การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
17652
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/07/10
 
รหัสในเว็บไซต์ fa974 รหัสสำเนา 15031
คำถามอย่างย่อ
เหตุใดอัลลอฮ์จึงกำชับให้ขอบคุณต่อเนียะอฺมัตที่ทรงประทานให้?
คำถาม
หากไม่มองว่าการขอบคุณต่อเนียะอฺมัตจะทำให้ได้รับเนียะอฺมัตเท่าทวีคูณ จะมีเหตุผลใดอีกที่อัลลอฮ์ทรงกำชับให้ต้องขอบคุณพระองค์?
คำตอบโดยสังเขป

“ชุโกร”ในทางภาษาอรับหมายถึง การมโนภาพเนียะอฺมัต(ความโปรดปรานจากพระองค์)แล้วเผยความกตัญญูรู้คุณผ่านคำพูดหรือการกระทำ[i] ส่วนที่ว่าทำไมต้องชุโกรขอบคุณพระองค์ในฐานะที่ประทานเนียะอฺมัตต่างๆนั้น ขอให้ลองพิจารณาประเด็นต่อไปนี้:
1.
ความจำเป็นที่จะต้องขอบคุณผู้ให้ปัจจัยแก่เรานั้น ถือเป็นสัญชาตญาณโดยปกติของมนุษย์ จิตใต้สำนึกของคนเรากำกับให้ต้องแสดงอาการขอบคุณผู้ที่ช่วยเหลือหรือมอบปัจจัยให้ ฉะนั้นเมื่อคนเรารับรู้ได้ว่า มีผู้เปี่ยมด้วยพลานุภาพประทานลาภแก่เราเสมอไม่ว่าวัตถุปัจจัยหรือเนียะอฺมัตอันเป็นนามธรรม เราย่อมหาทางรู้จักผู้นั้นเพื่อแสดงการขอบคุณ ด้วยเหตุนี้เองที่การขอบคุณต่อเนียะอฺมัตของอัลลอฮ์จึงมีที่มาทางสติปัญญามากกว่าจะเป็นข้อบังคับทางศาสนา
2. แม้ว่าอัลลอฮ์ไม่ทรงต้องการคำขอบคุณใดๆจากมนุษย์ แต่ด้วยทรงตระหนักดีว่าการขอบคุณจะนำมาซึ่งผลประโยชน์ในโลกนี้และโลกหน้าแก่เรา จึงได้กำชับให้เราขอบคุณต่อเนียะอฺมัตของพระองค์ อัลกุรอานระบุไว้ว่าผู้ขอบคุณจะได้รับเนียะอฺมัตเพิ่มขึ้น แต่ผู้เนรคุณจะถูกลงโทษอย่างสาสม
3. การขอบคุณถือเป็นกุญแจที่ไขสู่ความผาสุกทั้งปวง และเปรียบดั่งต้นสายปลายเหตุของบาเราะกัตจากพระองค์ ที่จะนำพาให้เราได้ใกล้ชิดความเมตตาของพระองค์ทีละก้าวด้วยความรักที่เรามี ด้วยเหตุนี้ แม้พระองค์จะไม่ต้องการคำขอบคุณจากเรา แต่ด้วยความหวังดีต่อเรา พระองค์จึงกำชับให้เราต้องขอบคุณพระองค์
4. แน่นอนว่าไม่มีใครสามารถขอบคุณเนียะอฺมัตของพระองค์ได้อย่างทั่วถึง ส่วนการขอบคุณที่ประเสริฐสุดก็คือ การสารภาพและขออภัยจากพระองค์เนื่องจากไม่สามารถขอบคุณอย่างครบถ้วน



[i] มุฟร่อด้าต รอฆิบ,หน้า 265,คำว่า ชุกร์.

