การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6570
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/10/29
คำถามอย่างย่อ
เพราะเหตุใดท่านอิมามอะลี (อ.) จึงไม่ขัดวาง การห้ามมิให้ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เขียนพินัยกรรม?
คำถาม
เพราะเหตุใด เมื่อท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ต้องการเขียนบางสิ่งแก่บรรดาสหายก่อนที่ท่านจะจากไป ซึ่งจะไม่ทำให้พวกเขาหลงทางตลอดไป, แต่ท่านอะลีมิได้กล่าวสิ่งใดเลย, ทั้งที่ท่านเป็นผู้มีความกล้าหาญ ไม่เคยกลัวผู้ใดนอกจากอัลลอฮฺ และท่านก็ทราบดีว่าบุคคลใดไม่พูดความจริง เขาคือปีศาจมุสา?
คำตอบโดยสังเขป

การขัดขวางหรือห้ามมิให้นำปากกาและกระดาษมาให้ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) (เพื่อที่จะเขียนพินัยกรรมบางอย่างก่อนที่ท่านจะจากไป) เป็นเหตุการณ์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รับรู้กันทางประวัติศาสตร์ ซึ่งมีชื่อกล่าวเรียกกันไปต่างๆ นานา เช่น วันพฤหัสทมิฬ, หรือ วันแห่งกระดาษและปากกา, การนิ่งเงียบของท่านอิมามอะลี (อ.) ต่อเหตุการณ์ดังกล่าว มิได้เป็นเหตุผลที่มายืนยันหรือปฏิเสธความจริงที่เกิดขึ้น ทว่าสิ่งที่ต้องพิจารณาคือ ท่านอิมามมีเหตุผลอะไรถึงทำเช่นนั้น และการนิ่งเงียบของท่านอิมามขัดแย้งกับความกล้าหาญของท่านหรือไม่?

เมื่อศึกษาเหตุการณ์ »ปากกาและกระดาษ« ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือประวัติศาสตร์และหนังสืออื่นๆ ทำให้ได้บทสรุปว่า

1.ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ถูกกล่าวร้ายว่า เป็นคนพูดจาเพ้อเจ้อ ศาสดาผู้ซึ่งอัลกุรอานได้ประทานลงมาเกี่ยวกับท่านว่า: »ท่านจะไม่พูดจากด้วยอารมณ์ ทว่าจะพูดเฉพาะสิ่งที่เป็นวะฮฺยูที่ได้ประทานลงมายังท่านเท่านั้น« ขณะที่เรื่องพินัยกรรม ก็นับได้ว่าเป็นหนึ่งในเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง กับการประกาศสาส์นของท่าน

2.การเริ่มต้นความขัดแย้งและทะเลาะวิวาทกัน ต่อหน้าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ประกอบกับท่านป่วยอยู่ด้วยในขณะนั้น แน่นอนว่าการกระทำดังกล่าวไม่ถูกต้อง และไม่ใช่เรื่องดีแต่อย่างใด ซึ่งความวุ่นวายที่เกิดขึ้นนั้นไม่ว่าบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์ จะมีความคิดเห็นขัดแย้งกันมากเท่าใด การวิวาทของพวกเขาก็ยิ่งทำให้ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ทุกข์ยิ่งขึ้นเท่านั้น

3.มีบุคคลหลายคนในที่ประชุมนั้น พยายามขัดขวางมิให้ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เขียนพินัยกรรม ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้การโต้เถียงกันขยายวงกว้างออกไป เขาและพรรคพวกของเขาต่างไม่ยอมรับการเขียนพินัยกรรมในเวลานั้น จนกระทั่งท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ทนไม่ได้จึงไล่ทุกคนออกไปให้พ้นหน้าท่าน ซึ่งบางรายงานตามบันทึกของซุนนียฺกล่าวว่า บุคคลที่เป็นตัวตั้งตัวตีในเรื่องนี้คือ ท่านอุมัรบินเคาะฏ็อบ[i]

4.วิลายะฮฺของท่านอิมามอะลี (อ.) และสิทธิอันชอบธรรมของท่าน เป็นที่ชัดเจน ซึ่งไม่มีบุคคลใดสงสัยในการเป็นตัวแทนของท่านแต่อย่างใด ซึ่งแน่นอนว่าการนิ่งเงียบของท่านอิมามอะลี (อ.) ในบ้านของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ก็เพื่อรักษากาลเทศะบางอย่าง อย่างไรก็ตามหลังจากเหตุการณ์สะกีฟะฮฺแล้ว ท่านอิมาม (อ.) ได้ทักท้วงเรื่องการปฏิเสธสิทธิของท่าน แต่เพื่อรักษาความสงบสันติแก่อิสลาม และมุสลิมท่านจึงนิ่งเงียบอยู่หลายปี นอกจากนั้นท่านยังให้คำปรึกษากับผู้ปกครองอิสลามในสมัยนั้น ก็เพื่อการปกปักรักษาอิสลามให้ดำเนินต่อไป

 


[i] บุคอรียฺ, กิตาบอิลมฺ, บาบกิตาบุลอิลมฺ, 1/22-23.

