การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
12667
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/11/22
คำถามอย่างย่อ
แนวทางที่ถูกต้อง และง่ายในการเลือกมัรญิอฺตักลีดที่มีความรู้สูงสุด สำหรับบุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม และไม่สามารถแยกแยะอุละมาอฺได้คืออะไร?
คำถาม
กรุณาอธิบายวิธีการเลือกมัรญิอฺที่มีความรู้สูงสุด และพยานที่ยุติธรรมสองคน? วัตถุประสงค์คือผู้เป็นพยานสองคนต้องเป็นมุจญฺตะฮิดด้วยหรือไม่? ถ้าหากผู้ที่เพิ่งจะเป็นมุสลิมใหม่ ไม่สามารถรู้จักอุละมาอฺหรือพูดภาษาเปอร์เซียได้ หรือเขาไม่รู้จักมุจญฺตะฮิดคนใดเลย เขาจะมีวิธีเลือกมัรญิอฺตักลีดได้อย่างไร? ในทำนองเดียวกัน ริซาละฮฺ ที่เป็นภาษาอังกฤษนั้นมีประเด็นที่ยากกว่า เนื่องจากต้องมีพยานที่ยุติธรรมสองคน แล้วคำว่า อุละมาอฺ ในภาษาอังกฤกนั้นครอบคลุมถึงทุกคน และทุกความรู้ ซึ่งไม่จำกัดอยู่แค่ผู้รู้ในวิชาการอิสลามเท่านั้น หรือเฉพาะผู้ที่เป้นมุจญฺตะฮีดอย่างเดียว
คำตอบโดยสังเขป

การตักลีดกับมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุด หมายถึงมิได้จำกัดอยู่แค่บุคคลที่มีความเชื่ยวชาญพิเศษเฉพาะปัญหาฟิกฮฺ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักชัรอียฺของตนนั้น จำเป็นต้องปฏิบัติตามมุจญฺตะฮิดที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ สมบูรณ์ในเรื่องฟิกฮฺ และต้องเป็นผู้รู้ที่มีความรู้มากกว่ามุจญฺตะฮิดด้วยกัน ในสมัยของตน และมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุดสามารถรู้จักได้จากหนึ่ง 3 วิธีดังนี้ : หนึ่ง : ตัวเราต้องมั่นใจด้วยตัวเอง สอง : มีผู้รู้สองคนที่ยุติธรรมยืนยันในความรู้ของมุจญฺตะฮิดท่านนั้น สาม : ผู้รู้กลุ่มหนึ่งได้ยืนยันและรับรองการเป็นมุจญฺตะฮิด และการเป็นผู้มีความรู้สูงสุดของเขา

น่ายินดีว่าปัจจุบันบรรดาคณาจารย์ระดับสูงของสถาบันสอนศาสนา ณ เมืองกุม ได้แนะนำผู้รู้ที่มีคุณสมบัติของมุจญฺตะฮิดสมบูรณ์ ในฐานะของมัรญิอฺตักลีดไว้หลายคนด้วยกัน ซึ่งมุสลิมทุกคนสามารถเลือกปฏิบัติตามอุละมาอฺเหล่านั้น ในฐานะมัรญิอฺตักลีด ท่านหนึ่งท่านใดก็ได้ และกิจการงานของตนให้ถือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของท่าน ที่มีอยู่ในริซาละฮฺ เตาฎีฮุลมะซาอิล ในกรณีนี้ท่านจะมั่นใจได้ว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ทางชัรอียฺของท่านแล้ว และปัจจุบันเนื่องจากการติดต่อสื่อสารนั้นสะดวกสบาย และเป็นไปได้ในรูปแบบต่างๆ มีหลายภาษาให้เลือก ดังนั้น สำหรับบุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม สามารถรับรู้ข้อมูลนี้ได้อย่างง่ายดาย

