การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7621
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/01/19
 
รหัสในเว็บไซต์ fa8506 รหัสสำเนา 20879
คำถามอย่างย่อ
การปฏิเสธฮะดีษโดยยึดถือเพียงกุรอานจะทำให้เกิดเอกภาพในหมู่มุสลิมจริงหรือ?
คำถาม
ล่าสุดมีบางกลุ่มที่ถือว่าตนไม่ไช่วะฮาบีแต่มีความเชื่อคล้ายพวกวะฮาบี อ้างว่าความขัดแย้งระหว่างมุสลิมเกิดจากการยึดถือฮะดีษ และเชื่อว่าวิชาริญ้าลไม่น่าเชื่อถือ เพราะทำให้ชีอะฮ์และซุนหนี่วินิจฉัยหุกุ่มศาสนาต่างกัน วิธีแก้ก็คือการยึดถือเพียงกุรอานและตัดฮะดีษออกไปจากสารบบนิติศาสตร์อิสลาม หน้าที่ที่จะต้องเชื่อฟังท่านนบีจำกัดเพียงในวงเนื้อหากุรอานเท่านั้น นอกเหนือจากนั้นให้ถือว่าเป็นคำแนะนำ มิไช่ข้อบังคับ
คำถามแรก. คำตอบใดตอบข้อกล่าวอ้างดังกล่าวได้ดีที่สุดจากมุมมองภายในและภายนอกศาสนา?
คำถามที่สอง. กลุ่มดังกล่าวเป็นใครมาจากใหนกันแน่?
คำตอบโดยสังเขป

ความเชื่อในการยึดถือเพียงกุรอานและปฏิเสธฮะดีษมีมาตั้งแต่ยุคแรกของอิสลาม แหล่งอ้างอิงทั้งฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ต่างบันทึกตรงกันว่า ช่วงบั้นปลายชีวิตของท่านนบี(..) เมื่อท่านสั่งให้นำปากกาและหมึกมาบันทึกคำสั่งเสียของท่าน เพื่อประชาชาติอิสลามจะไม่หลงทางภายหลังจากท่านนั้น เคาะลีฟะฮ์ที่สอง อุมัร บิน ค็อฏฏ้อบกลับคัดค้านคำสั่งดังกล่าวพร้อมกับกล่าวว่าคัมภีร์ของอัลลอฮ์(กุรอาน)เพียงพอแล้วสำหรับเรา (ไม่จำเป็นต้องใช้ซุนนะฮ์นบี)
ไม่มีใครสามารถจะอ้างได้ว่าไม่จำเป็นต้องมีฮะดีษ ถามว่ารายละเอียดหน้าที่ทางศาสนามีอยู่ในกุรอานอย่างครบถ้วนหรือไม่? ข้อปลีกย่อยของฟัรฎูต่างๆอาทิเช่น นมาซ, ศีลอด, ซะกาต, ฮัจย์ ฯลฯ มีในกุรอานกระนั้นหรือ?
กุรอานกล่าวว่าสิ่งที่ศาสนทูตนำมาก็จบรับไว้(ปฏิบัติตาม) และสิ่งที่เขาระงับก็จงหลีกเลี่ยง จงยำเกรงต่อพระองค์ เพราะพระองค์ทรงมีบทลงโทษอันรุนแรง[i]

แน่นอนว่าคำสั่งและข้อห้ามปรามของท่านนบี(..)ก็คือซุนนะฮ์ของท่านนั่นเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาให้เราปฏิบัติตาม
อะห์มัด บิน ฮัมบัล หนึ่งในอิมามทั้งสี่ของพี่น้องซุนหนี่กล่าวไว้ในหนังสือมุสนัดว่า ท่านนบี(..)กล่าวว่าฉันได้ฝากฝังสองสิ่งเลอค่าซึ่งมีคุณค่าต่างกันไว้ในหมู่พวกท่าน นั่นคือ คัมภีร์ของอัลลอฮ์อันเปรียบดั่งสายเชือกที่เชื่อมโยงระหว่างฟากฟ้าและปฐพี และวงศ์วานอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน สองสิ่งนี้จะไม่พรากจากกันกระทั่งบรรจบกับฉัน  บ่อน้ำเกาษัร
จะเห็นได้ว่าในฮะดีษนี้ ท่านนบี(..)และอะฮ์ลุลบัยต์(.)ได้รับการจัดให้เคียงคู่กุรอาน อันหมายความว่า ดังที่มุสลิมทุกคนมีหน้าที่ต้องยึดถือกุรอานฉันใด พวกเขาก็จะต้องยึดถืออะฮ์ลุลบัยต์ในภาวะจำเป็นฉันนั้น สองสิ่งนี้จะสมบูรณ์เมื่อเคียงคู่กัน การเลือกยึดถืออย่างใดอย่างหนึ่งจะทำให้สิ่งนั้นบกพร่อง