คำตอบเชิงรายละเอียด

“ชุโกร”ในทางภาษาอรับหมายถึง การมโนภาพเนียะอฺมัต(ความโปรดปรานจากพระองค์)แล้วเผยความกตัญญูรู้คุณผ่านคำพูดหรือการกระทำ[1] ส่วนที่ว่าทำไมต้องชุโกรขอบคุณพระองค์ในฐานะที่ประทานเนียะอฺมัตต่างๆนั้น ขอให้ลองพิจารณาประเด็นต่อไปนี้:
1.
ความจำเป็นที่จะต้องขอบคุณผู้ให้ปัจจัยแก่เรานั้น ถือเป็นสัญชาตญาณโดยปกติของมนุษย์ จิตใต้สำนึกของคนเรากำกับให้ต้องแสดงอาการขอบคุณผู้ที่ช่วยเหลือหรือมอบปัจจัยให้  เพราะผู้มีสามัญสำนึกทุกคนจะถือว่าผู้ที่เนรคุณผู้อื่นด้อยค่ากว่าสิงสาราสัตว์ เนื่องจากสัตว์บางประเภทยังแสดงความซื่อสัตย์ต่อผู้มีบุญคุณ ด้วยเหตุผลทางปัญญาดังกล่าว เมื่อทราบว่าพระองค์ทรงประทานเนียะอฺมัตอันยิ่งใหญ่และมากมายมหาศาลแก่เราไม่จะในด้านวัตถุปัจจัยหรือเนียะอฺมัตอันเป็นนามธรรม เราจึงไม่อาจจะนิ่งดูดายโดยไม่สนใจขอบคุณและให้เกียรติพระองค์เท่าที่จะกระทำได้ นั่นหมายความว่า สามัญสำนึกดังกล่าวที่มนุษย์ทุกคนมีนั้น จะผลักดันให้ต้องทำความรู้จักผู้มีพระคุณต่อเรา เนื่องจากก่อนที่เราจะขอบคุณใครสักคน เราจะต้องรู้จักเขาเสียก่อน[2].

2. การรับรู้คุณประโยชน์ของการขอบคุณจะทำให้เราเข้าใจความจำเป็นดังกล่าว
โดยทั่วไปแล้ว หากรามีโอกาสได้ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น เราก็มักจะคาดหวังให้ผู้อื่นกล่าวขอบคุณ แต่ในกรณีของอัลลอฮ์นั้น พระองค์ทรงไม่ต้องการคำขอบคุณใดๆจากมนุษย์ เพราะแม้มนุษย์ทั้งโลกแสดงท่าทีเนรคุณพระองค์ ก็มิได้ทำให้ความเกรียงไกรของพระองค์พร่องลงแต่อย่างใด ทั้งนี้แม้พระองค์จะไม่ต้องการคำขอบคุณ แต่ก็ทรงกำชับให้มนุษย์แสดงการขอบคุณ เนื่องจากทรงทราบดีถึงผลประโยชน์ที่มนุษย์เองจะได้รับ ดังที่กุรอานกล่าวได้แจ้งข่าวดีแก่ผู้ที่กตัญญูรู้คุณพระองค์ ทว่าเมินเฉยต่อการเนรคุณ
: “ผู้ที่แสดงการขอบคุณ แท้จริงเขาเท่านั้นที่ได้รับคุณประโยชน์จากการขอบคุณ และผู้ใดที่เนรคุณ แท้จริงอัลลอฮ์ทรงไม่ต้องพึ่งพาผู้ใด[3]” ยิ่งไปกว่านั้นยังกล่าวว่าการเนรคุณจะนำมาซึ่งไฟนรกอีกด้วย “...และหากสูเจ้าเนรคุณ แท้จริงการลงทัณฑ์ของข้ายิ่งใหญ่นัก”[4]