คำตอบเชิงรายละเอียด

ผู้ที่ไม่รู้ต้องสอบถามจากผู้รู้ ถือเป็นเงื่อนไขที่วางอยู่บนวิทยปัญญาอย่างแท้จริง และได้รับการสนับสนุนจากสังคมมนุษย์ชาติทั้งหมดด้วย เนื่องจากบุคคลหนึ่งไม่อาจรู้ หรือมีความสามารถเชี่ยวชาญในทุกเรื่องได้ ด้วยเหตุนี้เอง ในเรื่องที่ตนไม่มีความรู้และไม่เชี่ยวชาญนั้น จำเป็นต้องสอบถามจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ การตักลีดกับผู้มีความรู้สูงสุด ในความหมายของฟิกฮฺนั้น หมายถึงบุคคลที่ไม่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องฟิกฮฺ ดังนั้น ต้องตักลีดกับมุจญฺตะฮีดที่มีความเชี่ยวชาญสมบูรณ์ในเรื่องฟิกฮฺ และมีความรู้มากกว่ามุจญฺตะฮิดท่านอื่น (อะอฺลัม) ซึ่งเขาจะต้องปฏิบัติหน้าที่ทางชัรอียฺของตนตามคำวินิจฉัยของมัรญิอฺท่านนั้น

สำหรับการรู้จักมัรญิอฺที่มีความรู้สูงสุด (ผู้มีความเชี่ยวชาญในเรื่องฟิกฮฺมากกว่าคนอื่น) มีการกำหนดแนวทางไว้ 3 แนวทางด้วยกัน เพื่อให้ประชาชนสะดวกสบายและสามารถเลือก และรู้จักมัรญิอฺตักลีดด้วยความมั่นใจได้จากสามแนวทางนั้น :

หนึ่ง : เราต้องมั่นใจด้วยตัวเอง, เช่น เขาผู้นั้นเป็นผู้รู้และสามารถแยกแยะมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุดได้

สอง : มีผู้รู้สองคนที่ยุติธรรม สามารถยืนยันในความรู้ของมุจญฺตะฮิดท่านนั้นได้ และรับรองว่าท่านเป็นผู้มีความรู้สูงสุดกว่าคนอื่น โดยมีเงื่อนไขว่าผู้รู้ที่มีความยุติธรรมสองคนอื่นต้องไม่มีความเห็นขัดแย้ง หรือไม่เห็นด้วยกับเขา

สาม : ผู้รู้กลุ่มหนึ่ง ได้ยืนยันและรับรองการเป็นมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุด ซึ่งสามารถเชื่อถือได้ในคำพูดของเขา และก่อให้เกิดความมั่นใจในความรู้สูงสุดของเขา[1]

ปัจจุบัน เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใดบนโลกใบนี้ ก็สามารถรู้จักสถาบันศาสนา และผู้รู้ได้ตลอดเวลา  และยังเรียนรู้จักปัญหาเรื่องการตักลีดได้ด้วย ดังนั้น เขาสามารถเลือกมัรญิอฺตักลีดได้อย่างสะดวกสบาย จำเป็นต้องกล่าวถึงคือ น่ายินดีว่าปัจจุบันบรรดาคณาจารย์ระดับสูงของสถาบันสอนศาสนา ณ เมืองกุม ได้แนะนำผู้รู้ที่มีคุณสมบัติของมุจญฺตะฮิดสมบูรณ์ ในฐานะของมัรญิอฺตักลีดไว้หลายคนด้วยกัน ซึ่งมุสลิมทุกคนสามารถเลือกปฏิบัติตามอุละมาอฺเหล่านั้น ในฐานะมัรญิอฺตักลีด ซึ่งประกอบด้วย:

1.อายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา ซัยยิด กาซิม ฮาอิรียฺ

2.อายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา ซัยยิด อะลี คอมเมเนอี

3.อายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา ซัยยิด อะลี ซิตตานียฺ

4.อายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา ซัยยิด มูซาวี ชะบัยรียฺ ซันญานียฺ

5.อายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา เชค ลุฎฟุลลอฮฺ ซอฟียฺ ฆุลภัยฆอนี

6.อายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา เชค นาซิร มะการิมชีรอซียฺ