[i] อัลฮัชร์,7

คำตอบเชิงรายละเอียด

ข้อครหาดังกล่าวมิไช่ประเด็นใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น หากแต่เป็นประเด็นต้นๆที่เกิดขึ้นภายหลังนบีเสียชีวิต หรืออาจกล่าวได้ว่าเกิดขึ้นตั้งแต่ท่านนบี(..)ยังมีชีวิตอยู่แล้วโดยบุคคลบางคน
เราจึงขอเท้าความถึงภูมิหลังดังกล่าวเสียก่อน แล้วจึงวิเคราะห์และตอบคำถาม

ความเชื่อในการยึดถือเพียงกุรอานและปฏิเสธฮะดีษมีมาตั้งแต่ยุคแรกของอิสลาม แหล่งอ้างอิงทั้งฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ต่างบันทึกตรงกันว่า ช่วงบั้นปลายชีวิตของท่านนบี(..) ท่านสั่งให้นำปากกาและหมึกมาบันทึกคำสั่งเสียของท่าน เพื่อประชาชาติอิสลามจะไม่หลงทางภายหลังจากท่าน เคาะลีฟะฮ์ที่สอง อุมัร บิน ค็อฏฏ้อบกลับคัดค้านคำสั่งดังกล่าวพร้อมกับกล่าวว่าคัมภีร์ของอัลลอฮ์(กุรอาน)เพียงพอแล้วสำหรับเรา (ไม่จำเป็นต้องใช้ซุนนะฮ์นบี)

เราขออ้างอิงจากตำราที่น่าเชื่อถือที่สุดของพี่น้องซุนหนี่ดังนี้
เศาะฮี้ห์บุคอรี, มุสลิม, มุสนัดอะห์มัด ฯลฯ รายงานว่า อิบรอฮีม บิน มูซารายงานจาก ฮิชาม บินมุอัมมัร จากอับดุลลอฮ์ บินมุฮัมมัด จากอับดุรร็อซซ้าก จากมุอัมมัร จากซุฮ์รี จากอุบัยดิลลาฮ์ บิน อับดุลลอฮ์ บิน อับบาสว่า อิบนิ อับบาสเคยกล่าวว่า ช่วงบั้นปลายอายุขัยของท่านนบี(..)มีเศาะฮาบะฮ์กลุ่มหนึ่งเข้าพบท่านนบี ซึ่งอุมัร บิน ค็อฏฏ้อบก็อยู่ในจำนวนนั้นด้วย ท่านนบี(..)กล่าวว่าจงมาใกล้ๆเถิด เพื่อจะเขียนบางสิ่งที่พวกท่านจะไม่มีวันหลงทางหลังจากฉันอุมัรพูดขึ้นว่าความเจ็บปวดมีอิทธิพลเหนือท่าน พวกเจ้ามีกุรอานอยู่แล้ว คัมภีร์ของอัลลอฮ์เพียงพอแล้วสำหรับเรา[1] พลันเศาะฮาบะฮ์เกิดมีปากเสียงต่อหน้าท่านนบี(..) ท่านจึงสั่งว่าจงลุกไปจากฉัน ไม่บังควรที่จะต่อล้อต่อเถียงกันต่อหน้าฉัน[2]
อุบัยดุลลอฮ์เล่าว่า อิบนิ อับบาสโอดครวญว่าโศกนาฏกรรมเริ่มตั้งแต่พวกเขาขวางกั้นมิให้ท่านบันทึกคำสั่งเสีย[3]

คำตอบต่อไปนี้เป็นคำตอบจากมุมมองภายในและภายนอกศาสนา และยังถือเป็นคำตอบสำหรับแนวคิดของเคาะลีฟะฮ์ที่สองได้อีกด้วย

เหตุผลที่หนึ่ง: สติปัญญา
สมมุติว่ามุสลิมทั้งโลกเชื่อว่ากุรอานเพียงพอแล้ว และไม่จำเป็นต้องพึ่งพาฮะดีษ ถามว่าความเชื่อนี้ตรงกับข้อเท็จจริงหรือไม่?
หากจะเชื่อถือเพียงกุรอาน ถามว่าทุกคนเข้าใจกุรอานไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่?
แม้ว่าทุกคนทราบคำตอบได้ด้วยสามัญสำนึก แต่เราขอชี้แจงเรื่องดังกล่าวพอสังเขปตามแนวคิดที่ว่าเราจะเชื่อว่าสิ่งใดเกิดขึ้น ต้องสังเกตุว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นจริงแล้วหรือยัง