 

คำตอบเชิงรายละเอียด

การห้ามและขัดขวางมิให้เจตนารมณ์ของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) สมจริง บนคำสั่งที่ให้นำเอาปากกาและกระดาษมาให้ท่าน  เพื่อจะบันทึกบางอย่างในฐานะพินัยกรรมก่อนที่ท่านจะจากไป เป็นเหตุการณ์ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีทางหน้าประวัติศาสตร์ ซึ่งมีชื่อกล่าวเรียกกันไปต่างๆ นานา เช่น วันพฤหัสทมิฬ, หรือ วันแห่งกระดาษและปากกา, ซึ่งเป็นไปในลักษณะที่ว่าเป็นมุตะวาติร ดังปรากฏอยู่ในตำราฮะดีซของฝ่ายซุนนียฺมากมาย และการนิ่งเงียบของท่านอิมามอะลี (อ.) เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวนั้น มิได้เป็นเหตุผลที่บ่งบอกถึงการปฏิเสธความจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทว่าประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ ท่านมีเหตุผลอะไรจึงทำเช่นนั้น และการนิ่งเงียบของท่านขัดแย้งกับความกล้าหาญของท่านหรือไม่ หรือสิ่งที่ท่านกระทำลงไปนั้นเป็นการรักษาความสงบในสังคมอิสลาม ความสงบสันติซึ่งมีความสำคัญต่อสังคมอิสลามอย่างยิ่งในตอนนั้น เป็นสาเหตุทำให้ท่านต้องเปลี่ยนใจไม่ทำตามความต้องการของตน แน่นอน สิ่งนี้มิได้ขัดแย้งกับความกล้าหาญชาญชัยของท่านแต่อย่างใด

ดังนั้น เพื่อความชัดเจนในประเด็นนี้อันดับแรกจะกล่าวถึงเหตุการณ์สำคัญ ซึ่งรู้จักกันดีในนามของเหตุการณ์ »ปากกาและกระดาษ« หรือ »วันพฤหัสทมิฬ« หรือ »วันพฤหัสอัปยศ« :

อิมามบุคอรียฺ เป็นหนึ่งนักรายงานฮะดีซผู้อาวุโสของฝ่ายซุนนียฺ และเป็นเจ้าของหนังสือเซาะฮียฺบุคอรียฺ ได้รายงานจากอิบนุอับบาซว่า : ใกล้เวลาที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะอำลาจากโลกไป มีสหายกลุ่มหนึ่ง เช่น อุมัร บิน เคาะฎ็อบได้รวมตัวกันอยู่ที่บ้านของท่านศาสดา (ซ็อลฯ), ท่านได้สั่งพวกเขาว่า : จงนำเอาปากกาและกระดาษมาให้ฉัน เพื่อฉันจะได้บันทึกบางสิ่งแก่พวกท่าน แล้วพวกท่านจะไม่หลงทางตลอดไป, อุมัร บิน เคาะฏ็อบกล่าวว่า : อาป่วยได้ครอบงำท่านศาสดาเสียแล้ว, พวกเรามีอัลกุรอานคัมภีร์แห่งพระเจ้าเล่มเดียวก็เพียงพอแล้ว สำหรับพวกเรา คำพูดของเขาทำให้อะฮฺลุลบัยตฺและผู้ที่อยู่ในบ้านของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ขัดแย้งกัน,มีบางกลุ่มที่ยอมรับทัศนะของอุมัร และอีกบางกลุ่มไม่เห็นด้วยและแสดงความเห็นขัดแย้งออกมา เมื่อความขัดแย้งทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จึงกล่าวว่า : จงออกไปให้พ้นหน้าฉันทั้งหมด ไม่สมควรอย่างยิ่งที่พวกท่านจะมาถกเถียงและวิวาทกันต่อหน้าฉัน[1]