ในความเป็นจริงแล้ว อัลลลอฮ์ทรงยิ่งใหญ่เกินกว่าที่จะกลั่นแกล้งผู้ที่เนรคุณพระองค์ ทว่าการเนรคุณจะนำความอัปยศมาสู่มนุษย์โดยอัตโนมัติ อาทิเช่น การขาดแคลนลาภพร และการเลือนหายไปของการบำเพ็ญความดี การเสียสละ และความเอื้ออาทรจากสังคมมนุษย์ ส่วนการขอบคุณผู้ประทานลาภย่อมจะนำมาซึ่งฐานะภาพอันสูงส่งอันเหมาะสมสำหรับมนุษย์ที่แท้จริง
กล่าวคือ การกำชับให้มนุษย์แสดงการขอบคุณพระองค์ก็เพื่อให้ได้รับคุณประโยชน์แก่ตนเอง และหากพิจารณาให้ดีจะเข้าใจถึงเหตุผลที่ต้องขอบคุณพระองค์ดังต่อไปนี้
:
. บุคคลหรือสังคมที่ขอบคุณต่อเนียะอฺมัตพระองค์ด้วยกาย วาจา ใจ ย่อมเป็นเครื่องชี้วัดว่าบุคคลหรือสังคมดังกล่าวควรค่าแก่การได้รับเนียะอฺมัตต่อไป และจากการที่การงานของอัลลอฮ์ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งเหตุและผล ในลักษณะที่พระองค์จะไม่ทรงประทานหรือระงับลาภของผู้ใดโดยปราศจากเหตุอันสมควร เมื่อพิจารณาในกุรอานจะพบว่า การขอบคุณต่อเนียะอฺมัตคือสาเหตุของการเพิ่มพูนเนียะอฺมัต มีฮะดีษจากท่านอิมามอลี(อ.)ว่า“การใหลมาเทมาของเนียะอฺมัตเป็นผลจากการขอบคุณพระองค์”[5]
. เมื่อความกตัญญูรู้คุณแผ่ซ่านในจิตใจมนุษย์แล้ว การขอบคุณพระเจ้าจะนำพาสู่การขอบคุณเพื่อนมนุษย์ แน่นอนว่าการขอบคุณผู้อื่นที่ได้ให้การช่วยเหลือแบ่งเบาภาระ ย่อมจะเป็นการส่งเสริมให้เขามีกำลังใจในการทำความดีต่อไป และจะช่วยพัฒนาศักยภาพของคนในสังคมทั้งในแง่วัตถุและศีลธรรม
. การขอบคุณพระเจ้าจะนำพาสู่การรู้จักพระองค์ ส่งผลให้สามารถสานสัมพันธ์กับพระองค์ได้อย่างแนบแน่น ซึ่งนอกจากจะทำให้รู้จักผู้ประทานลาภแล้ว ยังทำให้ตระหนักถึงคุณค่าของลาภพรที่ได้รับอีกด้วย การตระหนักถึงคุณค่าของเนียะอฺมัตนี้เองที่จะเสริมสร้างความรักที่มีต่อพระองค์ให้เบ่งบานยิ่งขึ้น
3. แน่นอนว่าไม่มีใครสามารถแสดงการขอบคุณพระองค์ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่า ปัจจัยทั้งหมดที่เราจะใช้ในการขอบคุณพระองค์ ไม่ว่าจะเป็นความคิด ปัญญา ลิ้น สองมือ สองเท้า ฯลฯ นั้น ล้วนแล้วแต่เป็นเนียะอฺมัตจากพระองค์ทั้งสิ้น นั่นหมายความว่าก่อนที่เราจะคนึงคิดหรือเอ่ยปากขอบคุณลาภอื่นๆของพระองค์ เราก็ต้องขอบคุณลาภแห่งการมีปัจจัยเหล่านี้เสียก่อนด้วย ด้วยเหตุนี้เองที่ฮะดีษต่างๆระบุว่า การขอบคุณพระองค์ที่ประเสริฐสุดก็คือ การขอขมาพระองค์เนื่องจากไม่สามารถขอบคุณพระองค์อย่างครบถ้วนตามรายการเนียะอฺมัตที่ทรงประทานได้  ทั้งนี้เพราะนอกจากวิธีนี้แล้ว ก็ไม่มีวิธีใดที่จะแสดงการขอบคุณที่สอดคล้องกับความยิ่งใหญ่ของพระองค์ได้เลย[6]

