทั้งหลายเข้าใจ กล่าวคือ ผลมะกอกและมะเดื่อ ที่มาจากต้นมะกอกและต้นมะเดื่อ, แต่ขณะเดียวกันก็สามารถกล่าวถึงความหมายด้านในของโองการได้ ซึ่งสองสิ่งที่ฮะดีซพาดพิงถึงคือ ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุซัยนฺ (อ.) เป็นผลไม้จากต้นวิลายะฮฺ[1] ทำนองเดียวกัน สามารถกล่าวได้ว่า โองการยังมีวัตถุประสงค์อื่นอีก, ดังที่รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงสิ่งนี้เอาไว้, ซึ่งวัตถุประสงค์จาก ฏีน หมายถึง เมืองแห่งเราะซูล ส่วนวัตถุประสงค์ของ ซัยตูน หมายถึง บัยตุลมุก็อดดิส กิบละฮฺแห่งแรกของมวลมุสลิม[2] ตัฟซีรกุมมีกล่าวว่า ...
  • ฮะดีษที่ว่า “วันที่มุสลิมจะจำแนกเป็น 73 จำพวกจะมาถึง” เชื่อถือได้หรือไม่?
    12599 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ฮะดีษชุด“การแตกแยกของอุมมะฮ์”มีบันทึกในตำราฝ่ายชีอะฮ์และซุนหนี่ตามสายรายงานที่หลากหลายเนื้อหาของฮะดีษเหล่านี้ล้วนระบุถึงการที่มุสลิมจำแนกเป็นกลุ่มก้อนภายหลังท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งถือเป็นเอกฉันท์ในแง่ความหมายส่วนในแง่สายรายงานก็มีฮะดีษที่เศาะฮี้ห์และสายรายงานเลิศอย่างน้อยหนึ่งบท ...
  • จนถึงปัจจุบันมีผู้ใดบ้างได้ยืนหยัดต่อสู้กับชัยฎอน และแนวทางการต่อสู้ของเขาเป็นอย่างไร?
    8141 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/04/07
    ตามทัศนะของอัลกุรอาน ชัยฏอนไม่อาจมีอิทธิพลเหนือปวงบ่าวที่บริสุทธิ์ของพระเจ้าได้ ปวงบ่าวที่เป็น มุคลิซีน หมายถึง บุคคลที่ได้ไปถึงยังตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งชัยฏอนไม่อาจมีอำนาจเหนือพวกเขาได้ แน่นอน การต่อสู้กับชัยฏอนจำเป็นต้องมีสื่อและอุปกรณ์จำเป็นประกอบการต่อสู้ ซึ่งการมีอุปกรณ์เหล่านี้สามารถยืนหยัดต่อสู้กับชัยฏอนได้ และจะได้รับชัยชนะในการต่อสู้ ซึ่งจะขอยกตัวอย่างอุปกรณ์บางอย่างเหล่านั้น ได้แก่ 1.อีมาน : อัลกุรอานกะรีมกล่าวว่า อีมาน คือ ตัวการหลักที่ขัดขวางการมีอิทธิพลของชัยฏอนเหนือผู้ศรัทธา 2. ตะวักกัล : อีกหนึ่งตัวการที่สามารถเอาชนะชัยฏอนและพลพรรคได้ คือการตะวักกัลป์ มอบหมายภารกิจแด่อัลลอฮฺ 3. อิสติอาซะฮฺ : หมายถึงการขอความช่วยเหลือ หรือสถานพักพิงต่ออัลลอฮฺ 4. การรำลึกถึงอัลลอฮฺ : การรำลึกถึงอัลลอฮฺ จะให้ความสว่างแก่มนุษย์ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59442 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56904 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41709 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38463 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38455 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33486 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27565 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27282 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27179 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25255 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...