บุคอรียฺ ได้รายงานจากอิบนุอับบาซ ในอีกรายงานหนึ่งว่า อิบนุอับบาซกล่าวว่า : ปัญหาและความเลวร้ายต่างๆ ได้เริ่มต้นตั้งแต่มีการทะเลาะวิวาทกันต่อหน้าท่านศาสดา จนกระทั่งท่านไม่ได้เขียนพินัยกรรมฉบับสุดท้าย[2]

เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นตรงกับวันพฤหัสบดี กล่าวคือ 4 วันก่อนการจากไปของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) สิ่งที่สมควรพิจารณาตรงนี้คือ ท่านศาสดาต้องการป้องกันมิให้มีความขัดแย้งเกิดขึ้น กับวิลายะฮฺของท่านอิมามอะลี ท่านจึงมีคำสั่งให้สหายกลุ่มหนึ่ง เช่น ท่านอบูบักรฺ,อุมัร, อุสมาน, อบูอุบัยดะฮฺ ญัรรอฮฺ, ฏ็อลฮะฮฺ, ซุบัยรฺ, อับดุรเราะฮฺมาน บิน เอาฟฺ และสะอฺดฺ บิน วะกอซ[3] ร่วมออกศึกไปยังจุดที่ห่างไกลที่สุดของชายแดน ติดกับโรม ภายใต้การนำทัพของอุษามะฮฺ ทั้งที่การปล่อยให้เมืองหลวงว่างเปล่าจากทหาร ในช่วงของการกำลังจากไปของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ถือว่าไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะอาจเป็นไปได้ที่ผู้เพิ่งเข้ารับอิสลามใหม่, เพื่อนบ้านซึ่งเป็นชนต่างเผ่าพันธุ์ที่อยู่รายล้อมรอบมะดีนะฮฺ อาจจะลุกฮือและก่อกบฏได้ แต่คำสั่งดังกล่าวเป็นการตัดสินใจของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เพียงคนเดียว เพื่อต้องการให้ผู้ที่จะคิดต่อต้านวิลายะฮฺของท่านอะลี (อ.) ออกไปจากมะดีนะฮฺ, การจัดทัพดังกล่าวได้เกิดขั้นเพียงไม่กี่วันก่อนการจากไปของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และเป็นคำสั่งของท่าน ซึ่งท่านกล่าวว่า : ขออัลลอฮฺ ทรงสาปแช่งบุคคลที่ทรยศขัดขืนการนำทัพของอุษามะฮฺ และไม่ร่วมทัพไปพร้อมกับเขา[4] ในทางตรงกันข้ามเหล่าสหาย และผู้เห็นด้วยกับการเป็นตัวแทนของท่านอิมามอะลี (อ.) เช่น ท่านอัมมาร มิกดาร และซัลมาล ได้รับการยกเว้นไม่ต้องร่วมทัพไปกับอุษามะฮฺ ขณะเดียวกันก็ไม่มีชื่อของท่านอิมามอะลี (อ.) อยู่ในกองทัพด้วย[5]

จากบทนำที่กล่าวมาพร้อมกับข่าวลือว่าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เสียชีวิตแล้ว ทำให้คนกลุ่มหนึ่งแยกตัวออกจากกองทัพอุษามะฮฺ แล้วรีบกลับมะดีนะฮฺทันที มารวมตัวกันอยู่ที่บ้านของท่านศาสดา จึงทำให้เกิดวันพฤหัสวิปโยคขึ้นมา

ประวัติศาสตร์บันทึกว่าบุคคลหนึ่งที่ทักท้วงคำพูดของอุมัร บินเคาะฏ็อบคือ ญาบิร บินอับดุลลอฮฺ อันซอรียฺ[6]

เมื่อศึกษาฮะดีซจากท่านอิบนุอับบาซ ที่รายงานเกี่ยวกับเหตุการณ์วันนั้น เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า การโต้เถียงและทะเลาะวิวาทกันในวันนั้น สร้างความรันทดและไม่เข้ากันกับสภาพของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ในตอนนั้น และถือว่าเป็นสิ่งไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง รายงานยังกล่าวต่อไปอีกว่า สาเหตุที่พินัยกรรมมิได้ถูกบันทึกก็มาจากการทะเลาะวิวาทกันในวันนั้นนั่นเอง

ฉะนั้น ถ้าหากอุมัร บินเคาะฏ็อบ ไม่ขัดขวางเจตนารมณ์ของท่านศาสดา และไม่มีการทะเลาะวิวาทกันต่อหน้าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) วันนั้นท่านต้องเขียนพินัยกรรมแน่นอน

