การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7946
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/08
 
รหัสในเว็บไซต์ fa7802 รหัสสำเนา 19550
คำถามอย่างย่อ
อิมามโคมัยนีเชื่อว่าการร่ำไห้และการไว้อาลัยแด่อิมามฮุเซน(อ.)สามารถรักษาอิสลามให้คงอยู่ถึงปัจจุบันไช่หรือไม่? เพราะเหตุใด?
คำถาม
อิมามโคมัยนีเคยกล่าวไว้หรือไม่ว่า การร่ำไห้และการไว้อาลัยแด่อิมามฮุเซน(อ.)สามารถรักษาอิสลามให้คงอยู่ถึงปัจจุบัน? เพราะเหตุใดจึงกล่าวเช่นนั้น?
คำตอบโดยสังเขป

คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์

คำตอบเชิงรายละเอียด

อิมามโคมัยนีเน้นย้ำเสมอว่า การเสียสละของท่านอิมามฮุเซน(.)ทำให้อิสลามยังคงอยู่ และชี้ให้เห็นว่าการรักษาแนวทางของท่านอิมามฮุเซนมิให้ถูกบิดเบือน กระทำได้ด้วยการจัดมัจลิสไว้อาลัยเพื่อรำลึกถึงท่าน ดังที่ท่านเคยกล่าวว่า "การรวมตัวกันในวันอาชูรอ และการไว้อาลัยแด่ชะฮีดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก ล้วนมีความจำเริญมหาศาล"[1]

"เดือนมุฮัรรอมและเศาะฟัรเป็นเดือนที่เปี่ยมด้วยความจำเริญ เดือนแห่งการพิทักษ์อิสลาม จึงต้องฟื้นชีวิตชีวาแก่สองเดือนนี้ด้วยการรำลึกถึงโศกนาฏกรรมของอะฮ์ลุลบัยต์(.) เพราะการรำลึกถึงโศกนาฏรรมนี้ช่วยให้แนวคิดของเรายังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน... มุฮัรรอมและเศาะฟัรนี่แหล่ะที่พิทักษ์อิสลามไว้ การเสียสละของประมุขแห่งเหล่าชะฮีดนี่แหล่ะ ที่ชุบชีวิตอิสลามให้สืบทอดถึงพวกเรา[2] ...ฯลฯ

ท่านอิมามโคมัยนีกล่าวถึงเหตุผลของมุมมองดังกล่าวในสุนทรพจน์หลายครั้งด้วยกัน อาทิเช่นสุนทรพจน์ต่อไปนี้
"
พวกเขาหวั่นกลัววันอาชูรอ, ช่วงมุฮัรรอมและเศาะฟัร, และช่วงเดือนเราะมะฎอน มัจลิสเหล่านี้แหล่ะที่ทำให้ประชาชนรวมตัวกัน หากมีสิ่งใดเป็นประโยชน์แก่อิสลาม หรือผู้ใดต้องการรับใช้อิสลาม สามารถประกาศไปทั่วประเทศผ่านนักคุตบะฮ์หรืออิมามญุมอะฮ์และญะมาอัต การรวมตัวกันภายใต้ร่มธงอิสลาม ร่มธงแห่งอิมามฮุเซน จะช่วยจัดระเบียบให้สังคม หากชาติมหาอำนาจต้องการจะระดมผู้คนในประเทศของตน ก็จะต้องเตรียมการอย่างยาวนานหลายวันและต้องทุ่มทุนมหาศาลเพื่อการนี้โดยเฉพาะ เพื่อให้มีคนมาฟังการปราศัยที่เตรียมไว้สักห้าหมื่นหรือแสนคน แต่พวกท่านก็เห็นแล้วว่ามัจลิสไว้อาลัยเหล่านี้สามารถเชื่อมโยงผู้คนให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวได้ เพียงมีการจุดประเด็น ประชาชนผู้ไว้อาลัยอิมามฮุเซน(.)ก็จะรวมตัวกัน มิไช่แค่ระดับจังหวัด แต่เป็นการรวมตัวระดับประเทศ ไม่จำเป็นต้องเสียแรงโฆษณาใดๆทั้งสิ้น ขอแค่เป็นคำพูดของอิมามฮุเซนเพียงคำเดียวเท่านั้น ทุกคนจะรวมตัวกันโดยอัตโนมัติ จะเห็นได้ว่าอิมามบางท่าน(เข้าใจว่าอิมามบากิร) สั่งเสียให้มีใครสักคนไว้อาลัยแด่ท่านทุกปีที่มินา ไม่ไช่เพราะท่านอยากมีชื่อเสียง หรือมีผลประโยชน์ส่วนตัว สังเกตุจุดประสงค์ทางการเมืองของท่านให้ดี เพราะเมื่อผู้คนจากทั่วโลกเข้าสู่มินา จะได้มีผู้ที่เล่าโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นกับอิมามบากิรถึงขั้นลอบสังหารท่าน เพื่อให้เกิดกระแสตื่นตัวทั่วทุกแว่นแคว้น