7.อายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา เชค วะฮีด โครอซานียฺ

ซึ่งมุสลิมทุกคนสามารถเลือกปฏิบัติตามอุละมาอฺเหล่านั้น ในฐานะมัรญิอฺตักลีด ท่านหนึ่งท่านใดก็ได้ และกิจการงานของตนให้ถือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของท่าน ที่มีอยู่ในริซาละฮฺ เตาฎีฮุลมะซาอิล ในกรณีนี้ท่านจะมั่นใจได้ว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ทางชัรอียฺของท่านแล้ว

ส่วนเกี่ยวกับการแปลหนังสือ ริซาละฮฺเตาฎีฮุลมะซาอิล เป็นภาษาอื่น เช่น ภาษาอังกฤษ จำเป็นต้องกล่าวว่า ปัจจุบันได้ทุ่มเทอย่างจริงจังแล้วในเรื่องดังกล่าว  แต่ก็น่าเสียดายว่าปัญหาดังกล่าวก็ยังไม่จบสิ้น ยังมีช่องว่างอยู่อีก แต่ก็หวังว่าในอนาคตอันใกล้นี้จะมีการทุ่มเทให้มากยิ่งขึ้นต่อไป เพื่อจัดทำสิ่งที่ดีกว่า

อย่างไรก็ตามคำตอบของท่าน อายะตุลลอฮฺ มะฮฺดะวี เตหะรานนี (ขออัลลอฮฺทรงปกป้องท่าน) สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก:

ด้วยการตรวจสอบจากผู้รู้ที่ยุติธรรมสองคน เชื่อถือได้ หรือมีชื่อเสียงน่าเชื่อถือ และมั่นใจได้ หรือทุกวิธีการที่จะทำให้เรามั่นใจได้ เราสามารถกำหนดมัรญิอฺตักลีดได้ตัวยตัวเอง ลิงก์ไปยังไซต์ อิสติฟตาอาต

 


[1] เตาฎีฮุลมะซาอิล (อัลมะฮัชชี ลิลอิมาม อัลโคมัยนี) เล่ม 1, หน้า 15, แน่นอนวัตถุประสงค์ของผู้รู้ ในประโยคดังกล่าว หมายถึง ผู้รู้ในวิชาการอิสลาม

