การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
19830
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/10/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1638 รหัสสำเนา 28163
คำถามอย่างย่อ
อัลกุรอาน โองการสุดท้ายคืออะไร และเป็นไปได้ไหมที่จะเพิ่มเติมโองการอัลกุรอาน?
คำถาม
กรุณาอธิบายถึงอัลกุรอาน โองการสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และโองการนี้ประทานลงมาเมื่อใด ขณะนั้นท่านศาสดามีอายุประมาณเท่าใด? เป็นไปได้ไหมที่จะเพิ่มเติมโองการอัลกุรอาน ถ้าหากท่านศาสดามีอายุยืนยาวไปกว่านั้น เช่น ประมาณ 70 ปี?
คำตอบโดยสังเขป

เกี่ยวกับอัลกุรอาน โองการสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีรายงานจำนวนมากและแตกต่างกัน แต่รายงานโดยรวมเหล่านั้นสามารถกล่าวได้ว่า อัลกุรอาน ซูเราะฮฺสุดท้ายสมบูรณ์ที่ได้ประทานลงมาแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือ ซูเราะฮฺ “นัซรฺ” ซึ่งได้ถูกประทานลงมาก่อนที่จะพิชิตมักกะฮฺ หรือในปีที่พิชิตมักกะฮฺนั่นเอง ส่วนซูเราะฮฺสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) แต่ถ้านับโองการถือเป็นโองการเริ่มต้น ของบทบะรออะฮฺ ซึ่งไประทานลงมาในปีที่ 9 ของการอพยพ หลังจากการพิชิตมักกะฮฺ หลังจากกลับจากสงครามตะบูก แต่ในแง่ของโองการ เมื่อถามถึงโองการสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้แก่โองการอิกมาลุดดีน (มาอิดะฮฺ, 3) เนื่องจากโองการดังกล่าวได้ประกาศถึงความสมบูรณ์ของศาสนา และเป็นการเตือนสำทับให้เห็นว่า การประทานวะฮฺยูได้สิ้นสุดลงแล้ว ซึ่งโองการนี้ได้ถูกประทานลงมาเมื่อวันที่ 18 ซุลฮิจญฺ ปี ฮ.ศ. ที่ 10 ขณะเดินทางกลับจากการประกอบพิธีฮัจญฺ อัลวะดา บางที่สามารถกล่าวได้ว่าโองการ อิกมาลุดดีน เป็นโองการสุดท้ายเกี่ยวกับ โองการอายะตุลอะฮฺกาม ส่วนโองการที่ 281 บทบะเกาะเราะฮฺ เป็นโองการสุดท้ายที่ถูกประทานลงมาแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ)  ซึ่งโองการดังกล่าวได้ถูกประทานลงมาก่อน 21 หรื 9 หรือ 7 วัน ก่อนที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะวะฟาด

ส่วนคำตอบสำหรับคำถามส่วนที่สองที่ถามมา จำเป็นต้องกล่าวว่า ด้วยเหตุผลแน่นอนเกี่ยวกับการสิ้นสุดนะบูวัต ประกอบกับท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) เป็นศาสดาสุดท้ายที่ถูกประทานมา ดังนั้น ความเป็นไปได้ในกาเพิ่มเติมโองการอัลกุรอาน ในกรณีที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีอายุยืนยาว จึงเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากสิ่งจำเป็นที่จะเกิดตามมาคือ อัลลอฮฺ ทรงปล่อยให้สาส์นที่มีความสมบูรณ์ และเป็นสาส์นสุดท้ายเกิดความบกพร่อง และไม่สิ้นสุดนอกจากนั้นความบกพร่องยังเป็นที่ชัดเจน

คำตอบเชิงรายละเอียด

เกี่ยวกับอัลกุรอาน โองการสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีรายงานจำนวนมากและแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ บรรดานักตัฟซีรจึงมีทัศนะแตกต่างกัน

1.รายงานจำนวนมากทั้งจากซุนนียฺและชีอะฮฺกล่าวว่า สิ่งสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือ ซูเราะฮฺนัซรฺ[1]

2.อีกรายงานหนึ่งกล่าวว่า โองการสุดท้ายที่ประทานลงมา คือโองการแรกของซูเราะฮฺบะรออะฮฺ ซึ่งประทานลงมาในปี ฮ.ศ.ที่ 9 หลังการพิชิตมักกะฮฺแล้ว ขณะกำลังเดินทางกลับจากสงครามตะบูก โองการดังกล่าวจึงได้ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ)[2]

