การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9214
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/07/07
 
รหัสในเว็บไซต์ fa933 รหัสสำเนา 14974
หมวดหมู่ เทววิทยาใหม่
คำถามอย่างย่อ
อะไรคืออุปสรรคของการเสวนาระหว่างอิสลามและศาสนาคริสต์?
คำถาม
อะไรคืออุปสรรคของการเสวนาระหว่างอิสลามและศาสนาคริสต์?`
คำตอบโดยสังเขป
คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์
คำตอบเชิงรายละเอียด

เพื่อไขข้อสงสัยดังกล่าว ขอให้ท่านผู้อ่านพิจารณาคำปาฐกถาของท่านอาจารย์ฮาดะวี เตฮะรอนี ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ดังต่อไปนี้:

ในศตวรรษนี้ เราสามารถสัมผัสได้ถึงความกระวีกระวาดที่จะนำศาสนาเข้ามาในชีวิต ทั้งๆที่ในศตวรรษก่อนมีความพยายามที่จะลดบทบาทของศาสนาอย่างเป็นระบบ การถอยร่นของกระแสดังกล่าวกอปรกับการรุกคืบของขบวนการเคลื่อนไหวทางศาสนา(โดยเฉพาะการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านซึ่งปูทางสู่การสถาปนาสาธารณรัฐอิสลาม) เป็นเหตุให้ปัจจุบันนี้มนุษย์เริ่มรับรู้และเปลี่ยนแปลงทัศนคติ จากที่ไม่เคยยี่หระต่อศาสนากลับกลายเป็นผู้ที่ยึดมั่นในศาสนา อีกทั้งกระหายศีลธรรมและข้อเท็จจริงในวันปรโลก

ด้วยเหตุนี้เอง การจัดประชุมเสวนาระหว่างศาสนาจึงเป็นที่แพร่หลายในไม่กี่ปีที่ผ่านมา อาทิเช่น การประชุมนานาชาติผู้นำศาสนาโลกในปี 2002 ที่ประเทศไทย, การประชุมสภาศาสนาในปี 2003 ที่สเปน, การประชุมศาสนาโลกที่คาซักสถานในปี 2003 และการประชุมศาสนาสายศาสดาอิบรอฮีมเพื่อสันติภาพในปี 2006 ที่อิตาลี.

อย่างไรก็ดี แม้จะมีการสนับสนุนให้มีการเสวนาระหว่างอิสลามและคริสเตียนอย่างเต็มที่ ในฐานะศาสนาลำดับท้ายๆของสายศาสดาอิบรอฮีม แต่ก็ยังมีอุปสรรคเสมอมา อาทิเช่น
1. การไม่ให้ความสำคัญต่อจุดร่วมระหว่างสองศาสนานี้เท่าที่ควร.
จุดร่วมที่กุรอานกล่าวว่าโอ้ชาวคัมภีร์ เชิญมาสู่วาทกรรมอันเท่าเทียมกันระหว่างเรากับพวกท่าน นั่นคือเราจะไม่เคารพภักดีผู้ใดเว้นแต่อัลลอฮ์ และจะไม่ยกใครในหมู่พวกเราให้เทียบเคียงพระเจ้า...”[1]
มีจุดร่วมมากมายระหว่างอิสลามและคริสต์ในด้านความเชื่อและสารธรรม สองศาสนานี้มีศักยภาพพอที่จะผนึกกันบริหารโลกเพื่อสร้างเสริมสันติภาพที่ยั่งยืน อย่างไรก็ดี ความร่วมมือดังกล่าวจำต้องอยู่ภายในกรอบแห่งเอกานุภาพของอัลลอฮ์(เตาฮีด) และจะต้องทำความเข้าใจร่วมกันว่า จะไม่มีการยกผู้ใดให้เทียบเคียงพระองค์เด็ดขาด แต่น่าเสียดายที่ปัจจุบันนี้ไม่อาจพบเห็นสองประการดังกล่าวได้เลย ทั้งนี้ก็เนื่องจากมหาอำนาจแสร้งหลงลืมหลักเอกานุภาพ เห็นได้จากการที่พวกเขาหมั่นกดขี่ชาติที่อ่อนแอกว่า ดังที่ได้ขัดขวางการพัฒนานิวเคลียร์เพื่อสันติภาพของอิหร่าน

2. การไม่คำนึงถึงคุณประโยชน์ของการเสวนาระหว่างสองศาสนานี้.
การเสวนาเปรียบเสมือนสะพานที่ทอดยาวสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้งระหว่างสองศาสนา เพราะการศึกษาเปรียบเทียบในแง่ความเชื่อและสารธรรมจะขยายศักยภาพทางวิชาการและแนวปฏิบัติของทั้งสองศาสนา
ผลลัพท์เบื้องต้นที่จะได้รับจากความร่วมมือดังกล่าวก็คือ การได้รับข้อเสนอแนะที่มีประโยชน์ต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ การประสานความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพเพื่อระงับการเผชิญหน้าทางความคิดและเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์