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • มุคตารคือ ษะกะฟีย์ ซึ่งในหัวใจมีความรักให้ท่านอบูบักร์และอุมมัรเท่านั้น? แล้วทำไมเขาจึงไม่ปกป้องท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในกัรบะลาอฺ?
    8302 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    รายงานเกี่ยวกับมุคตารที่ปรากฏอยู่ในตำราฮะดีซนั้นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มกล่าวคือรายงานบางกลุ่มกล่าวสรรเสริญเขา
  • มลาอิกะฮ์สร้างมาจากรัศมีของบรรดาอิมาม และมีหน้าที่ร่ำไห้แด่อิมามฮุเซน(อ.)กระนั้นหรือ?
    8729 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/19
    1. ความเชื่อที่ว่ามลาอิกะฮ์สร้างขึ้นจากรัศมีนั้นได้รับการยืนยันจากฮะดีษหลายบทที่รายงานไว้ในตำราฝ่ายชีอะฮ์และซุนหนี่ตำราชีอะฮ์บางเล่มระบุถึงการสร้างสิ่งมีชีวิตต่างๆรวมถึงมลาอิกะฮ์จากรัศมีของปูชนียบุคคลอย่างท่านนบี(ซ.ล.) หรือบรรดาอิมามหรือบุคคลอื่นๆดังที่ตำราของซุนหนี่เองก็เล่าว่าเคาะลีฟะฮ์ท่านแรกและคนอื่นๆถือกำเนิดจากรัศมีของท่านนบี(ซ.ล) การที่มีฮะดีษเหล่านี้ปรากฏอยู่ในตำรับตำราของแต่ละฝ่ายมิได้หมายความว่าทุกคนจะต้องคล้อยตามฮะดีษเหล่านี้เสมอไป อย่างไรก็ดีตำราฮะดีษชีอะฮ์ได้รายงานฮะดีษชุด "ฏีนัต" ไว้ซึ่งไม่อาจจะมองข้ามได้กล่าวโดยสรุปคือหากพบว่ามุสลิมแต่ละฝ่ายอาจมีทัศนะแตกต่างกันบ้างในเรื่องการสรรสร้างของพระองค์
  • ทั้งที่พจนารถของอิมามบากิรและอิมามศอดิกมีมากมาย เหตุใดจึงไม่มีการรวบรวมไว้ในหนังสือสักชุดหนึ่ง?
    6373 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/07
    หากจะพิจารณาถึงสังคมและยุคสมัยของท่านอิมามบากิร(อ.)และอิมามศอดิก(อ.)ก็จะเข้าใจได้ว่าเหตุใดจึงไม่มีการรวบรวมตำราดังกล่าวขึ้นอย่างไรก็ดีฮะดีษของทั้งสองท่านได้รับการรวบรวมไว้ในบันทึกที่เรียกว่า “อุศู้ลสี่ร้อยฉบับ” จากนั้นก็บันทึกในรูปของ”ตำราทั้งสี่” ต่อมาก็ได้รับการเรียบเรียงเป็นหมวดหมู่ฟิกเกาะฮ์ในหนังสือวะซาอิลุชชีอะฮ์กว่าสามสิบเล่มโดยท่านฮุรอามิลีแต่กระนั้นก็ต้องทราบว่าแม้ว่าฮะดีษของอิมามสองท่านดังกล่าวจะมีมากกว่าท่านอื่นๆก็ตามแต่หนังสือดังกล่าวก็มิได้รวบรวมเฉพาะฮะดีษของท่านทั้งสองแต่ยังรวมถึงฮะดีษของอิมามท่านอื่นๆอีกด้วย ทว่าปัจจุบันมีการเรียบเรียงหนังสือในลักษณะเจาะจงอยู่บ้างอาทิเช่นมุสนัดอิมามบากิร(อ.) และมุสนัดอิมามศอดิก(
  • มีการกล่าวถึงรายชื่อบุคคลทั้งห้าในคัมภีร์เตารอตและคัมภีร์อินญีลหรือไม่?
    5571 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/11
    ดังที่ฮะดีษบางบทกล่าวไว้ว่ารายชื่อของบุคคลทั้งห้าผู้เป็นชาวผ้าคลุม (อ.) อันประกอบด้วยท่านศาสดา (ซ.ล.), อิมามอลี (อ.), ท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.), อิมามฮะซัน (อ.), อิมามฮุเซน (อ.) มีการกล่าวถึงในคัมภีร์เตารอตและคัมภีร์อินญีลซึ่งในการถกระหว่างอิมามริฏอ (อ.) กับบาทหลวงคริสต์และแร็บไบยิวได้มีกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวด้วย ...
  • การที่ฝ่ายชีอะฮฺกล่าวว่า เซาะฮาบะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เป็นมุรตัด หรือพวกเขาได้กลับสภาพเดิมหลังจากศาสดาได้จากไปหมายความว่าอะไร? คำกล่าวอ้างเช่นนี้ยอมรับได้หรือไม่?
    8971 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/09/08