3. รายงานจำนวนมากกล่าวว่า โองการสุดท้ายที่ประทานลงมาคือ โองการที่กล่าวว่า

« وَ اتَّقُوا يَوْماً تُرْجَعُونَ فيهِ إِلَى اللَّهِ ثُمَّ تُوَفَّى كُلُّ نَفْسٍ ما كَسَبَتْ وَ هُمْ لا يُظْلَمُونَ »[3]

ซึ่งหลังจากประทานแล้ว ญิบรออีลได้สั่งให้บันทึกไว้ตอนเริ่มโองการที่ 280 บทบะเกาะเราะฮฺ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวได้เกิดขึ้นก่อนการวะฟาดของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ประมาณ 7 หรือ 21 วัน[4]

4.อิบนุ วาฎิฮฺ ยะอฺกูบียฺ เชื่อตามรายงานที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ว่า โองการสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือโองการอิกมาล "الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دينَكُمْ وَ أَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتي‏ وَ رَضيتُ لَكُمُ الْإِسْلامَ ديناً" ซึ่งได้ประทานลงมาในช่วงเหตุการณ์ เฆาะดีรคุม วันแต่งตั้งท่านอิมามอะลี บุตรของอบีฏอลิบ (อ.) ให้เป็นตัวแทน[5]

มัรฮูม อายะตุลลอฮฺ มะอฺริฟัต กล่าวว่า ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ซูเราะฮฺ นัซร์ ได้ประทานลงมาก่อนโองการแรกของซูเราะฮฺเตาบะฮฺ เนื่องจากซูเราะฮฺนัซรฺ แจ้งให้ทราบถึงการพิชิตมักกะฮฺ (ดังนั้น จึงประทานลงมาก่อนพิชิตมักกะฮฺ) หรือไม่ก็ประทานในปีที่พิชิตมักกะฮฺ ซึ่งประทานลงที่มักกะฮฺ[6] ขณะที่บทบะรออะฮฺ ได้ประทานลงมาหลังจากพิชิตมักกะฮฺได้หนึ่งปี ดังนั้น เมื่อนำเอารายงานเหล่านี้มารวมกัน สามารถกล่าวสรุปได้ดังนี้ว่า

ก.ทัศนะที่กล่าวถึง ซูเราะฮฺ สุดท้าย ซูเราะฮฺสุดท้ายที่สมบูรณ์ที่ได้ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือ ซูเราะฮฺ นัซรฺ ซึ่งเป็นซูเราะฮฺสุดท้าย ส่วนโองการสุดท้ายที่ประทานลงมาคือ โองการแรกของซูเราะฮฺบะรออะฮฺ

ข) ทัศนะที่กล่าวถึง โองการ เกี่ยวกับโองการสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีความเห็นว่าทัศนะของยะอฺกูบียฺ เป็นทัศนะที่ถูกต้องและดีที่สุด ที่กล่าวว่า โองการอิกมาลุดดีน คือโองการสุดท้ายที่ประทานลงมา เนื่องจากโองการนี้ได้ประกาศให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของศาสนา และเป็นการสิ้นสุดการประทานวะฮฺยู

แต่ทัศนะเกี่ยวกับโองการที่ 281 บทบะเกาะเราะฮฺ มีอีก 2 ทัศนะที่กล่าวถึง

1.โองการนี้ได้ประทานลงมาแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ในช่วงของ ฮัจญะตุลวะดา ในมินาตรงกับอีดกุรบาน[7] ถ้าหากรายงานดังกล่าวถูกต้อง อัลกุรอาน โองการสุดท้ายที่ประทานลงมาคือ โองการอิกมาลุดดีน เนื่องจากโองการนี้ได้ประทานลงมา ตรงกับวันที่ 18 เดือนซุลฮิจญฺ หลังจากการบำเพ็ญฮัจญฺตุลวะดา

2.ถ้าหากรายงานดังกล่าวถูกต้อง โองการสุดท้ายที่ประทานลงมาตรงเป็นโองการที่กำลังกล่าวถึง ในกรณีนี้สามารถกล่าวได้ว่า โองการอิกมาลุดดีนเป็นโองการสุดท้ายเกี่ยวกับอะฮฺกาม ส่วนโองการที่ 281 บทบะเกาะเราะฮฺ เป็นโองการสุดท้ายที่ประทานแก่ศาสดา (ซ็อลฯ)[8]