3. การไม่ปรับทัศนคติเชิงลบที่แต่ละศาสนาเคยมีต่อกัน.
ทัศนคติเชิงลบมากมายเกิดจากการศึกษาจากแหล่งอ้างอิงที่ไม่น่าเชื่อถือหรือทัศนะอันผิดเพี้ยน  อันจะทำให้เข้าใจฝ่ายตรงข้ามอย่างผิดพลาด ก่อให้เกิดอคติต่อกันและตัดสินด้วยโทสะอย่างไม่รู้จบ

4. การที่ชาติมหาอำนาจคอยเสี้ยมให้ศาสนาต่างๆเผชิญหน้ากัน.
ก่อนสงครามจะเกิดขึ้นจะต้องมีความขัดแย้งเชิงลึกเสียก่อน และความขัดแย้งที่ลึกที่สุดก็คือความขัดแย้งเชิงศรัทธาและความเชื่อ ด้วยเหตุนี้ แกนนำชาติมหาอำนาจจึงพยายามตอกลิ่มความขัดแย้งทางศาสนาให้ลึกที่สุด เพราะถือว่าสงครามจะนำมาซึ่งผลประโยชน์สำหรับพวกตน เห็นได้ชัดเจนจากกรณีการ์ตูนล้อเลียนนบี(..)ในประเทศเดนมาร์ก ซึ่งไม่อาจจะตีความเป็นอื่นได้นอกจากเหตุผลดังที่กล่าวมา การที่ผู้ไม่หวังดีเลือกใช้ประเทศเดนมาร์กเพื่อหมิ่นประมาทปูชณียบุคคลที่สูงส่งอย่างท่านนบีมุฮัมมัด(..) ก็เนื่องจากธงชาติของประเทศนี้มีรูปกางเขนอยู่ พวกเขารู้ดีว่ามุสลิมจะตอบโต้ด้วยการเผาธงชาติ ซึ่งก็จะถูกนำไปขยายผลว่าเป็นการดูหมิ่นศาสนาคริสต์ อันจะนำไปสู่การเผชิญหน้าระหว่างมุสลิมกับคริสเตียนในที่สุด 

เมื่อหกเดือนก่อน ผมมีโอกาสได้เข้าพบพระสันตปาปาเบเนดิคต์ที่16 ผมได้ชี้แจงให้ท่านทราบ พร้อมกับขอให้ท่านช่วยชี้แจงแก่สาวกและสาวิกาของท่านว่า การเผาธงชาติมิไช่การดูหมิ่นสัญลักษณ์ไม้กางเขน แต่เป็นเพียงการประณามประเทศที่ปล่อยให้มีการดูหมิ่นศาสดามุฮัมมัด(..)เท่านั้น
เหตุการณ์ 11 กันยายน ก็ถือเป็นแผนการณ์ที่คล้ายคลึงกัน จากเบาะแสต่างๆเริ่มเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าเป็นการจัดฉาก แท้ที่จริงเป็นการทำลายตึกด้วยขีปนาวุธเพื่อฟื้นตะเข็บสงครามครูเสดต่อมุสลิม ดังที่ประธานาธิบดีอเมริกาเคยระบุไว้ชัดเจน

ผมเชื่อว่าท่าทีที่ผ่านมาของพระสันตปาปาถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์ต่อต้านศาสนาประเภทหนึ่ง แปดเดือนก่อนหน้านี้[2]ท่านได้กล่าวปาฐกถาโดยชี้ให้เห็นความสำคัญของการสานเสวนาระหว่างอิสลามและศาสนาคริสต์ และยังได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับการประชุมเสวนาธรรมระหว่างอิสลามและศาสนาคริสต์ที่นครเอสซีซี แต่แล้วท่านกลับเปลี่ยนท่าที และกล่าวคำพูดอันไม่เหมาะสมกับฐานะภาพของท่านออกมา