พวกคลั่งตะวันตกอาจมองเราว่าเป็น"ชาติที่เอาแต่ร้องห่มร้องไห้" พวกเราบางคนอาจรับไม่ได้ว่าน้ำตาแค่หยดเดียวจะทำให้ได้รับผลบุญมากมายได้อย่างไร มัจลิสไว้อาลัยจะมีผลบุญมหาศาลได้อย่างไร บางคนรับไม่ได้ว่าเหตุใดดุอาแค่สองสามบรรทัดจะมีผลบุญมากขนาดนั้น จุดประสงค์ทางการเมืองของดุอาและการขอพรเหล่านี้ก็คือ ทำให้สามารถระดมประชาชนเพื่อบรรลุเป้าหมายที่อิสลามกำหนด มัจลิสไว้อาลัยไม่ได้มีไว้สำหรับร้องไห้ให้ท่านอิมามฮุเซนแล้วรับผลบุญไปเพียงเท่านั้น ประเด็นสำคัญก็คือจุดประสงค์ทางการเมือง ที่บรรดาอิมามของเราได้วางแนวทางไว้ตั้งแต่อิสลามยุคแรกจนถึงทุกวันนี้ นั่นก็คือการระดมประชาชนภายใต้ร่มธงเดียวกัน แนวคิดเดียวกัน และไม่มีเรื่องราวใดจะมีอิทธิพลต่อผู้คนได้เท่ากับการไว้อาลัยแด่อิมามฮุเซน(.)...

พวกท่านคิดหรือว่าเหตุการณ์ 15 โค้รด้อด (อันเป็นเชื้อไฟของการปฏิวัติ-ผู้แปล) จะเกิดขึ้นโดยไม่ต้องพึ่งมัจลิสไว้อาลัย ไม่ต้องมีขบวนไว้อาลัย ไม่ต้องมีการมะตั่มและการขับโคลงกลอนไว้อาลัยอิมามฮุเซน ที่จริงแล้ว ไม่มีพลังใดจะทำให้เกิด 15 โค้รด้อดได้นอกจากพลังโลหิตของซัยยิดุชชุฮะดา ไม่มีอำนาจใดที่จะยับยั้งการโจมตีจากทุกทิศทุกทางของมหาอำนาจที่มีต่อประชาชนของเราได้นอกจากมัจลิสไว้อาลัย ในมัจลิสเหล่านี้มีการไว้อาลัยและเล่าโศกนาฏกรรมของประมุขของผู้ถูกกดขี่ ผู้ซึ่งต่อสู้และพลีชีพตนเองและญาติมิตรเพื่ออัลลอฮ์ ปัจจัยดังกล่าวได้บ่มเพาะให้วัยรุ่นก้าวสู่สนามรบและถวิลหาการเป็นชะฮีดอย่างภาคภูมิ และจะเสียใจหากมิได้เป็นชะฮีด ปัจจัยดังกล่าวได้บ่มเพาะให้เหล่าแม่บ้านที่เสียสละลูกชายไปแล้ว ยังคะยั้นคะยอว่าพร้อมจะพลีลูกชายที่เหลืออีก มัจลิสไว้อาลัยอิมามฮุเซน มัจลิสดุอา ดุอากุเมลและดุอาบทอื่นๆเท่านั้นที่สร้างแรงจูงใจได้เช่นนี้ และสามารถประคองฐานรากอิสลามให้ดำเนินบนวิถีทางเหล่านี้ต่อไปได้
และหากคนอื่นๆเข้าใจประเด็นข้างต้นว่ามัจลิสไว้อาลัยมีไว้เพื่ออะไร และเหตุใดการร้องไห้จึงมีผลบุญมากมาย เมื่อนั้นจะไม่ปรามาสเราว่าเป็น"ชนชาติที่เอาแต่ร้องห่มร้องไห้" แต่จะเรียกเราว่า "ชนชาติแห่งวีรกรรม" หากพวกเขาเข้าใจว่าอิมามซัยนุลอาบิดีน(.)ที่สูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างในกัรบะลา และอยู่ในยุคที่เผด็จการกุมอำนาจเบ็ดเสร็จนั้น ใช้อานุภาพแห่งบทดุอาปลุกระดมผู้คนได้เพียงใด พวกเขาคงไม่ถามว่า ดุอาเหล่านี้มีไว้เพื่ออะไร? หากนักวิชาการของเราเข้าใจแง่มุมทางการเมืองและสังคมของมัจลิสไว้อาลัยเหล่านี้ ดุอาและซิเกรเหล่านี้ แน่นอนว่าจะไม่ค่อนแคะว่ากระทำสิ่งเหล่านี้ไปเพื่ออะไร? เพราะต่อให้นักวิชาการที่นิยมตะวันตกและเหล่าผู้มีอิทธิพลผนึกกำลังกันเพียงใด ก็ไม่สามารถสร้างเหตุการณ์คล้าย 15 โค้รด้อดขึ้นมาได้ ผู้ที่สามารถกระทำเช่นนี้ได้ต้องเป็นผู้ที่ผู้คนยอมอยู่ใต้ร่มธงของท่านเท่านั้น...