    เหตุการณ์การบิดเบือน, โดยหลักการถือว่าเป็น บิดอะฮฺหรือเอรติดอด ซึ่งในหมู่สหายของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) หลังจากที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้จากไป หนึ่ง, จากแหล่งอ้างอิงแน่นอนของอิสลาม ซึ่งจัดอยู่ในลำดับต้นๆ ของอิสลามนั้นเป็นเหตุผลที่ยืนยันว่า เหตุการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความจริงอันไม่อาจปฏิเสธได้ ซึ่งมิได้มีกล่าวไว้แค่ตำราของฝ่ายชีอะฮฺเท่านั้น รายงานประเภท มุตะวาติร จำนวนมากมายที่กล่าวว่า พวกเขาได้ละทิ้งท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีกล่าวไว้มากมายในหนังสือ ซิฮะฮฺ ทั้ง 6 เล่มของฝ่ายซุนนียฺ และตำราที่เชื่อถือได้เล่มอื่นของพวกเขา โดยมีการกล่าวอ้างสายรายงานที่แตกต่างกัน อีกนัยหนึ่ง มีคำกล่าวยืนยันที่สมควรพิจารณาเป็นอย่างยิ่งที่ว่า หลังจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้จากไป มีเหล่าสหายจำนวนไม่น้อยได้ละเลยต่อแบบอย่าง และซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) โดยหันไปสู่ศาสนาดั้งเดิมของต้นเอง และเนื่องด้วยการบิดเบือนดังกล่าวของพวกเขานั้นเอง ได้กลายเป็นสาเหตุสำคัญ ทำให้พวกเขาถูกกีดกันมิให้ดื่มน้ำจากสระน้ำเกาษัร และอีกถูกขับไล่ออกจากสระน้ำดังกล่าวอีกด้วย บรรดามะลาอิกะฮฺแห่งการลงโทษจะลากพวกเขาไปยังขุมนรกของการลงโทษ สอง, เอรติดาด ได้ถูกกล่าวถึงในรายงานลักษณะอย่างนี้ ...
  • สามารถอธิบาย ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิทธิมนุษยชน ระหว่างแพทย์กับคนไข้ตามบทบัญญัติของอิสลามได้หรือไม่?
    6083 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/07
    ด้านหนึ่ง บทบัญญัติของพระเจ้านั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ดังนี้, ก) บทบัญญัติอิมฎออีย์, ข) บทบัญญัติตะอฺซีซียฺ อะฮฺกามอิมฎออียฺ หมายถึง บทบัญญัติซึ่งมีมาก่อนอิสลาม, แต่อิสลามได้ปรับปรุงและรับรองกฎนั้น เช่น การค้าขายประเภทต่างๆ มากมาย, อะฮฺกามตะอฺซีซียฺ หมายถึง บทบัญญัติที่ไม่เคยมีมาก่อน ทว่าอิสลามได้กำหนดกฎเกณฑ์เหล่านั้นขึ้นมา เช่น บทบัญญัติเกี่ยวกับการอิบาดะฮฺทั้งหลาย สิทธิซึ่งกันและกัน ระหว่างมนุษย์ด้วยกันมิได้มีเฉพาะแต่ในอิสลามเท่านั้น, ทว่าระหว่างศาสนาต่างๆ ของพระเจ้า, หรือแม้แต่ศาสนาที่มิได้นับถือพระเจ้าก็กล่าวถึงสิ่งนี้ไว้เช่นเดียวกัน ด้วยทัศนะที่ว่า มนุษย์มีภาคประชาสังคม และการตามโดยธรรมชาติ, ดังนั้น เพื่อรักษาระเบียบของสังคม จำเป็นต้องวางกฎเกณฑ์ และกำหนดสิทธิขึ้นสำหรับประชาคมทั้งหลาย ซึ่งพลเมืองทั้งหมดต่างมีหน้าที่รับผิดชอบและต้องรักษากฎระเบียบเหล่านั้น ซึ่งสิ่งนี้เรียกอีกอย่างว่า สิทธิของบุคคล เกี่ยวกับสิทธิซึ่งกันและกัน ...
  • ระหว่าง ลาอิลาฮะอิลลาฮุวะ และ ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ มีข้อแตกต่างกันอย่างไร?
    9362 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/04