5. การไม่ทำความเข้าใจคำสอนของศาสนาอื่นให้ถ่องแท้.
ข้อบกพร่องดังกล่าวสามารถพบเห็นได้บ่อยครั้ง แต่ที่ถือเป็นกรณีศึกษาที่ชัดเจนที่สุดก็คือบทปาฐกถาของพระสันตปาปาดังต่อไปนี้
. พระคุณท่านเข้าใจผิดว่า คำว่าญิฮาดซึ่งเป็นศัพท์เฉพาะของอิสลามนั้น คล้ายคลึงกับสงครามศักดิ์สิทธิที่เกิดขึ้นตลอดประวัติศาสตร์ของชาวคริสเตียน ท่านกล่าวว่าจักรพรรดิได้เริ่มกล่าวถึงประเด็นญิฮาด ซึ่งก็คือสงครามศักดิ์สิทธินั่นเอง
ต้องทราบว่าญิฮาดคือการพยายามขจัดอุปสรรคของการนำเสนอสัจธรรม และช่วยให้การภักดีต่อพระเจ้าเป็นไปอย่างราบรื่น ถ้าจะมีสงคราม ก็เป็นสงครามต่อผู้ที่ขัดขวางไม่ให้ประชาชนรู้จักและภักดีต่อพระองค์ และนี่เป็นเพียงญิฮาดระดับล่างเท่านั้น ญิฮาดยังหมายรวมถึงการพยายามรู้จักและขัดเกลาจิตใจ ซึ่งอิสลามถือว่านี่คือญิฮาดระดับสูง ในขณะที่สงครามศักดิ์สิทธิ(ของคริสเตียน)นั้น แฝงไว้ด้วยนัยยะของการพิชิตชัยชนะเหนือคนนอกรีตและขู่บังคับให้เข้ารีตตามคริสตศาสนา

จากคำบอกเล่าของนักวิชาการคริสเตียนชาวอาร์เมเนียทำให้ทราบว่า ประวัติศาสตร์ชาวอาร์เมเนียในอิหร่านและเลบานอนนั้น คราคร่ำไปด้วยการที่คริสเตียนต่างพื้นพยายามจะเปลี่ยนนิกายของคริสเตียนชาวอาร์เมเนีย ในขณะที่มุสลิมไม่เคยแสดงกิริยาเช่นนี้กับพวกเขาเลย

. พระคุณท่านไม่ทราบถึงความเป็นมาของกุรอานและลำดับการประทานซูเราะฮ์ต่างๆ
พระสันตปาปากล่าวว่าแน่นอนว่าจักรพรรดิย่อมรู้ดีว่า โองการที่ 256 ในบทที่สองของกุรอาน(อัลบะเกาะเราะฮ์)กล่าวไว้ว่า ไม่มีการขู่บังคับในเรื่องศาสนา...บท(ซูเราะฮ์)นี้นับเป็นบทแรกๆของกุรอาน ซึ่งประทานในช่วงที่มุฮัมมัดยังถูกข่มขู่และไม่มีอิทธิพลใดๆเลยต้องเรียนให้พระคุณท่านทราบว่า อายะฮ์นี้เป็นอายะฮ์ที่ประทานในนครมะดีนะฮ์ ยุคที่ท่านศาสดาได้สถาปนารัฐและมีอิทธิพลเต็มที่โดยไม่มีภัยคุกคามใดๆจากภายนอก มีฮะดีษที่อธิบายเหตุของการประทานโองการดังกล่าวว่า:
มีชายมุสลิมคนหนึ่งเข้ารีตเป็นคริสเตียนโดยการเชิญชวนของพ่อค้าชาวคริสต์ที่มาค้าขายที่มะดีนะฮ์ พ่อของเขาได้มาขอให้ท่านนบี(..)บีบบังคับให้บุตรชายหวนคืนสู่อิสลาม แต่ท่านนบี(..)ปฏิเสธที่จะทำเช่นนั้น  ทันใดนั้นโองการดังกล่าวก็ประทานลงมา
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาเนื้อหาโองการดังกล่าวก็จะทราบว่ามิไช่โองการที่ประทานในยุคแรก เพราะส่วนต่อของโองการดังกล่าวมีอยู่ว่าแน่แท้หนทางสู่ความเจริญได้แยกแยะชัดเจนแล้วจากความหลงทางแน่นอนว่าสำนวนนี้ย่อมเหมาะต่อช่วงปลายอายุขัยท่านนบี มิไช่ช่วงเริ่มต้นเผยแผ่อิสลาม

3. พระคุณท่านกล่าวว่าทันใดนั้นจักรพรรดิหันไปยังคู่สนทนา และ... คำถามหลักของเราคือความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและความรุนแรง และจักรพรรดิได้กล่าวต่อไปว่า จงเล่าถึงสิ่งที่มุฮัมมัดริเริ่มนำมาเผยแพร่ซิ พวกท่านจะไม่พบสิ่งใดเลยนอกจากคำสอนอันคราคร่ำไปด้วยความต่ำทรามอมนุษย์ เช่นการสั่งให้เผยแพร่ศาสนาด้วยคมดาบ!
ผู้ที่มีใจเป็นกลางจะไม่พูดเช่นนี้ นักวิชาการคริสเตียนบางท่านได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับภาระหน้าที่ๆชาวคริสเตียนควรเชื่อฟังศาสดามุฮัมมัด (..) โดยต้องการจะสื่อว่า ชาวคริสเตียนเองก็สามารถได้รับประโยชน์จากคำสอนของศาสดามุฮัมมัด โดยไม่จำเป็นต้องละทิ้งศาสนาคริสต์