. เป็นที่ทราบกันดีว่าในหมู่พี่น้องมุสลิมเอง ไม่ว่าซุนหนี่หรือชีอะฮ์ ก็มิได้เข้าใจโองการกุรอานในทิศทางเดียวกัน กล่าวได้ว่ามีหลักศรัทธาหรือข้อบังคับไม่กี่ข้อที่นักอธิบายกุรอานทุกคนจะมีทัศนะเป็นเอกฉันท์[4]

. ไม่มีใครสามารถจะอ้างได้ว่าไม่จำเป็นต้องมีฮะดีษ ทั้งนี้ ถามว่ารายละเอียดข้อบังคับศาสนามีอยู่ในกุรอานอย่างครบถ้วนหรือไม่? ข้อปลีกย่อยของฟัรฎูต่างๆอาทิเช่น นมาซ, ศีลอด, ซะกาต, ฮัจย์ ฯลฯ มีในกุรอานกระนั้นหรือ?

. หากเราเชื่อดังที่กล่าวมา แล้วจะทำอย่างไรกับตำราฮะดีษที่มีจำนวนมากมายมหาศาลของพี่น้องซุนหนี่ อาทิเช่น เศาะฮี้ห์บุคอรี มุสลิม สุนันอบีดาวู้ด สุนันติรมิซี สุนันนะซาอี สุนันอิบนิมาญะฮ์ และอีกเป็นร้อยเป็นพันเล่ม

เหตุผลที่สอง: มติปวงปราชญ์(อิจมาอ์)
ปัจจุบันนี้ ทุกมัซฮับไม่ว่าจะเป็นมัซฮับหลักความเชื่อหรือมัซฮับฟิกเกาะฮ์ล้วนเห็นพ้องกันว่าเราขาดฮะดีษไม่ได้ ไม่มีฟะกี้ฮ์หรือนักเทววิทยามุสลิมคนใดที่เชื่อว่ามุสลิมไม่จำเป็นต้องพึ่งพาฮะดีษในภาคความเชื่อและภาคปฏิบัติ[5]

เหตุผลที่สาม: กุรอาน
กุรอานกล่าวว่าสิ่งที่ศาสนทูตมอบให้ก็จงรับไว้(ปฏิบัติตาม) และสิ่งที่ศาสนทูตยับยั้งก็จงหลีกเลี่ยง จงยำเกรงต่อพระองค์ แท้จริงพระองค์ทรงมีบทลงโทษอันรุนแรง[6]
แม้ว่าโองการข้างต้นจะประทานมาในเหตุการณ์แบ่งสินสงครามบนีนะฎี้รก็ตาม แต่เนื่องจากเป็นพระดำรัสในเชิงกว้าง จึงครอบคลุมวิถีชีวิตของมุสลิมทุกคน[7] และเป็นหลักฐานบ่งชี้ว่าสามารถยึดถือซุนนะฮ์นบี(..)ได้[8]

หลักการดังกล่าวสอนว่ามุสลิมทุกคนมีหน้าที่จะต้องเชื่อฟังคำสั่งของท่านนบี(..)โดยดุษณี ไม่ว่าจะในด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ อิบาดะฮ์ และด้านอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โองการดังกล่าวเตือนว่าผู้ฝ่าฝืนจะถูกลงโทษแสนสาหัส[9]

แน่นอนว่าคำสั่งและข้อห้ามปรามของท่านนบี(..)ก็คือซุนนะฮ์ของท่านนั่นเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาให้เราปฏิบัติตาม
ในจุดนี้ บางท่านอาจสงสัยว่าเหตุใดอัลลอฮ์จึงสั่งให้มนุษยชาติเชื่อฟังท่านนบี(..)โดยปราศจากข้อแม้ใดๆ?
เราจะตอบปัญหาข้างต้นได้ก็ต่อเมื่อยอมรับเสียก่อนว่าท่านและวงศ์วานของท่านล้วนเป็นผู้มีภาวะไร้บาป(มะอ์ศูม)
ฮะดีษมากมาย[10]ระบุว่า เหตุที่อัลลอฮ์ทรงประทานอำนาจหน้าที่แก่ท่านนบีถึงเพียงนี้ก็เพราะว่าทรงพิจารณาแล้วว่าท่านนบีเป็นผู้ที่เปี่ยมด้วยจริยธรรมอันยิ่งใหญ่[11] 