ขอให้พี่น้องประชาชนเห็นคุณค่าของมัจลิสเหล่านี้ เพราะมัจลิสเหล่านี้จะช่วยพิทักษ์ประชาชาติ เน้นช่วงอาชูรอเป็นพิเศษ และจัดให้มีในช่วงเวลาอื่นๆตามสะดวก ถ้าหากนักวิชาการหัวตะวันตกรู้ถึงแง่มุมทางการเมืองของมัจลิสเหล่านี้ และตระหนักถึงผลประโยชน์ของชาติบ้านเมือง พวกเขานี่แหล่ะที่จะจัดมัจลิสไว้อาลัยอิมามฮุเซน(.) ฉันหวังว่าการจัดมัจลิสเหล่านี้จะพัฒนาขึ้นทั้งในแง่จำนวนและคุณภาพ ทุกภาคส่วนมีอิทธิพลต่อผู้ฟังทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นผู้บรรยายที่มีชื่อเสียงไล่เรียงลงไปถึงนักอ่านบทกลอน ผู้ที่อ่านกลอนเพียงไม่กี่บท และผู้ที่เป็นนักบรรยายบนมิมบัร ล้วนมีอิทธิพลทางความคิดทั้งสิ้น แม้พวกเขาจะไม่รู้ตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่ مِنْ حِیْثُ لا یَشْعُرْ ..

กล่าวได้ว่าเราพัฒนาถึงขั้นที่สามารถปฏิวัติได้ในคราเดียว เสมือนการจุดระเบิดที่ไม่อาจหาที่ใดเปรียบปานได้ เราเคยเป็นชาติที่ต้องพึ่งพาชาติอื่นๆทุกด้าน ระบอบชาห์ทำให้เราสูญเสียทุกอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกียรติยศศักดิ์ศรีของชาติ ทันใดนั้นก็เกิดแรงระเบิดขึ้นโดยประชาชน ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากมัจลิสไว้อาลัยที่สามารถระดมผู้คนให้รวมศูนย์ได้ ประเด็นนี้เป็นสิ่งที่นักบรรยายและอิมามญุมอะฮ์และญะมาอัตควรจะอธิบายให้ประชาชนเข้าใจมากยิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดข้อครหาว่าเราเป็นชนชาติที่เอาแต่ร้องไห้ ทว่าที่ถูกต้องคือ เราเป็นชาติที่สามารถใช้น้ำตาโค่นบัลลังก์ที่ยืนยาวกว่า 2500 ปีเป็นผลสำเร็จ"[3]

เกี่ยวกับปรัชญาของการไว้อาลัยแด่อิมามฮุเซน(.)นั้น แนะนำให้หาอ่านจากบทความอื่นๆในเว็บไซต์นี้ อาทิเช่น คำถามที่ 348 และ 2302


[1] เศาะฮีฟะฮ์ อิมาม, เล่ม 13,หน้า 326, สถาบันเผยแพร่ผลงานของอิมามโคมัยนี,เตหราน,พิมพ์ครั้งที่สี่, 1386 (ศักราชอิหร่าน)

