การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
10025
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/04/24
คำถามอย่างย่อ
ชีอะฮ์และมุอ์ตะซิละฮ์มีทัศนคติเกี่ยวกับความยุติธรรมแตกต่างกันอย่างไร?
คำถาม
ชีอะฮ์และมุอ์ตะซิละฮ์มีทัศนคติเกี่ยวกับความยุติธรรมแตกต่างกันอย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

ทั้งสองสำนักคิดนี้ต่างก็ถือว่าความยุติธรรมของอัลลอฮ์คือหนึ่งในหลักศรัทธาของตน ทั้งสองเชื่อว่าความดีและความชั่วพิสูจน์ได้ด้วยสติปัญญา กล่าวคือสติปัญญาสามารถจะพิสูจน์ความผิดชอบชั่วดีในหลายๆประเด็นได้แม้ไม่ได้รับแจ้งจากชะรีอัตศาสนา ความอยุติธรรมก็เป็นหัวข้อหนึ่งที่สติปัญญาของมนุษย์ทุกคนพิสูจน์ได้ว่าเป็นความชั่ว ด้วยเหตุนี้ อัลลอฮ์จึงไม่ทรงลดพระองค์มาแปดเปื้อนกับความชั่วดังกล่าว แต่ทรงเป็นผู้ไว้ซึ่งความเที่ยงธรรมอย่างไม่ต้องสงสัย
ข้อแตกต่างระหว่างสองสำนักคิดข้างต้นก็คือ เมื่อเผชิญข้อโต้แย้งที่ว่า “หากทุกการกระทำของมนุษย์มาจากพระองค์จริง แสดงว่าการให้รางวัลและการลงโทษมนุษย์ย่อมไม่มีความหมาย” มุอ์ตะซิละฮ์ชี้แจงด้วยการปฏิเสธเตาฮี้ด อัฟอาลี (เอกานุภาพเชิงกรณียกิจ) แต่ชีอะฮ์ปฏิเสธทางออกดังกล่าวที่ถือว่ามนุษย์ไม่ต้องพึ่งพาอัลลอฮ์ในการกระทำ โดยเชื่อว่าการกระทำของมนุษย์เชื่อมต่อกับการกระทำของอัลลอฮ์ในเชิงลูกโซ่ มิได้อยู่ในระนาบเดียวกัน จึงทำให้ตอบข้อโต้แย้งข้างต้นได้โดยที่ยังเชื่อในความยุติธรรมของพระองค์ดังเดิม

คำตอบเชิงรายละเอียด

แม้ทั้งสองสำนักคิดนี้จะศรัทธาในอัดล์ (หลักความยุติธรรมของอัลลอฮ์) แต่ข้อแตกต่างสำคัญระหว่างชีอะฮ์และมุอ์ตะซิละฮ์ในเรื่องนี้ก็คือ มุอ์ตะซิละฮ์พิสูจน์อัดล์ด้วยการปฏิเสธเตาฮี้ด อัฟอาลี(เอกานุภาพด้านกรณียกิจ)  ซึ่งเป็นหลักที่ถือว่าการกระทำทุกอย่างไม่ว่าจะดีหรือชั่วล้วนมาจากพระองค์ ไม่มีผู้กระทำอื่นใดนอกจากพระองค์ ซึ่งก็หมายความว่าตราบใดที่พระองค์ไม่ทรงลิขิต ก็จะไม่มีเหตุการณ์ใดๆเกิดขึ้นเลย[1] เสมือนว่ากลุ่มมุอ์ตะซิละฮ์หวั่นเกรงว่า ถ้าหากยอมรับว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ลิขิตทุกความดีความชั่ว จะทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนได้ว่า การตอบแทนในสวรรค์และการลงทัณฑ์ในนรกล้วนขัดต่อความยุติธรรมของพระองค์ ทำให้กลุ่มนี้ปฏิเสธเตาฮี้ดอัฟอาลี และถือว่าการกระทำของแต่ละคนล้วนเกิดขึ้นโดยมนุษย์ผู้กระทำเท่านั้น หาได้ครอบคลุมถึงอัลลอฮ์ไม่ ทั้งนี้ก็เพื่อให้การตอบแทนและลงทัณฑ์มนุษย์สอดคล้องกับหลักความยุติธรรมของพระองค์

ส่วนชีอะฮ์เชื่อว่า การยอมรับเตาฮี้ดอัฟอาลีมิได้ขัดต่ออำนาจการตัดสินใจของมนุษย์ เพราะการตัดสินใจของมนุษย์อยู่ภายใต้การตัดสินใจของอัลลอฮ์ ซึ่งแม้ว่ามนุษย์จะไม่อาจกระทำการใดๆได้เลยหากพระองค์ไม่ทรงประสงค์ แต่ก็สามารถชี้แจงได้ว่า พระองค์เลือกที่จะให้อิสระแก่มนุษย์ในระดับหนึ่งภายใต้พลานุภาพอันกว้างขวางของพระองค์ ทำให้สามารถชมเชยหรือตำหนิการกระทำมนุษย์ได้
และเพื่อเสริมความเข้าใจ เราขอนำเสนอเนื้อหาจากบทความชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับประเด็นนี้