เมื่อพิจารณาให้ดีจะพบว่า อิสลามได้เติมเต็มเนื้อหาที่เกี่ยวกับเอกานุภาพของพระเจ้า และได้สถาปนาแนวคิดทางอภิปรัชญาซึ่งไม่อาจหาที่ใดเปรียบเทียบได้ แนวคิดดังกล่าวปรากฏอยู่ในสำนักคิดฮิกมะฮ์ มุตะอาลียะฮ์ของท่านมุลลอ ศ็อดรอ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในแวดวงอภิปรัชญาโลก
นอกจากนี้ หลักศีลธรรมมากมายได้รับการต่อยอดโดยอิสลาม และนำสู่จุดสูงสุดโดยวิชาอิรฟานอิสลาม ส่งผลให้กลายเป็นหนทางสูงส่งสำหรับนักจาริกทางจิตวิญญาณต่อไป.

ชะรีอัตเองก็มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับอิสลาม เนื่องจากเป็นเสมือนประมวลกฏหมายที่อิสลามตราไว้ เพื่อสนองตอบแง่มุมต่างๆของมนุษย์
อิสลามไม่จำแนกกิจทางโลกออกจากกิจทางธรรมออกจากกัน  เห็นได้จากการที่อิสลามแฝงธรรมะขั้นสูงไว้ในกิจกรรมทางการเมือง เศรษฐกิจ และการศึกษา.
มุสลิมมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างอารยธรรมมนุษย์ เนื่องจากได้ประดิษฐ์เครื่องใช้สอยหลากหลายประเภท ตลอดจนค้นพบสูตรฟิสิกข์และเคมีมากมายอันเป็นรากฐานวิทยาการปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ต่อยอดวิทยาการสำคัญอย่างแพทยศาสตร์ให้ก้าวไกล
ความภาคภูมิใจเหล่านี้มีมากมายเสียจนเรียกกันว่ายุคทองแห่งวิทยาศาสตร์มุสลิมในอดีต เหตุใดพระคุณท่านจึงมองข้ามสิ่งเหล่านี้ แล้วนำคำพูดของบุคคลที่ไม่รู้จริงมาถ่ายทอดแก่สาธารณชน

4. พระคุณท่านกล่าวว่าจักรพรรดิได้อธิบายอย่างละเอียดว่า เพราะเหตุใดการเผยแพร่ศาสนาด้วยความรุนแรงจึงขัดต่อสติปัญญาพระคุณท่านกล่าวย้ำเหมือนจะสื่อให้เข้าใจว่า อิสลามเผยแผ่ด้วยความรุนแรงต่อผู้อื่นกระนั้น แต่แท้ที่จริงแล้ว หากศึกษาประวัติศาสตร์ของนิกายโรมันคาทอลิกจะพบว่าวิธีนี้น่าจะเป็นกลวิธีของนิกายดังกล่าวมากกว่า ส่วนอิสลามนั้น เป็นศาสนาแห่งความรู้ความเข้าใจ อิสลามเชื่อว่ามนุษย์มีอิสรภาพในการตัดสินใจ อัลลอฮ์ทรงรณรงค์ให้มนุษย์แสวงหาความรู้ ดังที่ได้กล่าวว่าผู้รู้กับผู้ไม่รู้จะเท่าเทียมกันได้อย่างไร?”[3] นอกจากนี้ การอ่านยังเป็นจุดเริ่มต้นของภารกิจศาสนทูตของท่านนบีจงอ่าน ด้วยพระนามของพระผู้อภิบาลของเจ้าที่ทรงสร้าง...”[4] และจงอ่าน เพราะพระองค์ทรงเกียรติเหนือผู้ใด พระองค์ทรงสอนด้วยปากกา และทรงสอนในสิ่งที่มนุษย์ไม่เคยทราบ[5]
จงแจ้งข่าวดีแก่ผู้ที่สดับฟังคำพูดและเลือกปฏิบัติตามสิ่งที่ดีที่สุด[6]
จงเชิญชวนสู่แนวทางของพระผู้อภิบาลของเจ้าด้วยวิทยปัญญาและคำตักเตือนที่รื่นหู และจงถกปัญหากับพวกเขาด้วยเหตุผลที่ดีที่สุด พระผู้อภิบาลของเจ้าทรงทราบดีว่าผู้ใดหลงออกจากแนวทางพระองค์และผู้ใดได้รับทางนำ[7]
จึงสามารถสรุปได้ว่า ศาสนาอิสลามคือศาสนาแห่งปัญญา การตักเตือนที่ดี และอุดมไปด้วยตรรกะและเหตุผล