[2] อ้างแล้ว,เล่ม15,หน้า 330

[3] อ้างแล้ว,เล่ม 16,หน้า 344-348

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เหตุใดอัลลอฮ์จึงกำชับให้ขอบคุณต่อเนียะอฺมัตที่ทรงประทานให้?
    17651 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/10
    “ชุโกร”ในทางภาษาอรับหมายถึง การมโนภาพเนียะอฺมัต(ความโปรดปรานจากพระองค์)แล้วเผยความกตัญญูรู้คุณผ่านคำพูดหรือการกระทำ[i] ส่วนที่ว่าทำไมต้องชุโกรขอบคุณพระองค์ในฐานะที่ประทานเนียะอฺมัตต่างๆนั้น ขอให้ลองพิจารณาประเด็นต่อไปนี้:1.
  • ผู้ที่มาร่วมพิธีฝังศพท่านนบี(ซ.ล.)มีใครบ้าง?
    11038 تاريخ بزرگان 2555/03/14
    ตำราประวัติศาสตร์และฮะดีษของฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์เล่าเหตุการณ์ฝังศพท่านนบี(ซ.ล.)ว่า อลี บิน อบีฏอลิบ(อ.) และฟัฎล์ บิน อับบ้าส และอุซามะฮ์ บิน เซด ร่วมกันอาบน้ำมัยยิตแก่ท่านนบี บุคคลกลุ่มแรกที่ร่วมกันนมาซมัยยิตก็คือ อับบาส บิน อับดุลมุฏ็อลลิบและชาวบนีฮาชิม หลังจากนั้นเหล่ามุฮาญิรีน กลุ่มอันศ้อร และประชาชนทั่วไปก็ได้นมาซมัยยิตทีละกลุ่มตามลำดับ สามวันหลังจากนั้น ท่านอิมามอลี ฟัฎล์ และอุซามะฮ์ได้ลงไปในหลุมและช่วยกันฝังร่างของท่านนบี(ซ.ล.) หากเป็นไปตามรายงานดังกล่าวแล้ว อบูบักรและอุมัรมิได้อยู่ในพิธีฝังศพท่านนบี(ซ.ล.) แม้จะได้ร่วมนมาซมัยยิตเสมือนมุสลิมคนอื่นๆก็ตาม ...
  • สายรายงานของฮะดีษที่ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวแก่ชาวอรับเกี่ยวกับชาวเปอร์เซียว่า“พวกท่าน(อรับ)รบกับพวกเขา(เปอร์เซีย)เพื่อให้ยอมรับการประทานกุรอาน แต่ก่อนโลกนี้จะพินาศ พวกเขาจะรบกับพวกท่านเพื่อการตีความกุรอาน”เชื่อถือได้เพียงใด?
    7427 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/09/11
    ในตำราฮะดีษมีฮะดีษชุดหนึ่งที่มีนัยยะถึงการที่ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวกับชาวอรับเกี่ยวกับชาวเปอร์เซียว่า “พวกท่าน(อรับ)รบกับพวกเขา(เปอร์เซีย)เนื่องด้วยการประทานกุรอานแต่ก่อนโลกนี้จะพินาศพวกเขาก็จะรบกับพวกท่านเนื่องด้วยการตีความกุรอาน”สายรายงานของฮะดีษบทนี้เชื่อถือได้ ...
  • ริวายะฮ์(คำรายงาน)ที่มีความขัดแย้งกัน ยกตัวอย่างเช่น ริวายะฮ์ที่กล่าวถึงการจดบาปของมนุษย์ กับริวายะฮ์ทีกล่าวว่า การจดบาปจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าครบ ๗ วัน เราสามารถจะแก้ไขริวายะฮ์ทั้งสองได้อย่างไร?
    4185 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2561/11/05
    สำหรับคำตอบของคำถามนี้ จะต้องตรวจสอบในหลายประเด็นดังต่อไปนี้ ๑.การจดบันทึกเนียต(เจตนา)ในการทำบาป กล่าวได้ว่า จากการตรวจสอบจากแหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับการจดบันทึกเนียตในการทำบาปปรากฏว่าไม่มีริวายะฮ์รายงานเรื่องนี้แต่อย่างใด และโองการอัลกุรอานก็ไม่สามารถวินิจฉัยถึงเรื่องนี้ได้ เพราะว่า โองการอัลกุรอานกล่าวถึงความรอบรู้ของพระเจ้าในเนียตของมนุษย์ พระองค์อัลลอฮ์(ซ.