เหตุผลที่สี่: ฮะดีษ
มีฮะดีษมากมายทั้งฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ที่รณรงค์ให้ยึดถือฮะดีษ อาทิเช่นฮะดีษษะเกาะลัยน์ที่ปรากฏในตำราฮะดีษของซุนหนี่และชีอะฮ์อย่างเป็นเอกฉันท์
อะห์มัด บิน ฮัมบัล หนึ่งในอิมามทั้งสี่ของพี่น้องซุนหนี่กล่าวไว้ในหนังสือมุสนัดว่า อัสวัด บินอามิร รายงานจากอบูอิสรออีล (อิสมาอีล บิน อิสฮ้าก มุลาอี) จากอะฎียะฮ์ จากอบูสะอี้ด รายงานว่าท่านนบี(..)กล่าวว่าฉันได้ฝากฝังสองสิ่งเลอค่าซึ่งมีคุณค่าต่างกันไว้ในหมู่พวกท่าน นั่นคือ คัมภีร์ของอัลลอฮ์อันเปรียบดั่งสายเชือกที่เชื่อมโยงระหว่างฟากฟ้าและปฐพี และวงศ์วานอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน สองสิ่งนี้จะไม่พรากจากกันกระทั่งบรรจบกับฉัน  บ่อน้ำเกาษัร[12]
จะเห็นได้ว่าในฮะดีษนี้ ท่านนบี(..)และอะฮ์ลุลบัยต์(.)ได้รับการจัดให้เคียงคู่กุรอาน อันหมายความว่า ดังที่มุสลิมทุกคนมีหน้าที่ต้องยึดถือกุรอานฉันใด พวกเขาก็จะต้องยึดถืออะฮ์ลุลบัยต์ในภาวะจำเป็นฉันนั้น สองสิ่งนี้จะสมบูรณ์เมื่อเคียงคู่กัน การเลือกยึดถืออย่างใดอย่างหนึ่งจะทำให้สิ่งนั้นบกพร่อง

สรุปคือ หนึ่ง.เป็นไปไม่ได้ที่จะปฏิบัติตามข้อบังคับและดำเนินชีวิตตามวิถีมุสลิมโดยปราศจากฮะดีษ สอง. สมมุติว่าไม่พึ่งพาฮะดีษ ความขัดแย้งก็หาได้ลดลงไม่ อาจจะมากกว่าที่เป็นอยู่ด้วยซ้ำ



[1] บทที่รายงานโดยอิบนิอุมัร “...แท้จริงนบีกำลังเพ้อเจ้อ”,นะฮ์ญุ้ลฮักวะกัชฟุศศิดก์,หน้า 333

[2] เศาะฮี้ห์บุคอรี,เล่ม 17,หน้า 417,ฮะดีษที่ 5237, และเศาะฮี้ห์มุสลิม,เล่ม 8,หน้า 414, และมุสนัดอะห์มัด,เล่ม 6,หน้า 368,478, ที่มา: http://www.al-islam.com

[3] ฮิลลี่,นะฮ์ญุ้ลฮักวะกัชฟุศศิดก์,หน้า 333,สำนักพิมพ์ดารุ้ลฮิจเราะฮ์,กุม,..1407

[4] กรุณาศึกษาเพิ่มเติมจากตำราตัฟซี้รของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์

[5] อิจมาอ์ในที่นี้มิได้หมายถึงอิจมาอ์เชิงฟิกเกาะฮ์ แต่หมายถึงทัศนะอันเป็นเอกฉันท์ที่สามารถเป็นหลักฐานสำหรับเราได้

[6] อัลฮัชร์, 7 وَ ما آتاکُمُ الرَّسُولُ فَخُذُوهُ وَ ما نَهاکُمْ عَنْهُ فَانْتَهُوا وَ اتَّقُوا اللَّهَ إِنَّ اللَّهَ شَدیدُ الْعِقابِ

[7] المورد لا یخصّص الوارد

[8] ฟัครุดดีน รอซี, อบูอับดิลลาฮ์ มุฮัมมัด บินอุมัร, มะฟาตีฮุ้ลฆ็อยบ์,เล่ม 29,หน้า 507,สำนักพิมพ์ดารุอิห์ยาอิตตุร้อษ อัลอะเราะบี,เบรุต,พิมพ์ครั้งที่สาม,..1420

[9] و الأجود أن تکون هذه الآیة عامة فی کل ما آتى رسول اللَّه و نهى عنه و أمر الفی‏ء داخل فی عمومه : เฏาะบาเฏาะบาอี,ซัยยิดมุฮัมมัดฮุเซน,อัลมีซานฟีตัฟซีริลกุรอาน,เล่ม 19,หน้า 353,สำนักพิมพ์อินติชาร้อตอิสลามีของญามิอะฮ์มุดัรริซีน สถาบันการศาสนาเมืองกุม,พิมพ์ครั้งที่ห้า /อายะฮ์นี้มิได้จำกัดเนื้อหาไว้เพียงเหตุการณ์ที่ประทานลงมาในเรื่องสัดส่วนของสินสงคราม แต่ครอบคลุมคำสั่งและข้อห้ามปรามทั้งหมดของท่านนบี(..)