พระสันตปาปายังได้กล่าวอีกว่าความรุนแรงและความก้าวร้าวเช่นนี้ ขัดต่อวิถีของพระเจ้าและวิถีของจิตวิญญาณ พระองค์ย่อมไม่โปรดที่จะเห็นการนองเลือด แน่นอนว่าพฤติกรรมอันไร้สติย่อมไม่สอดคล้องกับวิถีของพระเจ้า ความศรัทธาย่อมผุดขึ้นจากจิตวิญญาณ หาไช่กายหยาบไม่อย่างไรก็ดี คำพูดดังกล่าวควรใช้ตำหนิวิธีปฏิบัติของคริสเตียนในอดีต โดยเฉพาะนิกายโรมันคาทอลิค

5. พระคุณท่านยังได้กล่าวอีกว่าอิสลามเชื่อว่าพระประสงค์ของพระเจ้าไม่จำเป็นต้องมีเหตุผล ความเชื่อเช่นนี้ขัดต่อแนวคิดของเรา และขัดต่อสติปัญญาแล้วท่านก็ได้อ้างถึงตำราอธิบายกุรอานของของอิบนิ ฮัซม์ ที่เขากล่าวว่าไม่จำเป็นที่อัลลอฮ์จะต้องยืนยันตามดำรัสของพระองค์เอง ไม่จำเป็นที่พระองค์จะต้องตรัสความจริงกับมนุษย์ หากพระองค์ทรงประสงค์จะบังคับให้มนุษย์กราบไหว้เจว็ดก็ย่อมทำได้
สิ่งที่พระสันตปาปาได้อ้างมาทั้งหมด ชี้ให้เห็นว่าท่านไม่เคยตรวจสอบตำราเกี่ยวกับอภิปรัชญาและเทววิทยาของอิสลามเลย ตำราอภิปรัชญาอิสลามระบุไว้ว่า พระประสงค์ของอัลลอฮ์นั้นขึ้นอยู่กับเหตุและผล ทั้งนี้ก็เพราะพระประสงค์ของพระองค์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับความรู้ของพระองค์ และเป็นหนึ่งเดียวกับอาตมันของพระองค์
ส่วนพระประสงค์เชิงปฏิบัติก็แสดงออกในรูปของการกระทำต่างๆของพระองค์ ทั้งนี้ การที่พระคุณท่านอ้างอิงคำพูดของอิบนิ ฮัซม์นั้น แสดงถึงความไม่เข้าใจของพระคุณท่าน เนื่องจากสำนักคิดของอิบนิฮัซม์นั้น มิได้รับความนิยมใดๆในหมู่มุสลิมเลย ตรงกันข้าม สำนักคิดแห่งอะฮ์ลุลบัยต์ซึ่งมีผู้เลื่อมใสไม่น้อยในปัจจุบัน  ยอมรับว่าสติปัญญาและการตัดสินใจมีผลต่อความศรัทธา ดังที่คัมภีร์กุรอานก็กล่าวยืนยันไว้ว่าและพวกเขาดื้อรั้นไม่ยอมรับทั้งที่รู้อยู่เต็มอก[8]
การที่คนเราสามารถปฏิเสธได้ทั้งที่รู้อยู่เต็มอก แสดงว่าการตัดสินใจของแต่ละคนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อการเลือกศรัทธา ซึ่งหากจะกล่าวกันในเชิงอภิปรัชญาหรือหลักเทววิทยาแล้ว เราสามารถพิสูจน์ได้ว่า ความรู้มิได้ก่อให้เกิดศรัทธาเสมอไป 

คำพูดของอิบนิ ฮัซม์ ที่ว่าไม่มีสิ่งใดสามารถกำหนดพระประสงค์ของพระเจ้าได้นั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีที่ปฏิเสธความผิดชอบชั่วดีที่รับรู้ได้โดยสติปัญญาแต่ในทางตรงกันข้าม ปรัชญาเมธีของชีอะฮ์ได้พิสูจน์ประเด็นดังกล่าวไว้แล้ว แม้ฝ่ายอะชาอิเราะฮ์จะมิได้เชื่อเช่นนี้ก็ตาม

อย่างไรก็ดี การเสวนาจะเป็นไปอย่างราบรื่นต่อเมื่อมีปัจจัยสองประการดังนี้
1. สันนิษฐานว่าคู่เสวนาของเราอาจนำเสนอสิ่งที่ถูกต้อง
2. 
สันนิษฐานว่าข้อมูลของฝ่ายเราอาจจะยังมีข้อบกพร่อง
ส่วนกรอบความเข้าใจที่จำเป็นต่อการเสวนา หรือที่เรียกว่าขอบฟ้า(Horizon)ในวิชาอรรถปริวรรตศาสตร์นั้น หมายถึงปริมนฑลที่ยอมรับร่วมกันในการเสวนานั้นๆ
นั่นหมายความว่า การเสวนาจะไม่เป็นไปอย่างราบรื่น หากปราศจากปัจจัยและกรอบเสวนาดังที่กล่าวไปแล้ว.