และตอนนี้ประจักษ์แล้วว่า เพราะอะไรท่านอิมามอะลี (อ.) จึงไม่เข้าไปยุ่งในการทะเลาะวิวาท, ขณะที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เป็นผู้จิตใจมุ่งหวังแต่สร้างความสมานฉันท์ และการประสานใจให้เป็นหนึ่งเดียว[7] ไม่เป็นการเหมาะสมแต่อย่างใดที่จะเพิ่มพูนการวิวาทให้มากยิ่งกว่าเดิม นอกจากนั้นแล้วบุคคลที่ไม่ยอมรับคำพูดของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) โดยกล่าวหาว่าท่านเป็นคนพูดเพ้อเจ้อ เนื่องจากอาการไข้ได้กำเริบ แล้วเขาจะมาฟังคำพูดของท่านอิมามอะลี (อ.) กระนั้นหรือ นอกจากนี้แล้วยังมีสหายผู้อาวุโสหลายท่าน เช่น ท่านญาบิร อับดุลลอฮฺ อันซอรียฺ เป็นผู้หนึ่งที่คัดค้านคำพูดของอุมัร บิน เคาะฎ็อบ แต่ทันทีที่ท่านท้วงติงก็ได้รับการคัดค้าน และแรงบีบกดดันจากกลุ่มที่เห็นพ้องกับคำพูดของอุมัรทันที ดังนั้น ในบรรยากาศเช่นนั้นไม่ว่าจะมีใครแสดงทัศนะออกมาทั้งในแง่ลบ หรือแง่ดีก็จะมีการโต้เถียงและทะเลาะกันต่อหน้าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ทั้งสิ้น ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นความผิดพลาดทั้งสิ้น แต่อย่างไรก็ตามการเป็นตัวแทนของท่านอิมามอะลี (อ.) ก็มิใช่สิ่งที่ถูกปิดบังหรือซ่อนเร้นแต่อย่างใด เนื่องจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้เน้นย้ำปัญหาดังกล่าวไว้หลายต่อหลายครั้ง ในลักษณะที่ว่าทุกคนต่างรับรู้ ข้อพิสูจน์และชัรอียฺสมบูรณ์แล้วสำหรับพวกเขา. ท่านซุยูฏียฺได้รวบรวมฮะดีซเหล่านี้ไว้นหน้งสือ ตารีคคุละฟาอฺ ซึ่งในฮะดีซเหล่านั้นคือบทที่กล่าวว่า « مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ »ซึ่งติรมีซียฺ ได้รายงานจากอบี ซะรีฮะฮฺ หรือจากซัยดฺ บินอัรกอม ซึ่งประโยคนี้ « اللَّهُمَّ وَالِ مَنْ وَالَاهُ وَ عَادِ مَنْ عَادَاه‏» ได้รายงานมาจาก อะฮฺมัด บิน ฮันบัล และฏ็อบรอนียฺ ได้รายงานมาจาก อิบนุอุมัน, มาลิก บิน อัลเฮารีส, ญะรีร, สะอฺด์ บิน อบีวะกอฟ, อะบี สะอีด คุดรียฺ, อะนัส, อิบนุอับบาซ อีกทีหนึ่ง

ทำนองเดียวกันประโยคที่กล่าวว่า « أَنْتَ مِنِّي بِمَنْزِلَةِ هَارُونَ مِنْ مُوسَى إِلَّا أَنَّهُ لَا نَبِيَّ بَعْدِي »ได้รายงานมาจาก อะฮฺมัด บิน ฮันบัล และฏ็อบรอนียฺ โดยรายงานมาจากสายรายงานที่ต่างกัน[8]