[10] มะการิม ชีรอซี,นาศิร,ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 23,หน้า 507- 508, สำนักพิมพ์ดารุลกุตุบอัลอิสลามียะฮ์,เตหราน,พิมพ์ครั้งแรก,1375

[11] มีฮะดีษที่กล่าวถึงประเด็นนี้จำนวนมาก โปรดอ่านตัฟซี้รนูรุษษะเกาะลัยน์,เล่ม 5,หน้า 279-283
ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 23,หน้า 509,510

[12] มุสนัดอะห์มัด,เล่ม 22,หน้า 226,252,324 เล่ม 39,หน้า 308

حَدَّثَنَا أَسْوَدُ بْنُ عَامِرٍ أَخْبَرَنَا أَبُو إِسْرَائِیلَ یَعْنِی إِسْمَاعِیلَ بْنَ أَبِی إِسْحَاقَ الْمُلَائِیَّ عَنْ عَطِیَّةَ عَنْ أَبِی سَعِیدٍ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَیْهِ وَسَلَّمَ إِنِّی تَارِکٌ فِیکُمْ الثَّقَلَیْنِ أَحَدُهُمَا أَکْبَرُ مِنْ الْآخَرِ کِتَابُ اللَّهِ حَبْلٌ مَمْدُودٌ مِنْ السَّمَاءِ إِلَى الْأَرْضِ وَعِتْرَتِی أَهْلُ بَیْتِی وَإِنَّهُمَا لَنْ یَفْتَرِقَا حَتَّى یَرِدَا عَلَیَّ الْحَوْضَ