    บางฮะดีษระบุว่า ยาฮุวะ หรือ ยามันลาฮุวะ อิลลาฮุวะ คืออภิมหานามของพระองค์ (อิสมุ้ลอะอ์ซ็อม) แน่นอนว่าข้อแตกต่างระหว่างลาอิลาฮะอิลลาฮุวะ และ ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ นั้น สืบเนื่องมาจากความแตกต่างระหว่าง “ฮุวะ” และ “อัลลอฮ์”นั่นเอง “ฮุวะ”ในที่นี้สื่อถึงคุณลักษณะหนึ่งของพระองค์ซึ่งอยู่พ้นนิยามและญาณวิสัย และจะเร้นลับตลอดไป ส่วนคำว่า “อัลลอฮ์” สื่อถึงการที่พระองค์เป็นศูนย์รวมของคุณลักษณะอันไพจิตรและพ้นจากคุณลักษณะอันไม่พึงประสงค์ทั้งมวล ฉะนั้น เมื่อกล่าวว่า ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ แปลว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ผู้ทรงดำรงไว้ซึ่งคุณสมบัติต่างๆอย่างครบถ้วน โดยมิได้จะสื่อว่าอาตมันของพระองค์จำแนกจากคุณสมบัติทั้งมวล และเมื่อกล่าวว่า พระองค์ (ฮุวะ) คืออัลลอฮ์ (ในซูเราะฮ์กุ้ลฮุวัลลอฮ์) นั่นหมายถึงว่าคุณลักษณะของพระองค์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับอาตมันของพระองค์ ...
  • ชีอะฮ์มีทัศนคติอย่างไรเกี่ยวกับประเด็นการแต่งตั้งตัวแทนหลังจากท่านนบี(ซ.ล.)?
    6025 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/22
    ความเชื่อของชีอะฮ์คือ1. ตำแหน่งคิลาฟะฮ์เป็นตำแหน่งที่พระองค์อัลลอฮ์เป็นผู้แต่งตั้งเองและท่านศาสดา(ซ.ล.)ก็ได้รับคำสั่งจากพระองค์ให้ประกาศในหมู่มุสลิมหลายต่อหลายครั้งว่าท่านอลี(อ
  • ถ้าหากนะมาซคือเสาหลักของศาสนา แล้วทำไมจึงจัดอยู่ในกลุ่มที่เป็นหลักการของศาสนา?
    8547 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/08/22
    อุซูลลุดดีน หรือหลักศรัทธาเป็นภารกิจทางความเชื่อ ซึ่งมนุษย์ได้ยอมรับสิ่งนั้นด้วยสติปัญญาของตน และได้กลายเป็นมุสลิม หลังจากยอมรับการศรัทธาแล้ว อิสลามได้กำหนดหน้าที่อันเป็นวาญิบแก่เขา ทั้งที่เป็นหน้าที่ส่วนรวมและปัจเจกบุคคล ซึ่งหนึ่งในหน้าที่สำคัญที่สุดของมุสลิมคือ นะมาซ ด้วยเหตุที่ว่า นะมาซ นั้นมีความกว้างและเป็นบทบัญญัติที่สำคัญอย่างยิ่ง จึงได้เรียกนะมาซว่าเป็น เสาหลักของศาสนา แต่ไม่นับว่าเป็นว่ารากฐานทางความเชื่อ ซึ่งไม่สามารถนับว่าเป็นหลักศรัทธาหรืออุซูลลุดดีนได้ ...
  • จริงหรือไม่ที่บางคนเชื่อว่าพระเจ้าเป็นเพียงแค่พลังงานเท่านั้น?
    6275 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/08/23
    อัลลอฮ์ทรงดำรงอยู่โดยไม่พึ่งพาสิ่งใดทรงปรีชาญาณทรงมีเจตน์จำนงและปราศจากข้อจำกัดและความบกพร่องทุกประการแต่พลังงานยังมีข้อบกพร่องและข้อจำกัดมากมายอีกทั้งยังปราศจากความรู้และการตัดสินใจเมื่อเทียบคุณสมบัติของพลังงานกับคุณลักษณะของพระเจ้าก็จะทราบว่าพระเจ้ามิไช่พลังงานอย่างแน่นอนเนื่องจาก: พลังงานคือสิ่งที่ขับเคลื่อนให้เกิดกริยาและปฏิกริยาต่างๆโดยพลังงานมีลักษณะที่หลากหลายไม่ตายตัวและสามารถผันแปรได้หลายรูปแบบพลังงานมีคุณสมบัติเด่นดังนี้1. พลังงานมีสถานะตามวัตถุที่บรรจุ2. พลังงานมีแหล่งกำเนิด3. พลังงานมีข้อจำกัดบางประการ4. พลังงานเปลี่ยนรูปได้แต่อัลลอฮ์มิได้ถูกกำกับไว้โดยวัตถุใดๆ

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59442 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56904 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41707 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38462 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38454 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33485 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27564 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27280 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27179 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25255 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...