ใช่ เหตุการณ์อันยิ่งใหญ่แห่งเคาะดีรถคุม ยังไม่ทันเจือจาง และเป็นไปไม่ได้ที่บางคนจะลืมเหตุการณ์อันยิ่งใหญ่จนหมดสิ้น ฉะนั้น ท่านอิมามอะลี (อ.) จึงเห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่ต้องเข้าไปยุ่งกับการโต้เถียง หรือทะเลาะวิวาทกันในบ้านท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) และต่อหน้าท่าน เพราะการให้เกียรติท่านศาสดามีความสำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด การนิ่งเงียบเท่ากับเป็นการไม่ดูถูกตำแหน่งของท่าน แต่หลังจากนั้นท่านอิมาม (อ.) ไม่เคยปฏิเสธที่กล่าวถึงความจริงนั้น ทั้งที่อะฮฺมัด ได้บันทึกไว้ในมุสนัด (1/155) หรือฏ็อบรียฺ ได้บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของท่าน (2/466) และบุคคลอื่น เช่น อิบนุกะษีร อิบนุฮิชาม ซึ่งได้กล่าวถึงเหตุการณ์นั้นว่า ตอนแรกพวกเขาแสดงความไม่พอใจเกี่ยวกับการตัดสินใจเรื่องเคาะลิฟะฮฺ ทำให้บางกลุ่มได้ไปรวมตัวกันประท้วงที่บ้านท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) และบางกลุ่มก็ไปมัสญิด บังคับให้ประชาชนสาบานว่า ไม่เคยเห็นเหตุการณ์เฆาะดีรคุม และบางกลุ่มจำนวน 30 คนได้ยืนยันถึงเหตุการณ์ดังกล่าว[9] แต่เพื่อรักษาเสถียรภาพของสังคม และความสามัคคีของมุสลิม อีกทั้งป้องกันมิให้เกิดความแตกแยกมากไปกว่านั้น ท่านได้ยุติความพยายามในการเรียกร้องสิทธิของท่าน เพราะแน่นอน การทักท้วงของท่านอิมามย่อมนำมาซึ่งความแตกแยกภายในสังคม อิสลามซึ่งเหมือนกับวัยหนุ่มที่เพิ่งเจริญเติบโต ประกอบกับสังคมพึ่งจะสูญเสียผู้นำคือ ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ไปหมาดๆ อีกด้านหนึ่งศัตรูต่างเฝ้าคอยโอกาสที่จะโจมตีอิสลามให้พังพินาศ ดั่งที่ประวัติศาสตร์กล่าวว่า การจากไปของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ทำให้ชนเผ่าอาหรับจำนวนมากไม่ยอมจ่ายซะกาต และบางเผ่าชนก็ออกนอกศาสนาไป[10]

แน่นอน สิ่งที่ท่านอิมามอะลี (อ.) เป็นห่วงมากที่สุดคือ การสูญเปล่าในการงานของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ซึ่งท่านและครอบครัวต่างเสียสละทั้งชีวิตและทรัพย์สินเพื่อปกป้องรักษาอิสลาม ให้ธำรงอยู่ต่อไปแด่อนุชนรุ่นหลัง, ด้วยเหตุนี้เอง ท่านอิมามอะลี (อ.) จึงได้เลือกการนิ่งเงียบ และให้คำปรึกษาผู้นำการปกครองภายหลังจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และให้ความร่วมมือเท่าที่จำเป็น

 


[1] บุคอรียฺ, กิตาบอิลมฺ, บาบกิตาบุลอิลมฺ, 1/22-23,มะอาลิม อัลมัดเราะซะตัยนฺ, อัลลามะฮฺ อัสการียฺ, เล่ม 1, หน้า 140.

[2] เซาะฮียฺบุคอรียฺ, กิตาบอัลอิอฺติซอม บิลกิตาบวะซุนนะฮฺ, บาบกะรอฮียะฮฺ อัลคิลาฟวะบาบเกาลฺ มะรีฎ}มะอาลิม อัลมัดเราะซะตัยนฺ, อัลลามะฮฺ อัสการียฺ, เล่ม 1, หน้า 140. قوموا عنی از کتاب مرضی؛

[3]เฏาะบะกอต อัลกุบรอ, เล่ม 2, หน้า 189, ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) และประวัติศาสตร์, นักเขียนกลุ่มหนึ่ง, หน้า 131.

[4] มิลัลวะนิฮัล, ชะฮฺริซตานี, เล่ม 1, หน้า 14, เล่ามาจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กลุ่มนักเขียน, หน้า 132.

[5] เฏาะบะกอต อัลกุบรอ, เล่ม 2, หน้า 189, ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) และประวัติศาสตร์, นักเขียนกลุ่มหนึ่ง, หน้า 131.

[6] ฮัยซัมมีย์,มัจญฺมะอุลซะวาอิด, เล่ม 4, หน้า 390, เล่ม 8, หน้า 609, ศาสดาผู้ยิ่งใหญ่และประวัติศาสตร์, หน้า 134.

[7] อัลกุรอานหลายโองการได้เชิญชวนมุสลิมไปสู่เอกภาพ และหลีกเลี่ยงการทะเลาะวิวาท เช่น โองการที่ 46 บทอันฟาล กล่าวว่า : พวกเจ้าจงอย่าวิวาท เพราะจะทำให้บังเกิดความพ่ายแพ้ และสูญเสียอำนาจ

[8] ตารีคคุละฟาอฺ, ซุยูฏียฺ, หน้า 157.