วัสลาม.



[1] ซูเราะฮ์อาลิอิมรอน,64

[2] ขณะเข้าพบพระสันตปาปาระหว่างการประชุมศาสนาสายศาสดาอิบรอฮีมเพื่อสันติ

[3] อัซซุมัร,9

[4] อัลอะลัก,1

[5] อัลอะลัก,3-4

[6] อัซซุมัร,19

[7] อันนะฮ์ลิ,125

[8] อันนัมลิ,14

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เหตุใดอัลลอฮ์จึงกำชับให้ขอบคุณต่อเนียะอฺมัตที่ทรงประทานให้?
    17651 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/10
    “ชุโกร”ในทางภาษาอรับหมายถึง การมโนภาพเนียะอฺมัต(ความโปรดปรานจากพระองค์)แล้วเผยความกตัญญูรู้คุณผ่านคำพูดหรือการกระทำ[i] ส่วนที่ว่าทำไมต้องชุโกรขอบคุณพระองค์ในฐานะที่ประทานเนียะอฺมัตต่างๆนั้น ขอให้ลองพิจารณาประเด็นต่อไปนี้:1.
  • ผู้ที่มาร่วมพิธีฝังศพท่านนบี(ซ.ล.)มีใครบ้าง?
    11038 تاريخ بزرگان 2555/03/14
    ตำราประวัติศาสตร์และฮะดีษของฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์เล่าเหตุการณ์ฝังศพท่านนบี(ซ.ล.)ว่า อลี บิน อบีฏอลิบ(อ.) และฟัฎล์ บิน อับบ้าส และอุซามะฮ์ บิน เซด ร่วมกันอาบน้ำมัยยิตแก่ท่านนบี บุคคลกลุ่มแรกที่ร่วมกันนมาซมัยยิตก็คือ อับบาส บิน อับดุลมุฏ็อลลิบและชาวบนีฮาชิม หลังจากนั้นเหล่ามุฮาญิรีน กลุ่มอันศ้อร และประชาชนทั่วไปก็ได้นมาซมัยยิตทีละกลุ่มตามลำดับ สามวันหลังจากนั้น ท่านอิมามอลี ฟัฎล์ และอุซามะฮ์ได้ลงไปในหลุมและช่วยกันฝังร่างของท่านนบี(ซ.ล.) หากเป็นไปตามรายงานดังกล่าวแล้ว อบูบักรและอุมัรมิได้อยู่ในพิธีฝังศพท่านนบี(ซ.ล.) แม้จะได้ร่วมนมาซมัยยิตเสมือนมุสลิมคนอื่นๆก็ตาม ...
  • สายรายงานของฮะดีษที่ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวแก่ชาวอรับเกี่ยวกับชาวเปอร์เซียว่า“พวกท่าน(อรับ)รบกับพวกเขา(เปอร์เซีย)เพื่อให้ยอมรับการประทานกุรอาน แต่ก่อนโลกนี้จะพินาศ พวกเขาจะรบกับพวกท่านเพื่อการตีความกุรอาน”เชื่อถือได้เพียงใด?
    7427 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/09/11
    ในตำราฮะดีษมีฮะดีษชุดหนึ่งที่มีนัยยะถึงการที่ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวกับชาวอรับเกี่ยวกับชาวเปอร์เซียว่า “พวกท่าน(อรับ)รบกับพวกเขา(เปอร์เซีย)เนื่องด้วยการประทานกุรอานแต่ก่อนโลกนี้จะพินาศพวกเขาก็จะรบกับพวกท่านเนื่องด้วยการตีความกุรอาน”สายรายงานของฮะดีษบทนี้เชื่อถือได้ ...
  • ริวายะฮ์(คำรายงาน)ที่มีความขัดแย้งกัน ยกตัวอย่างเช่น ริวายะฮ์ที่กล่าวถึงการจดบาปของมนุษย์ กับริวายะฮ์ทีกล่าวว่า การจดบาปจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าครบ ๗ วัน เราสามารถจะแก้ไขริวายะฮ์ทั้งสองได้อย่างไร?
    4185 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2561/11/05
    สำหรับคำตอบของคำถามนี้ จะต้องตรวจสอบในหลายประเด็นดังต่อไปนี้ ๑.การจดบันทึกเนียต(เจตนา)ในการทำบาป กล่าวได้ว่า จากการตรวจสอบจากแหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับการจดบันทึกเนียตในการทำบาปปรากฏว่าไม่มีริวายะฮ์รายงานเรื่องนี้แต่อย่างใด และโองการอัลกุรอานก็ไม่สามารถวินิจฉัยถึงเรื่องนี้ได้ เพราะว่า โองการอัลกุรอานกล่าวถึงความรอบรู้ของพระเจ้าในเนียตของมนุษย์ พระองค์อัลลอฮ์(ซ.