สรุปคือ การขอบคุณพระองค์ไม่เพียงแต่มีสาเหตุมาจากสามัญสำนึกของมนุษย์เท่านั้น แต่ยังเป็นมูลเหตุที่ทำให้ได้รับความผาสุกและความจำเริญจากพระองค์ทุกประการ ส่งผลให้มนุษย์สามารถใกล้ชิดความรักที่มีต่อพระเจ้าทีละระดับ นอกจากนี้ยังเอื้ออำนวยให้มนุษย์เกิดความยำเกรง และส่องสว่างให้พบเส้นทางแห่งการเป็นบ่าวที่ทอดยาวสู่ความผาสุกอันยั่งยืน ด้วยเหตุผลเหล่านี้เอง แม้พระองค์จะไม่ต้องการคำขอบคุณใดๆจากเรา ทว่าด้วยตระหนักถึงคุณประโยชน์ดังที่กล่าวมา พระองค์จึงกำชับให้เราแสดงการขอบคุณพระองค์.



[1] มุฟร่อด้าต รอฆิบ,หน้า 265,คำว่า ชุกร์.

[2] เตาฮีดจากปริทรรศน์ปัญญาและฮะดีษ,ญะอ์ฟัร กะรีมี,กุดเราะตุลลอฮ์ ฟุรกอนี,บทเกี่ยวกับความจำเป็นต้องรู้จักพระเจ้า.(เปลี่ยนแปลงเล็กน้อย)

[3] ซูเราะฮ์ลุกมาน, 12, «وَ مَنْ یَشْکُرْ فَاِنَّما یَشْکُرُ لِنَفْسِهِ وَ مَنْ کَفَرَ فَاِنَّ اللّهَ غَنِىُّ حَمیدٌ».

[4] ซูเราะฮ์อิบรอฮีม, 7, لَئِنْ شَکَرْتُمْ لَأَزیدَنَّکُمْ وَ لَئِنْ کَفَرْتُمْ إِنَّ عَذابی‏ لَشَدیدٌ.

[5] ฆุร่อรุ้ลฮิกัม ฉบับฟารซี,เล่ม 3,หน้า 328, ثمَرَةُ الشُّکْرِ زِیادَةُ النِّعَمِ.