[9] มะอาลิม อัลมัดเราะซะตัยนฺ, อัลลามะฮฺ อัสการียฺ, เล่ม 1, หน้า 489.

[10] อ้างแล้ว, เล่ม 1, หน้า 165.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เหตุใดอัลลอฮ์จึงกำชับให้ขอบคุณต่อเนียะอฺมัตที่ทรงประทานให้?
    17651 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/10
    “ชุโกร”ในทางภาษาอรับหมายถึง การมโนภาพเนียะอฺมัต(ความโปรดปรานจากพระองค์)แล้วเผยความกตัญญูรู้คุณผ่านคำพูดหรือการกระทำ[i] ส่วนที่ว่าทำไมต้องชุโกรขอบคุณพระองค์ในฐานะที่ประทานเนียะอฺมัตต่างๆนั้น ขอให้ลองพิจารณาประเด็นต่อไปนี้:1.
  • ผู้ที่มาร่วมพิธีฝังศพท่านนบี(ซ.ล.)มีใครบ้าง?
    11038 تاريخ بزرگان 2555/03/14
    ตำราประวัติศาสตร์และฮะดีษของฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์เล่าเหตุการณ์ฝังศพท่านนบี(ซ.ล.)ว่า อลี บิน อบีฏอลิบ(อ.) และฟัฎล์ บิน อับบ้าส และอุซามะฮ์ บิน เซด ร่วมกันอาบน้ำมัยยิตแก่ท่านนบี บุคคลกลุ่มแรกที่ร่วมกันนมาซมัยยิตก็คือ อับบาส บิน อับดุลมุฏ็อลลิบและชาวบนีฮาชิม หลังจากนั้นเหล่ามุฮาญิรีน กลุ่มอันศ้อร และประชาชนทั่วไปก็ได้นมาซมัยยิตทีละกลุ่มตามลำดับ สามวันหลังจากนั้น ท่านอิมามอลี ฟัฎล์ และอุซามะฮ์ได้ลงไปในหลุมและช่วยกันฝังร่างของท่านนบี(ซ.ล.) หากเป็นไปตามรายงานดังกล่าวแล้ว อบูบักรและอุมัรมิได้อยู่ในพิธีฝังศพท่านนบี(ซ.ล.) แม้จะได้ร่วมนมาซมัยยิตเสมือนมุสลิมคนอื่นๆก็ตาม ...
  • สายรายงานของฮะดีษที่ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวแก่ชาวอรับเกี่ยวกับชาวเปอร์เซียว่า“พวกท่าน(อรับ)รบกับพวกเขา(เปอร์เซีย)เพื่อให้ยอมรับการประทานกุรอาน แต่ก่อนโลกนี้จะพินาศ พวกเขาจะรบกับพวกท่านเพื่อการตีความกุรอาน”เชื่อถือได้เพียงใด?
    7427 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/09/11
    ในตำราฮะดีษมีฮะดีษชุดหนึ่งที่มีนัยยะถึงการที่ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวกับชาวอรับเกี่ยวกับชาวเปอร์เซียว่า “พวกท่าน(อรับ)รบกับพวกเขา(เปอร์เซีย)เนื่องด้วยการประทานกุรอานแต่ก่อนโลกนี้จะพินาศพวกเขาก็จะรบกับพวกท่านเนื่องด้วยการตีความกุรอาน”สายรายงานของฮะดีษบทนี้เชื่อถือได้ ...
  • ริวายะฮ์(คำรายงาน)ที่มีความขัดแย้งกัน ยกตัวอย่างเช่น ริวายะฮ์ที่กล่าวถึงการจดบาปของมนุษย์ กับริวายะฮ์ทีกล่าวว่า การจดบาปจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าครบ ๗ วัน เราสามารถจะแก้ไขริวายะฮ์ทั้งสองได้อย่างไร?
    4185 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2561/11/05
    สำหรับคำตอบของคำถามนี้ จะต้องตรวจสอบในหลายประเด็นดังต่อไปนี้ ๑.การจดบันทึกเนียต(เจตนา)ในการทำบาป กล่าวได้ว่า จากการตรวจสอบจากแหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับการจดบันทึกเนียตในการทำบาปปรากฏว่าไม่มีริวายะฮ์รายงานเรื่องนี้แต่อย่างใด และโองการอัลกุรอานก็ไม่สามารถวินิจฉัยถึงเรื่องนี้ได้ เพราะว่า โองการอัลกุรอานกล่าวถึงความรอบรู้ของพระเจ้าในเนียตของมนุษย์ พระองค์อัลลอฮ์(ซ.