บ)ทรงตรัสว่า เราได้สร้างมนุษย์ขึ้นมา และเรารู้ดียิ่งในสิ่งที่จิตใจของเขากระซิบกระซาบแก่เขา และเราอยู่ใกล้ชิดกับเขามากกว่าเส้นเลือดชีวิตของเขาเสียอีก ดังนั้น การที่พระองค์ทรงมีความรู้ในเจตนาทั้งหลาย มิได้หมายถึง การจดบันทึกว่าเป็นการทำบาปหรือเป็นบทเบื้องต้นในการทำบาป ๒.การจดบันทึกความบาปโดยทันทีทันใด ซึ่งเกี่ยวกับประเด็นนี้ก็ไม่ปรากฏริวายะฮ์ที่กล่าวถึง แต่ทว่า บางโองการอัลกุรอาน กล่าวถึง การจดบันทึกโดยทันทีทันใดในบาป ดั่งเช่น โองการที่กล่าวว่า (ในวันแห่งการตัดสิน บัญชีอะมั้ลการกระทำของมนุษย์)บันทึกจะถูกวางไว้ ดังนั้นเจ้าจะเห็นผู้กระทำความผิดบาปทั้งหลายหวั่นกลัวสิ่งที่มีอยู่ในบันทึก และพวกเขาจะกล่าวว่า โอ้ความวิบัติของเรา บันทึกอะไรกันนี่ มันมิได้ละเว้นสิ่งเล็กน้อย และสิ่งใหญ่โตเลย เว้นแต่ได้บันทึกไว้ครบถ้วน และพวกเขาได้พบสิ่งที่พวกเขาได้ปฏิบัติไว้ปรากฏอยู่ต่อหน้า และพระผู้เป็นเจ้าของเจ้ามิทรงอธรรมต่อผู้ใดเลย โองการนี้แสดงให้เห็นว่า ความผิดบาปทั้งหมดจะถูกจดบันทึกอย่างแน่นอนก ๓.การจดบันทึกความบาปจนกว่าจะครบ ๗ วัน มีรายงานต่างๆมากมายที่กล่าวถึง การไม่จดบาปในทันที แต่ทว่า มีรายงานหนึ่งกล่าวว่า ให้โอกาสจนกว่าจะครบ ๗ วัน ...
  • ถ้าหากพิจารณาบทดุอาอฺต่างๆ ในอัลกุรอาน จะเห็นว่าดุอาอฺเหล่านั้นได้ให้ความสำคัญต่อตัวเองก่อน หลังจากนั้นเป็นคนอื่น เช่นโองการอัลกุรอาน ที่กล่าวว่า “อะลัยกุม อันฟุซะกุม” แต่เมื่อพิจารณาดุอาอฺของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺจะพบว่าท่านหญิงดุอาอฺให้กับคนอื่นก่อนเป็นอันดับแรก, ดังนั้น ประเด็นนี้จะมีทางออกอย่างไร?
    8878 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ในตำแหน่งของการขัดเกลาจิตวิญญาณและยกระดับจิตใจตนเองนั้น, มนุษย์ต้องคำนึงถึงตัวเองก่อนบุคคลอื่นเพราะสิ่งนี้เป็นคำสั่งของอัลกุรอานและรายงานนั่นเอง, เนื่องจากถ้าปราศจากการขัดเกลาจิตวิญญาณแล้วการชี้แนะแนวทางแก่บุคคลอื่นจะบังเกิดผลน้อยมาก, แต่ส่วนในตำแหน่งของดุอาอฺหรือการวิงวอนขอสิ่งที่ต้องการจากพระเจ้า,ถือว่าเป็นความเหมาะสมอย่างยิ่งที่มนุษย์จะวอนขอให้แก่เพื่อนบ้านหรือบุคคลอื่นก่อนตัวเอง, ...
  • สำนวน طبیب دوار بطبه ที่ท่านอิมามอลี(อ.)ใช้กล่าวยกย่องท่านนบี หมายความว่าอย่างไร?
    6605 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/13
    ท่านอิมามอลี(อ.)เปรียบเปรยการรักษาโรคร้ายทางจิตวิญญาณมนุษย์โดยท่านนบี(ซ.ล.)ว่าطبیب دوّار بطبّه (แพทย์ที่สัญจรตามรักษาผู้ป่วยทางจิตวิญญาณ) ท่านเป็นแพทย์ที่รักษาโรคแห่งอวิชชาและมารยาทอันต่ำทรามโดยสัญจรไปพร้อมกับโอสถทิพย์ของตน
  • เป้าหมายและโปรแกรมต่างๆ ของชัยฏอนคืออะไร?
    9162 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    1.ลวงล่อให้มนุษย์ทั้งหลายหลงทาง2.เชิญชวนมนุษย์ทั้งหลายไปสู่การกระทำที่บิดเบือนและการอุปโลกน์ต่างๆ3. หยุแหย่มนุษย์ในการเปลี่ยนแปลงการสร้างสรรค์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) และโปรแกรมต่างๆซึ่งอัลกุรอานได้พาดพิงถึงชัยฏอน ...
  • บุคลิกของอุบัย บิน กะอฺบ์?