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ชีวิตและจิตวิญญาณต้องนอนหลับหรือตายด้วยหรือไม่ ?
    6373 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    ปัญหาเรื่องจิตวิญญาณและแก่นแท้ของมันเป็นปัญหาที่พิพาทถกเถียงกันมาตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันซึ่งจัดได้ว่าเป็นปัญหาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งคำถามข้างต้นก็ได้ก็เป็นผลพวงและแหล่งที่มาจากคำถามนี้เองที่ว่าแก่นแท้ของมนุษย์ก็คือ กายภาพอันเป็นวัตถุตามลักษณะที่ปรากฏกระนั้นหรือหรือว่าเบื้องหลังของมันยังมีสิ่งอื่นที่ซ่อนเร้นอยู่อีกซึ่งตาเนื้อธรรมดาไม่อาจมองเห็นได้ซึ่งอยู่นอกเหนือคุณสมบัติของวัตถุและมีลักษณะศักดิ์สิทธิ์และถ้าเป็นเช่นนั้นจริงสิ่งนั่นเป็นวัตถุหรือนามธรรมที่ไร้สถานะและชะตากรรมของสิ่งนั้นภายหลังจากการตายของร่างกายจะเป็นอย่างไร?คำตอบสำหรับคำถามข้างต้นนี้สามารถอธิบายในเชิงของทฤษฎีบท,ในลักษณะที่เป็นเชิงตรรกะเพื่อจะได้ไปถึงยังบทสรุป
  • จุดประสงค์ของการสร้างคืออะไร จงอธิบายเหตุผลในเชิงเหตุผลนิยม ถ้าเป้าหมายคือความสมบูรณ์แล้วทำไมพระเจ้าไม่ทรงสร้างมนุษย์ให้สมบูรณ์แบบ
    13106 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    พระเจ้าคือผู้ดำรงอยู่ที่ไม่มีความจำกัด พระองค์ทรงมีความสมบูรณ์แบบทุกประการ การสร้าง (บังเกิด) เป็นความงดงาม และพระองค์คือผู้มีความงดงามความงดงามอันสมบูรณ์แบบของพระองค์ เป็นตัวกำหนดว่าพระองค์ทรงสร้างทุกอย่างขึ้นตามคุณค่าของมัน ดังนั้น พระเจ้าทรงสร้างเป็นเพราะพระองค์คือผู้งดงาม หมายถึงจุดประสงค์และเป้าหมายในการสร้างของพระองค์นั้นงดงาม อีกด้านหนึ่งคุณลักษณะอาตมันของพระเจ้าไม่ได้แยกออกจากอาตมันของพระองค์ จึงสามารถกล่าวได้ว่าจุดประสงค์ของการสร้างคือ อาตมันของพระเพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์มาโดยให้มีแนวโน้มที่ดีและความชั่วร้ายภายใน และทรงประทานผู้เชิญชวนภายนอก 2 ท่าน ที่ดีได้แก่ศาสดา (นบี) และความชั่วร้ายได้แก่ชัยฎอน (ปีศาจ), ทั้งนี้มนุษย์สามารถบรรลุความสมบูรณ์สูงสุดของสรรพสิ่งที่อยู่หรือก้าวไปสู่ความชั่วช้าที่ต่ำทรามที่สุดก็เป็นได้ ทั้งที่มนุษย์นั้นมีพลังของเดรัจฉานและการลวงล่อของซาตานที่ล่อลวงอยู่ตลอดเวลา ...
  • เหตุใดท่านอิมามอลี(อ.)จึงวางเฉยต่อการหมิ่นประมาทท่านหญิงฟาฏิมะฮ์?
    7196 ประวัติหลักกฎหมาย 2554/10/09
    การที่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ถูกทุบตีมิได้ขัดต่อความกล้าหาญของท่านอิมามอลี(อ.) เพราะในสถานการณ์นั้นท่านต้องเลือกระหว่างการจับดาบขึ้นสู้เพื่อทวงสิทธิของครอบครัวที่ถูกละเมิดหรือจะอดทนสงวนท่าทีแล้วหาทางช่วยเหลืออิสลามด้วยวิธีอื่นจากการที่การจับดาบขึ้นสู้ในเวลานั้นเท่ากับการต่อต้านและสร้างความแตกแยกในหมู่มุสลิมอันจะทำให้สังคมมุสลิมยุคแรกอ่อนเปลี้ยส่งผลให้กองทัพโรมันเหล่าศาสดาจอมปลอมและผู้ตกศาสนาจ้องตะครุบให้สิ้นซากท่านอิมามอลี(อ.)ยอมสละความสุขของตนและครอบครัวเพื่อผดุงไว้ซึ่งอิสลามศาสนาที่เป็นผลงานคำสอนทั้งชีวิตของท่านนบี(ซ.ล.)และการเสียสละของเหล่าชะฮีดในสมรภูมิต่างๆ ...
  • ท่านอิมามฮุซัยนฺและเหล่าสหายในวันอาชูทั้งที่มีน้ำอยู่เพียงน้อยนิด และฆุซลฺได้อย่างไร?
    5642 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/11/21
    การพิจารณาและวิเคราะห์รายงานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความกระหายของเหล่าสหายและบรรดาอธฮฺลุลบัยตฺของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) และรายงานที่กล่าวถึงการฆุซลฺ (อาบน้ำตามหลักการ
  • ทำไมเราจึงต้องมีเพียงสิบสองอิมามเท่านั้น ในยุคสมัยของอิมามที่ไม่ปรากฏตัว เราจะสามารถหาทางรอดพ้นได้อย่างไร?
    6370 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/03