บ)ทรงตรัสว่า เราได้สร้างมนุษย์ขึ้นมา และเรารู้ดียิ่งในสิ่งที่จิตใจของเขากระซิบกระซาบแก่เขา และเราอยู่ใกล้ชิดกับเขามากกว่าเส้นเลือดชีวิตของเขาเสียอีก ดังนั้น การที่พระองค์ทรงมีความรู้ในเจตนาทั้งหลาย มิได้หมายถึง การจดบันทึกว่าเป็นการทำบาปหรือเป็นบทเบื้องต้นในการทำบาป ๒.การจดบันทึกความบาปโดยทันทีทันใด ซึ่งเกี่ยวกับประเด็นนี้ก็ไม่ปรากฏริวายะฮ์ที่กล่าวถึง แต่ทว่า บางโองการอัลกุรอาน กล่าวถึง การจดบันทึกโดยทันทีทันใดในบาป ดั่งเช่น โองการที่กล่าวว่า (ในวันแห่งการตัดสิน บัญชีอะมั้ลการกระทำของมนุษย์)บันทึกจะถูกวางไว้ ดังนั้นเจ้าจะเห็นผู้กระทำความผิดบาปทั้งหลายหวั่นกลัวสิ่งที่มีอยู่ในบันทึก และพวกเขาจะกล่าวว่า โอ้ความวิบัติของเรา บันทึกอะไรกันนี่ มันมิได้ละเว้นสิ่งเล็กน้อย และสิ่งใหญ่โตเลย เว้นแต่ได้บันทึกไว้ครบถ้วน และพวกเขาได้พบสิ่งที่พวกเขาได้ปฏิบัติไว้ปรากฏอยู่ต่อหน้า และพระผู้เป็นเจ้าของเจ้ามิทรงอธรรมต่อผู้ใดเลย โองการนี้แสดงให้เห็นว่า ความผิดบาปทั้งหมดจะถูกจดบันทึกอย่างแน่นอนก ๓.การจดบันทึกความบาปจนกว่าจะครบ ๗ วัน มีรายงานต่างๆมากมายที่กล่าวถึง การไม่จดบาปในทันที แต่ทว่า มีรายงานหนึ่งกล่าวว่า ให้โอกาสจนกว่าจะครบ ๗ วัน ...
  • ถ้าหากพิจารณาบทดุอาอฺต่างๆ ในอัลกุรอาน จะเห็นว่าดุอาอฺเหล่านั้นได้ให้ความสำคัญต่อตัวเองก่อน หลังจากนั้นเป็นคนอื่น เช่นโองการอัลกุรอาน ที่กล่าวว่า “อะลัยกุม อันฟุซะกุม” แต่เมื่อพิจารณาดุอาอฺของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺจะพบว่าท่านหญิงดุอาอฺให้กับคนอื่นก่อนเป็นอันดับแรก, ดังนั้น ประเด็นนี้จะมีทางออกอย่างไร?
    8878 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ในตำแหน่งของการขัดเกลาจิตวิญญาณและยกระดับจิตใจตนเองนั้น, มนุษย์ต้องคำนึงถึงตัวเองก่อนบุคคลอื่นเพราะสิ่งนี้เป็นคำสั่งของอัลกุรอานและรายงานนั่นเอง, เนื่องจากถ้าปราศจากการขัดเกลาจิตวิญญาณแล้วการชี้แนะแนวทางแก่บุคคลอื่นจะบังเกิดผลน้อยมาก, แต่ส่วนในตำแหน่งของดุอาอฺหรือการวิงวอนขอสิ่งที่ต้องการจากพระเจ้า,ถือว่าเป็นความเหมาะสมอย่างยิ่งที่มนุษย์จะวอนขอให้แก่เพื่อนบ้านหรือบุคคลอื่นก่อนตัวเอง, ...
  • สำนวน طبیب دوار بطبه ที่ท่านอิมามอลี(อ.)ใช้กล่าวยกย่องท่านนบี หมายความว่าอย่างไร?
    6605 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/13
    ท่านอิมามอลี(อ.)เปรียบเปรยการรักษาโรคร้ายทางจิตวิญญาณมนุษย์โดยท่านนบี(ซ.ล.)ว่าطبیب دوّار بطبّه (แพทย์ที่สัญจรตามรักษาผู้ป่วยทางจิตวิญญาณ) ท่านเป็นแพทย์ที่รักษาโรคแห่งอวิชชาและมารยาทอันต่ำทรามโดยสัญจรไปพร้อมกับโอสถทิพย์ของตน
  • เป้าหมายและโปรแกรมต่างๆ ของชัยฏอนคืออะไร?
    9162 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    1.ลวงล่อให้มนุษย์ทั้งหลายหลงทาง2.เชิญชวนมนุษย์ทั้งหลายไปสู่การกระทำที่บิดเบือนและการอุปโลกน์ต่างๆ3. หยุแหย่มนุษย์ในการเปลี่ยนแปลงการสร้างสรรค์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) และโปรแกรมต่างๆซึ่งอัลกุรอานได้พาดพิงถึงชัยฏอน ...
  • บุคลิกของอุบัย บิน กะอฺบ์?