แต่สำหรับคำตอบในส่วนที่สองของคำถามที่ท่านได้ถามมาว่า ถ้าหากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีอายุยืนยาว เป็นไปได้ไหมที่จะมีโองการเพิ่มเติมถูกประทานลงมา จำเป็นต้องกล่าวว่า ด้วยเหตุผลอันชัดแจ้งและแน่นอนที่ว่าศาสดา (ซ็อลฯ) คือ ศาสดาคนสุดท้าย และอัลกุรอานคือสาส์นฉบับสุดท้ายของอัลลอฮฺเช่นกัน บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ต้องกล่าวว่าอัลลอฮฺ ประทานสาส์นฉบับสุดท้ายที่สมบูรณ์แก่ประชาชาติ โดยผ่านท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ดังนั้น สมมุติว่าท่านศาสดามีอายุสั้นมากกว่านี้ สาส์นทั้งหมดก็ต้องถูกประทานลงมาจนหมดสิ้น ตามอายุขัยของท่านศาสดา และถ้าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีอายุยืนยาวมากกว่านี้ สาส์นก็ต้องถูกประทานลงมาจนหมด ตามอายุขัยของท่านศาสดา

ด้วยเหตุนี้ ด้วยเหตุผลอันชัดเจนที่บ่งบอกถึงการเป็นศาสดาสุดท้าย จึงเป็นไปไม่ได้ และไม่มีความหมายแต่อย่างใดที่จะมีโองการถูกประทานลงมาเพิ่มมากไปกว่านี้ เนื่องจากสิ่งจำเป็นที่จะตามมาคือ อัลลอฮฺทรงปล่อยให้สาส์นที่สมบูรณ์ ฉบับสุดท้ายของพระองค์เกิดความบกพร่อง และไม่สมบูรณ์ อีกทั้งข้อบกพร่องนี้จะเผยออกมาด้วยความชัดเจน

ในที่นี้จะนำเสนอทัศนะอุสตาด ฮาดะวี เตหะรานี ดังนี้

กุรอานกับประวัติศาสตร์

อัลกุรอานขึ้นอยู่กับความจริงและวิทยปัญญาร่วมสมัยของตนเท่านั้นหรือ ถ้าสมมติว่าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้ถูกแต่งตั้งลงมาในสถานที่อื่น อัลกุรอาน จะถูกประทานลงมาด้วยโองการและเป็นภาษาเหล่านี้หรือ และในที่สุดแล้วอัลกุรอานมีเพียงวิสัยทัศน์ด้านประวัติศาสตร์กระนั้นหรือ

บางคนได้ตอบคำถามนี้ โดยมุมมองเพียงด้านเดียว โดยกล่าวว่า อัลกุรอานคือวะฮฺยูของพระเจ้า อยู่นอกกาลเวลาและสถานที่ อัลกุรอานไม่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ และภารกิจด้านประวัติศาสตร์ ตามความคิดเห็นของพวกเขา ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ถ้าได้ถูกแต่งตั้งขึ้นทุกที่หรือกาลเวลาใดก็ตาม อัลกุรอานก็จะถูกประทารลงมาด้วยโองการเหล่านี้ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในแง่ภาษา หรือสาระเด็ดขาด

ในทางตรงกันข้ามมีบางกลุ่มได้ตอบคำถามนี้ในอีกลักษณะหนึ่ง โดยกล่าวว่า เนื้อหาสาระของอัลกุรอาน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขอันเฉพาะเจาะจง ที่อัลกุรอานได้ประทานลงมา ถ้าหากเวลาและสถานที่ได้เปลี่ยนไป มิใช่เพียงภาษาเท่านั้นที่จะเปลี่ยนไป ทว่าเนื้อหาสาระของอัลกุรอานก็จะต่างไปด้วย พวกเขาเชื่อว่าถ้าหากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีอายุยืนยาวนานมากกว่านี้ หรือท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้รับการแต่งตั้งเร็วกว่านี้ ช่วงเวลาของการประกาศสาส์นของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ยาวกว่านี้ โองการย่อมมีมากกว่านี้ และบางที่ขนาดของอัลกุรอาน อาจใหญ่และมากกว่านี้หลายเท่า

ดังนั้น เพื่อตรวจสอบปัญหาดังกล่าวและคำตอบ ควรพิจารณาประเด็นเหล่านี้

1.ดังที่กล่าวผ่านไปแล้ว สิ่งที่เปลี่ยนแปลงในชีวิตมนุษย์ เกี่ยวข้องกับสภาพชีวิตของเขา แต่ความเป็นมนุษย์ทีแท้จริง หรือธาตุแท้ของความเป็นมนุษย์จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ถึงแม้ว่าสภาพจะเปลี่ยนไปก็ตาม ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว ความต่างทางสถานภาพและประวัติศาสตร์ มิอาจเปลี่ยนแปลงความเป็นมนุษย์ที่แท้จริงได้

2.ศาสนามีวิสัยเกี่ยวกับตัวตนและความเป็นมนุษย์ที่แท้จริง ซึ่งถือเป็นสิ่งตายตัวและไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้