บ)ทรงตรัสว่า เราได้สร้างมนุษย์ขึ้นมา และเรารู้ดียิ่งในสิ่งที่จิตใจของเขากระซิบกระซาบแก่เขา และเราอยู่ใกล้ชิดกับเขามากกว่าเส้นเลือดชีวิตของเขาเสียอีก ดังนั้น การที่พระองค์ทรงมีความรู้ในเจตนาทั้งหลาย มิได้หมายถึง การจดบันทึกว่าเป็นการทำบาปหรือเป็นบทเบื้องต้นในการทำบาป ๒.การจดบันทึกความบาปโดยทันทีทันใด ซึ่งเกี่ยวกับประเด็นนี้ก็ไม่ปรากฏริวายะฮ์ที่กล่าวถึง แต่ทว่า บางโองการอัลกุรอาน กล่าวถึง การจดบันทึกโดยทันทีทันใดในบาป ดั่งเช่น โองการที่กล่าวว่า (ในวันแห่งการตัดสิน บัญชีอะมั้ลการกระทำของมนุษย์)บันทึกจะถูกวางไว้ ดังนั้นเจ้าจะเห็นผู้กระทำความผิดบาปทั้งหลายหวั่นกลัวสิ่งที่มีอยู่ในบันทึก และพวกเขาจะกล่าวว่า โอ้ความวิบัติของเรา บันทึกอะไรกันนี่ มันมิได้ละเว้นสิ่งเล็กน้อย และสิ่งใหญ่โตเลย เว้นแต่ได้บันทึกไว้ครบถ้วน และพวกเขาได้พบสิ่งที่พวกเขาได้ปฏิบัติไว้ปรากฏอยู่ต่อหน้า และพระผู้เป็นเจ้าของเจ้ามิทรงอธรรมต่อผู้ใดเลย โองการนี้แสดงให้เห็นว่า ความผิดบาปทั้งหมดจะถูกจดบันทึกอย่างแน่นอนก ๓.การจดบันทึกความบาปจนกว่าจะครบ ๗ วัน มีรายงานต่างๆมากมายที่กล่าวถึง การไม่จดบาปในทันที แต่ทว่า มีรายงานหนึ่งกล่าวว่า ให้โอกาสจนกว่าจะครบ ๗ วัน ...
  • ถ้าหากพิจารณาบทดุอาอฺต่างๆ ในอัลกุรอาน จะเห็นว่าดุอาอฺเหล่านั้นได้ให้ความสำคัญต่อตัวเองก่อน หลังจากนั้นเป็นคนอื่น เช่นโองการอัลกุรอาน ที่กล่าวว่า “อะลัยกุม อันฟุซะกุม” แต่เมื่อพิจารณาดุอาอฺของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺจะพบว่าท่านหญิงดุอาอฺให้กับคนอื่นก่อนเป็นอันดับแรก, ดังนั้น ประเด็นนี้จะมีทางออกอย่างไร?
    8878 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ในตำแหน่งของการขัดเกลาจิตวิญญาณและยกระดับจิตใจตนเองนั้น, มนุษย์ต้องคำนึงถึงตัวเองก่อนบุคคลอื่นเพราะสิ่งนี้เป็นคำสั่งของอัลกุรอานและรายงานนั่นเอง, เนื่องจากถ้าปราศจากการขัดเกลาจิตวิญญาณแล้วการชี้แนะแนวทางแก่บุคคลอื่นจะบังเกิดผลน้อยมาก, แต่ส่วนในตำแหน่งของดุอาอฺหรือการวิงวอนขอสิ่งที่ต้องการจากพระเจ้า,ถือว่าเป็นความเหมาะสมอย่างยิ่งที่มนุษย์จะวอนขอให้แก่เพื่อนบ้านหรือบุคคลอื่นก่อนตัวเอง, ...
  • สำนวน طبیب دوار بطبه ที่ท่านอิมามอลี(อ.)ใช้กล่าวยกย่องท่านนบี หมายความว่าอย่างไร?
    6605 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/13
    ท่านอิมามอลี(อ.)เปรียบเปรยการรักษาโรคร้ายทางจิตวิญญาณมนุษย์โดยท่านนบี(ซ.ล.)ว่าطبیب دوّار بطبّه (แพทย์ที่สัญจรตามรักษาผู้ป่วยทางจิตวิญญาณ) ท่านเป็นแพทย์ที่รักษาโรคแห่งอวิชชาและมารยาทอันต่ำทรามโดยสัญจรไปพร้อมกับโอสถทิพย์ของตน
  • เป้าหมายและโปรแกรมต่างๆ ของชัยฏอนคืออะไร?
    9162 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    1.ลวงล่อให้มนุษย์ทั้งหลายหลงทาง2.เชิญชวนมนุษย์ทั้งหลายไปสู่การกระทำที่บิดเบือนและการอุปโลกน์ต่างๆ3. หยุแหย่มนุษย์ในการเปลี่ยนแปลงการสร้างสรรค์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) และโปรแกรมต่างๆซึ่งอัลกุรอานได้พาดพิงถึงชัยฏอน ...
  • บุคลิกของอุบัย บิน กะอฺบ์?