    9021 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    อุบัย บิน กะอฺบ์ เป็นหนึ่งของสหายที่มีชื่อเสียงที่สุดของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และเป็นผู้มีเกียรติยิ่งทั้งในหมู่อะฮฺลิซุนนะฮฺ และชีอะฮฺ แหล่งอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺมีบันทึกรายงานฮะดีซจำนวหนึ่ของเขาไว้ด้วย นักปราชญ์ผู้อาวุโสฝ่ายฮะดีซ, ยอมรับว่าเขาเป็นสหายของท่านศาสดา และเป็นหนึ่งในผู้บันทึกวะฮฺยู เมื่อพิจารณารายงานที่มาจากเขา, สามารถเข้าใจได้ถึงความรักที่เขามีต่ออะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอิมามอะลี (อ.) ...
  • ทำอย่างไรจึงจะลดความรีบร้อน?
    7537 จริยธรรมทฤษฎี 2555/05/23
    ความรีบร้อนลนลานถือเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในทัศนะของศาสนา ซึ่งในที่นี้ก็หมายถึงการรีบกระทำสิ่งใดโดยพละการนั่นเอง การรีบร้อนแตกต่างจากการรีบเร่งทั่วไป เพราะการรีบเร่งหมายถึงการรีบกระทำการใดทันทีที่ทุกอย่างพร้อม สิ่งที่ตรงข้ามกับการรีบร้อนก็คือ “ตะอันนี” และ “ตะษับบุต”อันหมายถึงการตรึกตรองอย่างรอบคอบก่อนลงมือกระทำการใดๆ เมื่อพิจารณาถึงข้อเสียของการรีบร้อน และข้อดีของการตรึกตรองอันเป็นคุณลักษณะของกัลยาณชนเฉกเช่นบรรดาศาสดา ทำให้ได้ข้อสรุปว่าก่อนกระทำการใดควรตรึกตรองอย่างมีสติเสมอ และหากหมั่นฝึกฝนระยะเวลาหนึ่ง แม้จะเป็นเรื่องยากก็ตาม แต่สุดท้ายก็จะติดเป็นนิสัย อันจะลบเลือนนิสัยรีบร้อนที่มีอยู่เดิม และจะสร้างเสริมให้เป็นผู้ที่มีความสุขุม ...
  • รายงานฮะดีซกล่าวว่า:การสร้างความสันติระหว่างบุคคลสองคน ดีกว่านมาซและศีลอด วัตถุประสงค์คืออะไร ?
    6118 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/17
    เหมือนกับว่าการแปลฮะดีซบทนี้ มีนักแปลบางคนได้แปลไว้แล้ว ซึ่งท่านได้อ้างถึง, ความอะลุ่มอล่วยนั้นเป็นที่ยอมรับ, เนื่องจากเมื่อพิจารณาใจความภาษาอรับของฮะดีซที่ว่า "صَلَاحُ ذَاتِ الْبَيْنِ أَفْضَلُ مِنْ عَامَّةِ الصَّلَاةِ وَ الصِّيَام‏" เป็นที่ชัดเจนว่า เจตนาคำพูดของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต้องการกล่าวว่า การสร้างความสันติระหว่างคนสองคน, ดีกว่าการนมาซและการถือศีลอดจำนวนมากมาย[1] แต่วัตถุประสงค์มิได้หมายถึง นมาซหรือศีลอดเป็นเวลาหนึ่งปี หรือนมาซและศีลอดทั้งหมด เนื่องจากคำว่า “อามะตุน” ในหลายที่ได้ถูกใช้ในความหมายว่า จำนวนมาก เช่น ประโยคที่กล่าวว่า : "عَامَّةُ رِدَائِهِ مَطْرُوحٌ بِالْأَرْض‏" หมายถึงเสื้อผ้าส่วนใหญ่ของเขาลากพื้น[2] ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59467 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56926 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41728 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38484 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38467 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33504 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27576 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27307 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27194 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25270 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...