อย่างไรก็ตาม ศาสนาต่างๆ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ ได้เพิ่มพูนศักยภาพแก่บุคคล เพื่อรองรับความจริง และขับเคลื่อนพวกเขาไปสู่ความสมบูรณ์ ซึ่งการพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์ในศาสนาของศาสดาสุดท้าย จะสิ้นสุดด้วยตัวเอง โดยปรากฏเป็นศาสนาที่สมบูรณ์ที่สุด ศาสนาซึ่งครอบคลุมทุกสิ่งที่วะฮฺยูได้อธิบาย โดยปราศจากการเปลี่ยนแปลง ด้วยเหตุนี้ จึงไม่เหลือโอกาสพอที่จะให้ศาสนาอื่นเกิดขึ้นอีก

3.ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ผู้นำศาสนามาเผยแพร่แก่ประชาชาติ จำเป็นต้องเข้าใจภาษาประชาชน นำความจริง และวิชาการมาสอนสั่ง เพื่อพวกเขาจะได้เข้าใจในสาส์นเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้ ถ้าหากท่านศาสดาถูกแต่งตั้งขึ้นมา ท่ามกลางประชาชนที่พูดภาษาอิบรี ท่านก็ต้องพูดกับพวกเขาด้วยภาษาอิบรี อีกด้านหนึ่งท่านมีหน้าที่อรรถาธิบายสาส์นเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ เพื่อให้พวกเขาได้เข้าใจ ดังนั้น แก่นแท้ของกาลเวลาซึ่งท่านศาสดาได้อยู่ในช่วงนั้น ย่อมมีอิทธิพลกับเนื้อหาสาระของสาส์นของท่าน ด้วยเหตุนี้ องค์ประกอบของกาลเวลา ซึ่งอยู่เคียงข้างกันองค์ประกอบที่แน่นอนได้ปรากฏในศาสนา

ดังนั้น ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว ถ้าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้ถูกแต่งตั้งขึ้นในแถบที่พูดภาษาอังกฤษ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าอัลกุรอานต้องถูกประทานลงมาเป็นภาษาอังกฤษแน่นอน หรือถ้าท่านถูกแต่งตั้งขึ้นในแผ่นดินที่ผู้คนคุ้นเคยกับนกแพนกวินแทนอูฐ อัลกุรอานก็ต้องชี้ให้เห็นถึงปาฏิหาริย์การสร้างนกเพนกวิน แทนอูฐ

แต่สิ่งเหล่านี้มิได้เป็นสาเหตุทำให้เนื้อหาสาระอันมีค่ายิ่งของอัลกุรอาน เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจาก หนึ่ง ถ้าความแตกต่างเหล่านี้ถูกพบจริง ก็จะเกี่ยวข้องเฉพาะในแง่สถานภาพที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตมนุษย์ แต่จะไม่เกี่ยวกับองค์ประกอบตายตัว เช่น ความเป็นมนุษย์เด็ดขาด อีกนัยหนึ่ง สาส์นที่เป็นอมตะนิรันดร์แห่งศาสนาของศาสดา ไม่ว่าจะอยู่ในยุคใดสมัยใดก็ตาม เหมือนกันทั้งสิ้น แม้ว่าจะปรากฏในกาลเวลาและสถานที่อื่นก็ตาม

สอง การเลือกเวลาและสถานที่ของสาส์นสำหรับศาสดาคนหนึ่ง จะเป็นไปตามวิทยปัญญาและความรู้ของพระเจ้า มิใช่เหตุบังเอิญ ดังนั้น การที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้ถูกแต่งตั้งขึ้นในแคว้นอาหรับ ในช่วงเวลาเหมาะสม แม้จะมีความยากลำบากมากมายเพียงใด ก็มิได้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยปราศจากเหตุผล และวิทยปัญญา บรรยากาศเหล่านี้เป็นตัวกำหนดว่า อัลกุรอานต้องเป็นภาษาอาหรับ แสดงให้เห็นว่าวิทยปัญญาของพระเจ้า เห็นว่าภาษานี้มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับการนำเสนอความเข้าใจ ในศาสนาสุดท้าย อีกด้านหนึ่งการที่อิสลามได้ปรากฏท่ามกลาง วัฒนธรรมของอาหรับที่โง่เขลา อธิบายความจริง ให้เห็นว่าสำหรับการอธิบายความเข้าใจอันอมตะของอิสลาม เงื่อนไขที่ดีที่สุดมีอยู่ในบรรยากาศดังกล่าว ดังนั้น ถ้าอัลกุรอานยกตัวอย่างอูฐ นั่นเป็นเพราะด้วยเหตุผลที่ว่า ผู้ฟังรู้จักและคุ้นเคยกับอูฐ แต่สำหรับการเลือกผู้ฟังกับประเภทของการรู้จัก เพื่ออธิบายแก่นแท้ของอัลกุรอาน แสดงให้เห็นว่าตัวอย่างที่ดีที่สุดสำหรับเรื่องนั้นคือ อูฐ นั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ สำหรับวิทยปัญญาของพระเจ้า ด้วยจำนวนโองการที่มีอยู่ ด้วยภาษาอาหรับ และด้วยตัวอย่างต่างๆ ถือว่านี่เป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่จะนำสารประจำศาสนาสุดท้าย สื่อให้ถึงมือประชาชน ฉะนั้น สามารถกล่าวได้ว่า ถ้าหากช่วงเวลาประกาศศาสนาของศาสดา (ซ็อลฯ) ยาวนานไปกว่านี้ จำนวนโองการและสาระเนื้อหาของกุรอานก็จะไม่เปลี่ยนแปลง