[6] อัคล้ากในกุรอาน,อ.มะการิม ชีรอซี,เล่ม 3,หน้า 80,81.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เหตุใดอัลลอฮ์จึงกำชับให้ขอบคุณต่อเนียะอฺมัตที่ทรงประทานให้?
    17651 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/10
    “ชุโกร”ในทางภาษาอรับหมายถึง การมโนภาพเนียะอฺมัต(ความโปรดปรานจากพระองค์)แล้วเผยความกตัญญูรู้คุณผ่านคำพูดหรือการกระทำ[i] ส่วนที่ว่าทำไมต้องชุโกรขอบคุณพระองค์ในฐานะที่ประทานเนียะอฺมัตต่างๆนั้น ขอให้ลองพิจารณาประเด็นต่อไปนี้:1.
  • ผู้ที่มาร่วมพิธีฝังศพท่านนบี(ซ.ล.)มีใครบ้าง?
    11038 تاريخ بزرگان 2555/03/14
    ตำราประวัติศาสตร์และฮะดีษของฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์เล่าเหตุการณ์ฝังศพท่านนบี(ซ.ล.)ว่า อลี บิน อบีฏอลิบ(อ.) และฟัฎล์ บิน อับบ้าส และอุซามะฮ์ บิน เซด ร่วมกันอาบน้ำมัยยิตแก่ท่านนบี บุคคลกลุ่มแรกที่ร่วมกันนมาซมัยยิตก็คือ อับบาส บิน อับดุลมุฏ็อลลิบและชาวบนีฮาชิม หลังจากนั้นเหล่ามุฮาญิรีน กลุ่มอันศ้อร และประชาชนทั่วไปก็ได้นมาซมัยยิตทีละกลุ่มตามลำดับ สามวันหลังจากนั้น ท่านอิมามอลี ฟัฎล์ และอุซามะฮ์ได้ลงไปในหลุมและช่วยกันฝังร่างของท่านนบี(ซ.ล.) หากเป็นไปตามรายงานดังกล่าวแล้ว อบูบักรและอุมัรมิได้อยู่ในพิธีฝังศพท่านนบี(ซ.ล.) แม้จะได้ร่วมนมาซมัยยิตเสมือนมุสลิมคนอื่นๆก็ตาม ...
  • สายรายงานของฮะดีษที่ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวแก่ชาวอรับเกี่ยวกับชาวเปอร์เซียว่า“พวกท่าน(อรับ)รบกับพวกเขา(เปอร์เซีย)เพื่อให้ยอมรับการประทานกุรอาน แต่ก่อนโลกนี้จะพินาศ พวกเขาจะรบกับพวกท่านเพื่อการตีความกุรอาน”เชื่อถือได้เพียงใด?
    7427 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/09/11
    ในตำราฮะดีษมีฮะดีษชุดหนึ่งที่มีนัยยะถึงการที่ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวกับชาวอรับเกี่ยวกับชาวเปอร์เซียว่า “พวกท่าน(อรับ)รบกับพวกเขา(เปอร์เซีย)เนื่องด้วยการประทานกุรอานแต่ก่อนโลกนี้จะพินาศพวกเขาก็จะรบกับพวกท่านเนื่องด้วยการตีความกุรอาน”สายรายงานของฮะดีษบทนี้เชื่อถือได้ ...
  • ริวายะฮ์(คำรายงาน)ที่มีความขัดแย้งกัน ยกตัวอย่างเช่น ริวายะฮ์ที่กล่าวถึงการจดบาปของมนุษย์ กับริวายะฮ์ทีกล่าวว่า การจดบาปจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าครบ ๗ วัน เราสามารถจะแก้ไขริวายะฮ์ทั้งสองได้อย่างไร?
    4185 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2561/11/05
    สำหรับคำตอบของคำถามนี้ จะต้องตรวจสอบในหลายประเด็นดังต่อไปนี้ ๑.การจดบันทึกเนียต(เจตนา)ในการทำบาป กล่าวได้ว่า จากการตรวจสอบจากแหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับการจดบันทึกเนียตในการทำบาปปรากฏว่าไม่มีริวายะฮ์รายงานเรื่องนี้แต่อย่างใด และโองการอัลกุรอานก็ไม่สามารถวินิจฉัยถึงเรื่องนี้ได้ เพราะว่า โองการอัลกุรอานกล่าวถึงความรอบรู้ของพระเจ้าในเนียตของมนุษย์ พระองค์อัลลอฮ์(ซ.บ)ทรงตรัสว่า เราได้สร้างมนุษย์ขึ้นมา และเรารู้ดียิ่งในสิ่งที่จิตใจของเขากระซิบกระซาบแก่เขา และเราอยู่ใกล้ชิดกับเขามากกว่าเส้นเลือดชีวิตของเขาเสียอีก ดังนั้น การที่พระองค์ทรงมีความรู้ในเจตนาทั้งหลาย มิได้หมายถึง การจดบันทึกว่าเป็นการทำบาปหรือเป็นบทเบื้องต้นในการทำบาป ๒.