    ตำแหน่งอิมามเป็นตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระผู้เป็นเจ้า การกำหนดตัวบุคคลที่จะขึ้นมาเป็นอิมามและจำนวนของอิมามนั้นขึ้นกับพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าและทางเดียวที่เราจะสามารถรับรู้ถึงเจตนาดังกล่าวได้ก็คือฮะดีษของท่านศาสดาแห่งอิสลาม (ศ็อลฯ) นั่นเองท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวถึงบุคคลและจำนวนของอิมาม(อ
  • ฮะดีษที่ว่า “ผู้ใดสิ้นลมโดยปราศจากสัตยาบัน ถือว่าเขาตายในสภาพญาฮิลียะฮ์” รวมถึงตัวท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยหรือไม่?
    7978 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/01/19
    สัตยาบัน(บัยอัต)มีสองด้านด้านหนึ่งคือผู้นำ(นบี,อิมาม) อีกด้านหนึ่งคือผู้ตามในเมื่อท่านนบีเป็นผู้นำจึงถือเป็นฝ่ายได้รับสัตยาบันมิไช่ฝ่ายที่ต้องให้สัตยาบันแน่นอนว่าฮะดีษนี้ต้องการจะสื่อว่าลำพังการรู้จักอิมามยังไม่ถือว่าเพียงพอแต่จะต้องเจริญรอยตามด้วยอย่างไรก็ดีฮะดีษข้างต้นมิได้หมายรวมถึงท่านนบี(ซ.ล.)เนื่องจากเหตุผลที่กล่าวไปแล้วส่วนประเด็นการแต่งตั้งตัวแทนภายหลังจากท่านนบี(ซ.ล.)นั้นเรามีหลักฐานที่ชัดเจนระบุว่าท่านนบี(ซ.ล.)ได้แต่งตั้งท่านอิมามอลี(อ.)เป็นตัวแทนภายหลังจากท่านรายละเอียดโปรดคลิกอ่านจากคำตอบแบบสมบูรณ์ ...
  • ศาสนาและวัฒนธรรมมีความสัมพันธ์กันอย่างไร?
    12885 เทววิทยาใหม่ 2554/06/02
    การที่จะสามารถนิยามความสัมพันธระหว่างศาสนาและวัฒนธรรมจารีตได้นั้นขั้นแรกต้องเข้าใจถึงลักษณะจำเพาะเป้าประสงค์และผลผลิตของทั้งศาสนาและวัฒนธรรมเสียก่อน.บางคนปฎิเสธความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและวัฒนธรรมโดยสิ้นเชิงทัศนคตินี้ค่อนข้างจะไร้เหตุผลทั้งนี้ก็เพราะแม้ว่าวัฒนธรรมจารีตบางประเภทอาจจะผิดแผกและไม่เป็นที่ยอมรับโดยศาสนาเนื่องจากขัดต่อเป้าประสงค์ที่ศาสนามุ่งนำพามนุษย์สู่ความผาสุกแต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่ายังมีวัฒนธรรมจารีตอีกมากมายที่สอดคล้องและได้รับการยอมรับโดยศาสนายิ่งไปกว่านั้นยังมีวัฒนธรรมจารีตบางส่วนที่เกิดขึ้นจากคุณค่าที่ได้รับการฟูมฟักโดยศาสนาเช่นกัน. ...
  • หากในท้องปลาที่ตกได้ มีปลาตัวอื่นอีกด้วย จะรับประทานได้หรือไม่?
    5871 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/17
    มีการสอบถามคำถามทำนองนี้ไปยังสำนักงานของบรรดามัรญะอ์ตักลีดบางท่านซึ่งท่านได้ให้คำตอบดังนี้ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอี:ปลาที่ตกได้ถือว่าฮะลาลท่านอายาตุลลอฮ์ซิซตานี:อิห์ติยาฏวาญิบ(สถานะพึงระวัง) ถือว่าเป็นฮะรอมท่านอายาตุลลอฮ์ฟาฎิลลังกะรอนี:หากปลาที่ตกมาได้เป็นปลาประเภทฮาลาลก็ถือว่าเป็นอนุมัติท่านอายาตุลลอฮ์มะการิมชีรอซี:อิห์ติยาฏควรจะหลีกเลี่ยง[1]อายาตุลลอฮ์อะรอกี:อิห์ติยาฏควรจะหลีกเลี้ยงเนื่องจากเราไม่สามารถรู้ได้ว่าตอนที่มันออกมามีชีวิตหรือไม่ดังนั้นถือว่าไม่สะอาด[2]อายาตุลลอฮ์นูรีฮาเมดอนี:ถือว่าฮาลาล[3]ดังที่ได้กล่าวมาจะเห็นได้ว่าบรรดามัรญะอ์มีทัศนะที่แตกต่างกันไปเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแต่สามารถสรุปได้โดยรวมว่าหากมีสัตว์ที่อยู่ในท้องของปลาที่จับมาได้หากสัตว์ตัวนั้นเป็นปลาหรือเป็นสัตว์น้ำชนิดที่รับประทานได้ตามหลักศาสนาโดยขณะที่เราเอาผ่าออกมาเราแน่ใจว่าสัตว์น้ำดังกล่าวยังมีชีวิตอยู่ถือว่าฮาล้าลส่วนกรณีที่ต่างไปจากนี้อาทิเช่นเมื่อได้ผ่าท้องปลาและเห็นว่าสัตว์ที่อยู่ในท้องมันตายแล้วก่อนหน้านั้นถือว่าไม่สามารถรับประทานสัตว์น้ำดังกล่าวได้ส่วนในกรณีที่สาม (ไม่รู้ว่าสัตว์น้ำในท้องปลายังมีชีวิตหรือไม่) ในกรณีนี้บรรดามัรญะอ์มีทัศนะที่แตกต่างกันไปดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นดังนั้นมุกัลลัฟแต่ละจะต้องทำตามฟัตวาของมัรญะอ์ของตน