ข้อมูลและเหตุผลเกี่ยวกับ การเป็นศาสดาสุดท้ายของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ศึกษาได้จาก คำตอบและคำถามที่ 386 (ไซต์ 399) ภายใต้หัวข้อ “ความเร้นลับของการสิ้นสุดศาสดาอิสลาม)

 


[1] เฏารบัรซียฺ, มัจญฺมะอุลบะยาน, เล่ม 10, หน้า 554, บะฮฺรอนนียฺ, ตัฟซีรโบรฮาน, เล่ม 1, หน้า 29, ซุยูฏียฺ, อัลอิตกอน หน้า 27

[2] เฟฎกาชานียฺ, ตัฟซีรซอฟียฺ, เล่ม 1, หน้า 680

[3] บะเกาะเราะฮฺ 281

[4] ตัฟซีร ชุบบัร หน้า 83

[5] มาอิดะฮฺ 3

[6] อัซบาบุลนุซูล บะฮามิช ญะลาลัยนฺ เล่ม 2, หน้า 145.

[7] ซัรกะชียฺ, โบรฮาน, เล่ม 1, หน้า 187

[8] อายะตุลลอฮฺ ฮาดี มะอฺริฟัต, ตัลคีซ อัตตัมฮีด,เล่ม 1, หน้า 80-81

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ทัศนะของอัลกุรอาน เกี่ยวกับความประพฤติสงบสันติของชาวมุสลิม กับศาสนิกอื่นเป็นอย่างไร?
    14470 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/09/29
    »การอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสันติของศาสนาต่างๆ« คือแก่นแห่งแนวคิดของอิสลาม อัลกุรอานมากมายหลายโองการ ได้เน้นย้ำเกี่ยวกับประเด็นนี้เอาไว้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งกล่าวโดยตรงสมบูรณ์ หรือกล่าวเชิงเปรียบเปรย ทัศนะของอัลกุรอาน ถือว่าการทะเลาะวิวาท การสงคราม และความขัดแย้งกัน เนื่องจากแตกต่างทางความเชื่อ ซึ่งบางศาสนาได้กระปฏิบัติเช่นนั้น เช่น สงครามไม้กางเกงของชาวคริสต์ เป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ อิสลามห้ามการเป็นศัตรู และมีอคติกับผู้ปฏิบัติตามศาสนาอื่น และถือว่าวิธีการดูถูกเหยียดหยามต่างๆ ที่มีต่อศาสนาอื่น มิใช่วิธีการของศาสนา อัลกุรอาน ได้แนะนำและสนับสนุนการอยู่ร่วมกันอย่างสันติวิธี ด้วยแนวทางต่างๆ มากมาย แต่ ณ ที่นี้จะขอกล่าวถึงประเด็นสำคัญที่สุด อาทิเช่น : 1.ความเสรีทางความเชื่อและความคิด 2.ใส่ใจต่อหลักศรัทธาร่วม 3.ปฏิเสธเรื่องความนิยมในเชื้อชาติ 4.แลกเปลี่ยนความคิดด้วยสันติวิธี
  • ความต่างกิจกรรมของวิญญาณขณะนอนหลับ และสลบคืออะไร?
    16051 ปรัชญาอิสลาม 2555/09/29
    รูปแบบการปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับจิตวิญญาณขณะตื่นนอน กับการปฏิสัมพันธ์ขณะนอนหลับนั้นมีความแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ ตามคำสอนของอิสลามจึงได้เรียกการนอนหลับว่า เป็นพี่น้องของความตาย วิทยาศาสตร์แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลการปฏิสัมพันธ์ระหว่างจิตวิญญาณกับร่างกายขณะนอนหลับ แต่สามารถค้นพบการเปลี่ยนแปลงและปฏิกิริยาบางอย่างทางร่างกายขณะนอนหลับได้ บนพื้นฐานของการค้นคว้านั้นและการทำสอบพบว่ามนุษย์มีการนอนหลับในสองระดับ ด้วยนามว่า REM และ Non REM ซึ่งทั้งสองมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยปกติแล้วการความฝันที่มักเกิดในระดับของ Non REM เกิดจากการหลับลึกซึ่งจะไม่อยู่ในความทรงจำ แต่เฉพาะการนอนหลับในระ REM เท่านั้นที่จะคงอยู่ในความทรงจำ ส่วนการสลบหมดสติเกิดจากการเบี่ยงเบนของวิญญาณ และเป็นการหลับที่ลุ่มลึกมาก ทำให้เขาไม่มีความทรงจำอันใดหลงเหลืออยู่ ...