การจดบันทึกความบาปโดยทันทีทันใด ซึ่งเกี่ยวกับประเด็นนี้ก็ไม่ปรากฏริวายะฮ์ที่กล่าวถึง แต่ทว่า บางโองการอัลกุรอาน กล่าวถึง การจดบันทึกโดยทันทีทันใดในบาป ดั่งเช่น โองการที่กล่าวว่า (ในวันแห่งการตัดสิน บัญชีอะมั้ลการกระทำของมนุษย์)บันทึกจะถูกวางไว้ ดังนั้นเจ้าจะเห็นผู้กระทำความผิดบาปทั้งหลายหวั่นกลัวสิ่งที่มีอยู่ในบันทึก และพวกเขาจะกล่าวว่า โอ้ความวิบัติของเรา บันทึกอะไรกันนี่ มันมิได้ละเว้นสิ่งเล็กน้อย และสิ่งใหญ่โตเลย เว้นแต่ได้บันทึกไว้ครบถ้วน และพวกเขาได้พบสิ่งที่พวกเขาได้ปฏิบัติไว้ปรากฏอยู่ต่อหน้า และพระผู้เป็นเจ้าของเจ้ามิทรงอธรรมต่อผู้ใดเลย โองการนี้แสดงให้เห็นว่า ความผิดบาปทั้งหมดจะถูกจดบันทึกอย่างแน่นอนก ๓.การจดบันทึกความบาปจนกว่าจะครบ ๗ วัน มีรายงานต่างๆมากมายที่กล่าวถึง การไม่จดบาปในทันที แต่ทว่า มีรายงานหนึ่งกล่าวว่า ให้โอกาสจนกว่าจะครบ ๗ วัน ...
  • ถ้าหากพิจารณาบทดุอาอฺต่างๆ ในอัลกุรอาน จะเห็นว่าดุอาอฺเหล่านั้นได้ให้ความสำคัญต่อตัวเองก่อน หลังจากนั้นเป็นคนอื่น เช่นโองการอัลกุรอาน ที่กล่าวว่า “อะลัยกุม อันฟุซะกุม” แต่เมื่อพิจารณาดุอาอฺของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺจะพบว่าท่านหญิงดุอาอฺให้กับคนอื่นก่อนเป็นอันดับแรก, ดังนั้น ประเด็นนี้จะมีทางออกอย่างไร?
    8878 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ในตำแหน่งของการขัดเกลาจิตวิญญาณและยกระดับจิตใจตนเองนั้น, มนุษย์ต้องคำนึงถึงตัวเองก่อนบุคคลอื่นเพราะสิ่งนี้เป็นคำสั่งของอัลกุรอานและรายงานนั่นเอง, เนื่องจากถ้าปราศจากการขัดเกลาจิตวิญญาณแล้วการชี้แนะแนวทางแก่บุคคลอื่นจะบังเกิดผลน้อยมาก, แต่ส่วนในตำแหน่งของดุอาอฺหรือการวิงวอนขอสิ่งที่ต้องการจากพระเจ้า,ถือว่าเป็นความเหมาะสมอย่างยิ่งที่มนุษย์จะวอนขอให้แก่เพื่อนบ้านหรือบุคคลอื่นก่อนตัวเอง, ...
  • สำนวน طبیب دوار بطبه ที่ท่านอิมามอลี(อ.)ใช้กล่าวยกย่องท่านนบี หมายความว่าอย่างไร?
    6605 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/13
    ท่านอิมามอลี(อ.)เปรียบเปรยการรักษาโรคร้ายทางจิตวิญญาณมนุษย์โดยท่านนบี(ซ.ล.)ว่าطبیب دوّار بطبّه (แพทย์ที่สัญจรตามรักษาผู้ป่วยทางจิตวิญญาณ) ท่านเป็นแพทย์ที่รักษาโรคแห่งอวิชชาและมารยาทอันต่ำทรามโดยสัญจรไปพร้อมกับโอสถทิพย์ของตน
  • เป้าหมายและโปรแกรมต่างๆ ของชัยฏอนคืออะไร?
    9162 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    1.ลวงล่อให้มนุษย์ทั้งหลายหลงทาง2.เชิญชวนมนุษย์ทั้งหลายไปสู่การกระทำที่บิดเบือนและการอุปโลกน์ต่างๆ3. หยุแหย่มนุษย์ในการเปลี่ยนแปลงการสร้างสรรค์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) และโปรแกรมต่างๆซึ่งอัลกุรอานได้พาดพิงถึงชัยฏอน ...
  • บุคลิกของอุบัย บิน กะอฺบ์?