    9021 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    อุบัย บิน กะอฺบ์ เป็นหนึ่งของสหายที่มีชื่อเสียงที่สุดของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และเป็นผู้มีเกียรติยิ่งทั้งในหมู่อะฮฺลิซุนนะฮฺ และชีอะฮฺ แหล่งอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺมีบันทึกรายงานฮะดีซจำนวหนึ่ของเขาไว้ด้วย นักปราชญ์ผู้อาวุโสฝ่ายฮะดีซ, ยอมรับว่าเขาเป็นสหายของท่านศาสดา และเป็นหนึ่งในผู้บันทึกวะฮฺยู เมื่อพิจารณารายงานที่มาจากเขา, สามารถเข้าใจได้ถึงความรักที่เขามีต่ออะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอิมามอะลี (อ.) ...
  • ทำอย่างไรจึงจะลดความรีบร้อน?
    7537 จริยธรรมทฤษฎี 2555/05/23
    ความรีบร้อนลนลานถือเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในทัศนะของศาสนา ซึ่งในที่นี้ก็หมายถึงการรีบกระทำสิ่งใดโดยพละการนั่นเอง การรีบร้อนแตกต่างจากการรีบเร่งทั่วไป เพราะการรีบเร่งหมายถึงการรีบกระทำการใดทันทีที่ทุกอย่างพร้อม สิ่งที่ตรงข้ามกับการรีบร้อนก็คือ “ตะอันนี” และ “ตะษับบุต”อันหมายถึงการตรึกตรองอย่างรอบคอบก่อนลงมือกระทำการใดๆ เมื่อพิจารณาถึงข้อเสียของการรีบร้อน และข้อดีของการตรึกตรองอันเป็นคุณลักษณะของกัลยาณชนเฉกเช่นบรรดาศาสดา ทำให้ได้ข้อสรุปว่าก่อนกระทำการใดควรตรึกตรองอย่างมีสติเสมอ และหากหมั่นฝึกฝนระยะเวลาหนึ่ง แม้จะเป็นเรื่องยากก็ตาม แต่สุดท้ายก็จะติดเป็นนิสัย อันจะลบเลือนนิสัยรีบร้อนที่มีอยู่เดิม และจะสร้างเสริมให้เป็นผู้ที่มีความสุขุม ...
  • รายงานฮะดีซกล่าวว่า:การสร้างความสันติระหว่างบุคคลสองคน ดีกว่านมาซและศีลอด วัตถุประสงค์คืออะไร ?
    6118 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/17
    เหมือนกับว่าการแปลฮะดีซบทนี้ มีนักแปลบางคนได้แปลไว้แล้ว ซึ่งท่านได้อ้างถึง, ความอะลุ่มอล่วยนั้นเป็นที่ยอมรับ, เนื่องจากเมื่อพิจารณาใจความภาษาอรับของฮะดีซที่ว่า "صَلَاحُ ذَاتِ الْبَيْنِ أَفْضَلُ مِنْ عَامَّةِ الصَّلَاةِ وَ الصِّيَام‏" เป็นที่ชัดเจนว่า เจตนาคำพูดของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต้องการกล่าวว่า การสร้างความสันติระหว่างคนสองคน, ดีกว่าการนมาซและการถือศีลอดจำนวนมากมาย[1] แต่วัตถุประสงค์มิได้หมายถึง นมาซหรือศีลอดเป็นเวลาหนึ่งปี หรือนมาซและศีลอดทั้งหมด เนื่องจากคำว่า “อามะตุน” ในหลายที่ได้ถูกใช้ในความหมายว่า จำนวนมาก เช่น ประโยคที่กล่าวว่า : "عَامَّةُ رِدَائِهِ مَطْرُوحٌ بِالْأَرْض‏" หมายถึงเสื้อผ้าส่วนใหญ่ของเขาลากพื้น[2] ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59467 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56926 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41728 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38484 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38467 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33504 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27576 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27307 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27194 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25270 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...