  • ท่านสุลัยมาน (อ.) หลังจากได้สูญเสียบุตรชายไป จึงได้วอนขออำนาจการปกครอง แต่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กล่าว่า โอ้ อะลีหลังจากเจ้าแล้วโลกจะพบกับความหายนะ?
    10015 การตีความ (ตัฟซีร) 2556/08/19
    เหตุการณ์แห่งกัรบะลาอฺ เราได้เห็นท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คือแบบอย่างของความอดทน และการยืนหยัด ขณะที่ท่านมีความประเสริฐและฐานันดรที่สูงส่ง เมื่อเทียบกับบรรดาศาสดาทั้งหลาย (อ.) หรือแม้แต่ศาสดาที่เป็นเจ้าบทบัญญัติก็ตาม แต่ท่านได้กล่าวขณะท่านอิมามอะลี (อ.) ชะฮาดัตว่า “โอ้ อะลีเอ๋ย หลังจากเจ้าแล้วโลกจะพบกับหายนะ” ถ้าพิจารณาตามอัลกุรอาน โองการที่กล่าวถึงสอนให้รู้ว่า ทั้งคำพูดและความประพฤติของท่านศาสดาสุลัยมาน (อ.) เป็นความประเสริฐหนึ่ง ดังนั้น เรามีคำอธิบายอย่างไรกับคำกล่าวอย่างสิ้นหวังของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กรุณาหักล้างคำพูดดังกล่าวด้วยเหตุผลเชิงสติปัญญา แม้ว่าคำพูดของท่านศาสดาสุลัยมาน (อ.) จะชี้ให้เห็นถึง ฐานะภาพความยิ่งใหญ่ของท่านก็ตาม และความโปรดปรานอันอเนกอนันต์จากอัลลอฮฺ ซึ่งเมือเทียบกับสามัญชนทั่วไปแล้ว ดีกว่ามากยิ่งนัก แต่เมื่อเทียบกับฐานะภาพเฉพาะของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ไม่อาจเทียบเทียมกันได้ เนื่องจากโองการเหล่านี้ หนึ่ง,แสดงให้เห็นว่าท่านศาสดาสุลัยมาน ในชั่วขณะหนึ่งเกิดความลังเล แต่มิได้ละทิ้งสิ่งที่ดีกว่า และการที่ท่านได้สูญเสียบุตรชายไปนั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในชะตากรรม สอง, บุตรชายที่ท่านได้สูญเสียไปนั้นเป็นเด็กที่ไม่สมบูรณ์ และคลอดเร็วเกินกว่ากำหนด ดังนั้น โดยปรกติการสูญเสียบุตรลักษณะนี้ จะไม่เป็นสาเหตุทำให้ผู้เป็นบิดามารดาต้องเสียใจหรือระทมทุกข์อย่างหนัก แต่ท่านอิมามฮุซัยนฺ ...
  • การพูดคุยกับผู้หญิงที่ไม่เคยเห็น จะเป็นอะไรหรือไม่?
    8441 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    ตามหลักการคำสอนของอิสลามศาสนาบริสุทธิ์, การติดต่อสัมพันธ์ในทุกรูปแบบระหว่างชายหนุ่มและหญิงสาว,ถ้าการติดต่อสัมพันธ์กันนั้นเกรงว่าจะนำไปสู่ข้อครหาหรือเกรงว่าจะนำไปสู่บาปแล้วละก็ถือว่ไม่อนุญาตและมีปัญหาด้านกฏเกณฑ์แน่นอน
  • เหตุใดซิยารัตอาชูรอจึงมีการประณามบนีอุมัยยะฮ์แบบเหมารวม “لَعَنَ اللَّهُ بَنى اُمَیَّةقاطِبَةً” คนดีๆในหมู่บนีอุมัยยะฮ์ผิดอะไรหรือจึงต้องถูกประณามไปด้วย?
    6574 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/06/28
    อิสลามสอนว่าไม่ว่าจะในโลกนี้หรือโลกหน้าอัลลอฮ์ไม่มีทางลงโทษบุคคลใดหรือกลุ่มใดเนื่องจากบาปที่ผู้อื่นก่อนอกเสียจากว่าเขาจะมีส่วนร่วมหรือพึงพอใจหรือไม่ห้ามปราม กุรอานและฮะดีษสอนว่าสิ่งที่จะเชื่อมโยงบุคคลให้สังกัดในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งคือความคล้ายคลึงกันในแง่ของแนวคิดและวิธีปฏิบัติดังที่กุรอานไม่ถือว่าบุตรชายผู้ดื้อรั้นของนบีนู้ฮ์เป็นสมาชิกครอบครัวท่านทั้งนี้ก็เนื่องจากมีแนวคิดและวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงฉะนั้นบนีอุมัยยะฮ์ที่ถูกประณามในที่นี้หมายถึงผู้ที่มีแนวคิดและวิธีปฏิบัติสอดคล้องกับบรรพบุรุษที่เคยมีบทบาทในการสังหารโหดท่านอิมามฮุเซน(อ.) หรือเคยยุยงต่อต้านสัจธรรมแห่งอิมามัตรวมถึงผู้ที่ละเว้นการตักเตือนเท่านั้นทว่าเชื้อสายบนีอุมัยยะฮ์ที่ไม่มีประวัติด่างพร้อยใดๆย่อมไม่ถูกประณาม ...