    9021 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    อุบัย บิน กะอฺบ์ เป็นหนึ่งของสหายที่มีชื่อเสียงที่สุดของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และเป็นผู้มีเกียรติยิ่งทั้งในหมู่อะฮฺลิซุนนะฮฺ และชีอะฮฺ แหล่งอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺมีบันทึกรายงานฮะดีซจำนวหนึ่ของเขาไว้ด้วย นักปราชญ์ผู้อาวุโสฝ่ายฮะดีซ, ยอมรับว่าเขาเป็นสหายของท่านศาสดา และเป็นหนึ่งในผู้บันทึกวะฮฺยู เมื่อพิจารณารายงานที่มาจากเขา, สามารถเข้าใจได้ถึงความรักที่เขามีต่ออะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอิมามอะลี (อ.) ...
  • ทำอย่างไรจึงจะลดความรีบร้อน?
    7537 จริยธรรมทฤษฎี 2555/05/23
    ความรีบร้อนลนลานถือเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในทัศนะของศาสนา ซึ่งในที่นี้ก็หมายถึงการรีบกระทำสิ่งใดโดยพละการนั่นเอง การรีบร้อนแตกต่างจากการรีบเร่งทั่วไป เพราะการรีบเร่งหมายถึงการรีบกระทำการใดทันทีที่ทุกอย่างพร้อม สิ่งที่ตรงข้ามกับการรีบร้อนก็คือ “ตะอันนี” และ “ตะษับบุต”อันหมายถึงการตรึกตรองอย่างรอบคอบก่อนลงมือกระทำการใดๆ เมื่อพิจารณาถึงข้อเสียของการรีบร้อน และข้อดีของการตรึกตรองอันเป็นคุณลักษณะของกัลยาณชนเฉกเช่นบรรดาศาสดา ทำให้ได้ข้อสรุปว่าก่อนกระทำการใดควรตรึกตรองอย่างมีสติเสมอ และหากหมั่นฝึกฝนระยะเวลาหนึ่ง แม้จะเป็นเรื่องยากก็ตาม แต่สุดท้ายก็จะติดเป็นนิสัย อันจะลบเลือนนิสัยรีบร้อนที่มีอยู่เดิม และจะสร้างเสริมให้เป็นผู้ที่มีความสุขุม ...
  • รายงานฮะดีซกล่าวว่า:การสร้างความสันติระหว่างบุคคลสองคน ดีกว่านมาซและศีลอด วัตถุประสงค์คืออะไร ?
    6118 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/17
    เหมือนกับว่าการแปลฮะดีซบทนี้ มีนักแปลบางคนได้แปลไว้แล้ว ซึ่งท่านได้อ้างถึง, ความอะลุ่มอล่วยนั้นเป็นที่ยอมรับ, เนื่องจากเมื่อพิจารณาใจความภาษาอรับของฮะดีซที่ว่า "صَلَاحُ ذَاتِ الْبَيْنِ أَفْضَلُ مِنْ عَامَّةِ الصَّلَاةِ وَ الصِّيَام‏" เป็นที่ชัดเจนว่า เจตนาคำพูดของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต้องการกล่าวว่า การสร้างความสันติระหว่างคนสองคน, ดีกว่าการนมาซและการถือศีลอดจำนวนมากมาย[1] แต่วัตถุประสงค์มิได้หมายถึง นมาซหรือศีลอดเป็นเวลาหนึ่งปี หรือนมาซและศีลอดทั้งหมด เนื่องจากคำว่า “อามะตุน” ในหลายที่ได้ถูกใช้ในความหมายว่า จำนวนมาก เช่น ประโยคที่กล่าวว่า : "عَامَّةُ رِدَائِهِ مَطْرُوحٌ بِالْأَرْض‏" หมายถึงเสื้อผ้าส่วนใหญ่ของเขาลากพื้น[2] ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59467 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56926 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41728 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38484 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38467 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33504 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27576 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27307 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27194 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25270 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...