    9021 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    อุบัย บิน กะอฺบ์ เป็นหนึ่งของสหายที่มีชื่อเสียงที่สุดของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และเป็นผู้มีเกียรติยิ่งทั้งในหมู่อะฮฺลิซุนนะฮฺ และชีอะฮฺ แหล่งอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺมีบันทึกรายงานฮะดีซจำนวหนึ่ของเขาไว้ด้วย นักปราชญ์ผู้อาวุโสฝ่ายฮะดีซ, ยอมรับว่าเขาเป็นสหายของท่านศาสดา และเป็นหนึ่งในผู้บันทึกวะฮฺยู เมื่อพิจารณารายงานที่มาจากเขา, สามารถเข้าใจได้ถึงความรักที่เขามีต่ออะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอิมามอะลี (อ.) ...
  • ทำอย่างไรจึงจะลดความรีบร้อน?
    7537 จริยธรรมทฤษฎี 2555/05/23
    ความรีบร้อนลนลานถือเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในทัศนะของศาสนา ซึ่งในที่นี้ก็หมายถึงการรีบกระทำสิ่งใดโดยพละการนั่นเอง การรีบร้อนแตกต่างจากการรีบเร่งทั่วไป เพราะการรีบเร่งหมายถึงการรีบกระทำการใดทันทีที่ทุกอย่างพร้อม สิ่งที่ตรงข้ามกับการรีบร้อนก็คือ “ตะอันนี” และ “ตะษับบุต”อันหมายถึงการตรึกตรองอย่างรอบคอบก่อนลงมือกระทำการใดๆ เมื่อพิจารณาถึงข้อเสียของการรีบร้อน และข้อดีของการตรึกตรองอันเป็นคุณลักษณะของกัลยาณชนเฉกเช่นบรรดาศาสดา ทำให้ได้ข้อสรุปว่าก่อนกระทำการใดควรตรึกตรองอย่างมีสติเสมอ และหากหมั่นฝึกฝนระยะเวลาหนึ่ง แม้จะเป็นเรื่องยากก็ตาม แต่สุดท้ายก็จะติดเป็นนิสัย อันจะลบเลือนนิสัยรีบร้อนที่มีอยู่เดิม และจะสร้างเสริมให้เป็นผู้ที่มีความสุขุม ...
  • รายงานฮะดีซกล่าวว่า:การสร้างความสันติระหว่างบุคคลสองคน ดีกว่านมาซและศีลอด วัตถุประสงค์คืออะไร ?
    6118 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/17
    เหมือนกับว่าการแปลฮะดีซบทนี้ มีนักแปลบางคนได้แปลไว้แล้ว ซึ่งท่านได้อ้างถึง, ความอะลุ่มอล่วยนั้นเป็นที่ยอมรับ, เนื่องจากเมื่อพิจารณาใจความภาษาอรับของฮะดีซที่ว่า "صَلَاحُ ذَاتِ الْبَيْنِ أَفْضَلُ مِنْ عَامَّةِ الصَّلَاةِ وَ الصِّيَام‏" เป็นที่ชัดเจนว่า เจตนาคำพูดของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต้องการกล่าวว่า การสร้างความสันติระหว่างคนสองคน, ดีกว่าการนมาซและการถือศีลอดจำนวนมากมาย[1] แต่วัตถุประสงค์มิได้หมายถึง นมาซหรือศีลอดเป็นเวลาหนึ่งปี หรือนมาซและศีลอดทั้งหมด เนื่องจากคำว่า “อามะตุน” ในหลายที่ได้ถูกใช้ในความหมายว่า จำนวนมาก เช่น ประโยคที่กล่าวว่า : "عَامَّةُ رِدَائِهِ مَطْرُوحٌ بِالْأَرْض‏" หมายถึงเสื้อผ้าส่วนใหญ่ของเขาลากพื้น[2] ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59467 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56926 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41728 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38484 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38467 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33504 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27576 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27307 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27194 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25270 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...