  • มีหลักฐานอนุญาตให้มะตั่มให้แก่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) หรือทำร้ายตัวเองของมุสลิมในช่วงเดือนมุฮัรรอม หรือเดือนอื่นหรือไม่?
    7688 ประวัติหลักกฎหมาย 2554/12/21
    การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) นับได้ว่าเป็นหนึ่งในอิบาดะฮฺที่ดีที่สุดและการกระทำทุกสิ่งที่สังคมยอมรับว่านั่นเป็นส่วนหนึ่งของการจัดพิธีกรรมถือว่าอนุญาต, เว้นเสียแต่ว่าสิ่งนั้นได้สร้างเสื่อมเสียหรือมีอันตรายจริง, หรือเป็นสาเหตุทำให้แนวทางชีอะฮฺต้องได้รับการดูถูกเหยียดหยามอย่างรุนแรงซึ่งการทุบอก
  • จำเป็นหรือไม่ที่มิตรภาพระหว่างบุคคลขึ้นอยู่กับความคล้ายคลึงกันทางกายภาพ อย่างเช่น อายุและส่วนสูงที่เท่ากัน ฯลฯ?
    6483 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/06/23
    สิ่งที่อิสลามใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกคบค้าสมาคมอันดับแรกก็คือคุณลักษณะทางจิตใจ หาไช่รูปลักษณ์ภายนอกไม่ อย่างไรก็ดี คุณลักษณะภายนอกบางประการอาจเป็นสิ่งสำคัญในบางสถานการณ์ ตัวอย่างเช่น การที่ไม่ควรคบหากับผู้ที่จะเป็นเหตุให้ถูกสังคมมองในทางที่ไม่ดี หลักเกณฑ์ของอิสลามคือ ควรต้องมีอีหม่าน, สามารถจุนเจือเพื่อนได้ทั้งทางโลกและทางธรรม, ช่วยตักเตือนในความผิดพลาด ฯลฯ ...
  • สายรายงานของฮะดีษท่านนบี(ซ.ล.)ที่ระบุให้ท่องจำฮะดีษสี่สิบบทเศาะฮี้ห์หรือไม่? และสี่สิบบทนี้หมายถึงฮะดีษประเภทใด?
    8161 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/18
    ท่านนบี(ซ.ล.)ได้กล่าวไว้ในฮะดีษที่เรียกกันว่า “อัรบะอีน” ซึ่งรายงานไว้ในตำราฝ่ายชีอะฮ์[1]และซุนหนี่[2]บางเล่มเนื้อหาของฮะดีษนี้เป็นการรณรงค์ให้ท่องจำฮะดีษสี่สิบบทอาทิเช่นสำนวนต่อไปนี้: “ผู้ใดในหมู่ประชาชาติของฉันที่ได้ท่องจำฮะดีษที่จำเป็นต่อการดำรงศาสนาของผู้คนถึงสี่สิบบทอัลลอฮ์จะทรงปกป้องเขาในวันกิยามะฮ์และจะฟื้นคืนชีพในฐานะปราชญ์ศาสนาที่มีเกียรติ”[3] ฮะดีษนี้มีความเป็นเอกฉันท์ (ตะวาตุร) ในเชิงความหมาย[4]และเป็นฮะดีษเศาะฮี้ห์ฮะดีษข้างต้นมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้เกิดแรงจูงใจในหมู่นักวิชาการในการประพันธ์ตำรารวบรวมฮะดีษสี่สิบบทโดยตำราเหล่านี้รวบรวมฮะดีษจากบรรดามะอ์ศูมีนสี่สิบบทเกี่ยวกับประเด็นความศรัทธาและหลักจริยธรรมในบางเล่มมีการอธิบายเพิ่มเติมด้วยทั้งนี้ฮะดีษข้างต้นมิได้ระบุประเภทฮะดีษเอาไว้เป็นการเฉพาะแต่หมายรวมถึงฮะดีษทุกบทที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ทั้งโลกนี้และโลกหน้าอัลลามะฮ์มัจลิซีเชื่อว่า “การท่องจำฮะดีษ” ที่ระบุไว้ในฮะดีษข้างต้นมีระดับขั้นที่แตกต่างกันซึ่งจะกล่าวโดยสังเขปดังนี้: หนึ่ง. “การท่องจำฮะดีษ”ในลักษณะการรักษาถ้อยคำของฮะดีษอย่างเช่นการปกปักษ์รักษาไว้ในความจำหรือสมุดหรือการตรวจทานตัวบทฮะดีษฯลฯสอง. การปกปักษ์รักษาฮะดีษในลักษณะการครุ่นคิดถึงความหมายของฮะดีษอย่างลึกซึ้งหรือการวินิจฉันบัญญัติศาสนาจากฮะดีษสาม. การปกปักษ์รักษาฮะดีษในลักษณะปฏิบัติตามเนื้อหาของฮะดีษ