  • อัลลอฮฺ ทรงอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ธรรมชาติด้วยหรือไม่?
    5818 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/07
    อัลลอฮฺ คือพระผู้ทรงกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ทางธรรมชาติ อาตมันสากลของพระองค์มิได้อยู่ภายใต้อำนาจของสิ่งใดทั้งสิ้น นอกจากความต้องการของพระองค์ หรือเว้นเสียแต่ว่าความประสงค์ของพระองค์ต้องการที่จะปฏิบัติภารกิจหนึ่ง ซึ่งทรงเป็นสาเหตุของการเกิดสิ่งนั้น ขณะเดียวกันการละเมิดกฎต่างๆในโลกที่ต่ำกว่า โดยพลังอำนาจที่ดีกว่าของพระองค์ถือเป็น กฎเกณฑ์อันเฉพาะ และเป็นประกาศิตที่มีความเป็นไปได้เสมอ ซึ่งเราเรียกสิ่งนั้นว่า ปาฏิหาริย์,แน่นอน ปาฏิหาริย์มิได้จำกัดอยู่ในสมัยของบรรดาศาสดาเท่านั้น ทว่าสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกสมัย เพียงแต่ว่าปาฏิหาริย์ได้ถูกมอบแก่บุคคลที่เฉพาะเท่านั้น เป็นความถูกต้องที่ว่าความรู้มีความจำกัดและขึ้นอยู่ยุคสมัยและสภาพแวดล้อม ไม่มีความรู้ใดยอมรับหรือสนับสนุนเรื่องมายากล และเวทมนต์ แต่คำพูดที่ถูกต้องยิ่งกว่าคือ เจ้าของความรู้เหล่านั้นบางครั้ง ได้แสดงสิ่งที่เลยเถิดไปจากนิยามของความรู้หรือที่เรียกว่า มายากล เวทมนต์เป็นต้น อีกนัยหนึ่งกล่าวได้ว่า สิ่งนั้นคือการมุสาและการเบี่ยงเบนนั่นเอง ...
  • ความแตกต่างระหว่างจริยธรรมกับจริยศาสตร์คืออะไร? สิ่งไหนครอบคลุมมากกว่ากัน? และการตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์กับจริยธรรมอันไหนครอบคลุมมากกว่า?
    20839 จริยธรรมทฤษฎี 2555/04/07
    คำว่า “อัคลาก” ในแง่ของภาษาเป็นพหูพจน์ของคำว่า “คุลก์” หมายถึง อารมณ์,ธรรมชาติ, อุปนิสัย, และความเคยชิน,ซึ่งครอบคลุมทั้งอุปนิสัยทั้งดีและไม่ดี นักวิชาการด้านจริยศาสตร์,และนักปรัชญาได้ตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์ไว้มากมาย. ซึ่งในหมู่การตีความทั้งหลายเหล่านั้นของนักวิชาการสามารถนำมารวมกัน และกล่าวสรุปได้ดังนี้ว่า “อัคลาก ก็คือคุณภาพทางจิตวิญญาณของมนุษย์ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่มีความเหมาะสม หรือพฤติกรรมอันเหมาะสมของมนุษย์ที่ปฏิบัติในชีวิตประจำวันตน” สำหรับ ศาสตร์ด้านจริยธรรมนั้น มีการตีความไว้มากมายเช่นกัน ซึ่งในคำอธิบายเหล่านั้นเป็นคำพูดของท่าน มัรฮูม นะรอกียฺ กล่าวไว้ในหนังสือ ญามิอุลสะอาดะฮฺว่า : ความรู้ (อิลม์) แห่งจริยศาสตร์หมายถึง การรู้ถึงคุณลักษณะ (ความเคยชิน) ทักษะ พฤติกรรม และการถูกขยายความแห่งคุณลักษณะเหล่านั้น การปฏิบัติตามคุณลักษณะที่แตกต่างกันในการช่วยเหลือให้รอดพ้น หรือการการปล่อยวางคุณลักษณะที่นำไปสู่ความหายนะ” ส่วนการครอบคลุมระหว่างจริยธรรมกับศาสตร์แห่งจริยธรรมนั้น มีคำกล่าวว่า,ความแตกต่างระหว่างทั้งสองมีอยู่เฉพาะในทฤษฎีเท่านั้นเอง ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าหากจะกล่าวว่า สิ่งไหนมีความครอบคลุมมากกว่ากันจึงไม่มีความหมายแต่อย่างใด ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59465 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56925 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41727 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38481 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38467 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33503 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27576 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27303 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27194 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25268 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...