  • ฮะดีษทุกบทที่กล่าวถึงการมุตอะฮ์เชื่อถือได้หรือไม่?
    7948 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/03
    การสมรสชั่วคราวถือเป็นหนึ่งในขนบธรรมเนียมแห่งอิสลามที่กุรอานได้อนุญาตไว้ขนบธรรมเนียมอันดีงามนี้มีการถือปฏิบัติกันในสังคมมุสลิมยุคท่านนบี(ซ.ล.)และเคาะลีฟะฮ์คนแรกตลอดจนระยะแรกของยุคเคาะลีฟะฮ์คนที่สองกระทั่งเขาได้สั่งห้ามในที่สุดแต่บรรดาอิมามมะอ์ศูมีนมักจะรณรงค์ให้มีการสมรสประเภทนี้ต่อไปเนื่องจากขนบธรรมเนียมทางศาสนาดังกล่าวถูกสั่งห้ามอย่างไม่ชอบธรรมอย่างไรก็ดีฮะดีษที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ควรได้รับการกลั่นกรองสายรายงานและเนื้อหาเสมือนฮะดีษอื่นๆทั่วไปซึ่งจะแจกแจงในคำตอบแบบสมบูรณ์ต่อไปนอกจากนี้ยังต้องพิจารณาสภาพสังคมในยุคของอิมามด้วย ...
  • เหตุใดจึงตั้งชื่อซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์ด้วยนามนี้?
    6898 วิทยาการกุรอาน 2555/03/18
    ซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์ถูกตั้งชื่อด้วยนามนี้เนื่องจากในซูเราะฮ์นี้ได้มีการกล่าวถึงเรื่องราวของบะก็อร(วัว)ของบนีอิสรออีลระหว่างอายะฮ์ที่ 67-71 หลายต่อหลายครั้ง เช่น وَ إِذْ قالَ مُوسى‏ لِقَوْمِهِ إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُكُمْ أَنْ تَذْبَحُوا بَقَرَةً قالُوا أَ تَتَّخِذُنا هُزُواً قالَ أَعُوذُ بِاللَّهِ أَنْ أَكُونَ مِنَ الْجاهِلين‏"؛ (และจงรำลึกถึงขณะที่มูซาได้กล่าวแก่กลุ่มชนของเขาว่า แท้จริงอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงบัญชาแก่พวกท่านให้เชือดวัวตัวเมียตัวหนึ่ง (เพื่อนำชิ้นอวัยวะของวัวไปแตะศพที่ไม่สามารถระบุตัวผู้สังหารได้ เพื่อให้ศพฟื้นคืนชีพและชี้ตัวผู้ต้องสงสัย อันเป็นการยุติความขัดแย้งในสังคมยุคนั้น) พวกเขากล่าวว่า “ท่านจะถือเอาพวกเราเป็นที่ล้อเล่นกระนั้นหรือ?” มูซากล่าวว่า “ฉันขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) ให้พ้นจากการที่ฉันจะเป็นพวกโง่เขล่าเบาปัญญา)[1] และเนื่องจากประเด็นดังกล่าวมีความสำคัญต่อการขัดเกลาของมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง จึงได้ตั้งชื่อด้วยนามนี้

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59442 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56904 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41708 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38463 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38455 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33485 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27564 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27281 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27179 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25255 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...