สถานภาพของประเด็นความยุติธรรมในความเชื่อของกลุ่มมุอ์ตะซิละฮ์
กลุ่มมุอ์ตะซิละฮ์เชื่อว่าการกระทำบางอย่างถือเป็นความยุติธรรมโดยตรง และบางอย่างถือเป็นการกดขี่ ตัวอย่างเช่น การที่พระองค์ให้รางวัลแก่ผู้บำเพ็ญความดีหรือการลงโทษผู้กระทำผิดนั้น ในความเป็นจริงแล้วก็ถือเป็นความยุติธรรม ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่พระองค์จะปฏิบัติสวนทางกับแนวดังกล่าว เนื่องจากทรงเป็นผู้เที่ยงธรรมและไม่เคยกดขี่ผู้ใด ทั้งนี้เพราะการกดขี่ถือเป็นเรื่องน่ารังเกียจสำหรับพระองค์

กลุ่มนี้เชื่อว่าความดีความชั่วจำแนกเป็นเอกเทศและตั้งอยู่บนฐานแห่งสติปัญญา
ท่านชะฮีดมุเฏาะฮะรีกล่าวไว้ว่า “พวกเขาเชื่อว่าความดีความชั่วที่โดยปกติมักใช้เป็นมาตรวัดพฤติกรรมมนุษย์นั้น สามารถนำมาใช้เป็นมาตรฐานของกิจของอัลลอฮ์ได้ด้วย พวกเขาเชื่อว่าความยุติธรรมโดยตัวของมันแล้วถือเป็นสิ่งดี ส่วนการกดขี่ โดยตัวของมันเองเป็นสิ่งน่ารังเกียจ ฉะนั้น อัลลอฮ์ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดปัญญาอันเยี่ยมยอด ย่อมไม่ทรงละทิ้งสิ่งที่สติปัญญาตัดสินว่าเป็นเรื่องดี และทรงไม่เกลือกกลั้วกับสิ่งที่สติปัญญาตัดสินว่าน่ารังเกียจ”

มุอ์ตะซิละฮ์เชื่อว่าสติปัญญามนุษย์สามารถจำแนกผิดชอบชั่วดีได้อย่างอิสระ โดยสามารถรับรู้ความดีงามของถูกต้อง ความซื่อสัตย์ ความยำเกรง ความรักนวลสงวนตัว ฯลฯ และรับรู้ความน่ารังเกียจของการโกหก การทรยศ การหลงกิเลส ฯลฯ ได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการบอกเล่าของศาสนา ด้วยเหตุนี้จึงเชื่อกันว่าการกระทำต่างๆมีความผิดชอบชั่วดีอยู่ในตัวก่อนที่พระองค์จะแจ้งเสียอีก ความเชื่อเช่นนี้ย่อมจะส่งผลต่อความเชื่อในเรื่องอื่นๆ อาทิความเชื่อเกี่ยวกับอัลลอฮ์ และความเชื่อที่เกี่ยวกับมนุษย์ อย่างเช่นปริศนาที่ว่า “พระองค์ทรงมีเป้าหมายในการสร้างสรรพสิ่งต่างๆหรือไม่?”

อนึ่ง กลุ่มมุอ์ตะซิละฮ์เลือกที่จะปฏิเสธความเชื่อในเรื่องเตาฮี้ดอัฟอาลีเนื่องจากพวกเขาเชื่อในหลักอัดล์ โดยเชื่อว่าผลพวงของการยอมรับเตาฮี้ดอัฟอาลีก็คือการยอมรับว่าอัลลอฮ์เป็นผู้สร้างการกระทำของมนุษย์ โดยที่มนุษย์ไม่มีบทบาทใดๆต่อการกระทำของตัวเอง และว่าการเชื่อเช่นนี้ขัดต่อหลักอัดล์ของพระองค์ มุมมองของกลุ่มนี้ตรงข้ามกับมุมมองของกลุ่มอะชาอิเราะฮ์ที่ปฏิเสธอิสรภาพของมนุษย์ต่อพฤติกรรมของตนเอง

เหตุผลเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของหลักอัดล์ในมุมมองของมุอ์ตะซิละฮ์ ทำให้ทราบว่าเหตุใดพวกเขาจึงให้ความสำคัญต่ออัดล์ในฐานะที่เป็นหลักศรัทธาเสมือนชีอะฮ์ โดยจัดให้เป็นหลักศรัทธาข้อที่สองจากหลักศรัทธาห้าประการ

จึงเข้าใจได้ว่ากลุ่มมุอ์ตะซิละฮ์ยอมเสียความเชื่อเกี่ยวกับเตาฮี้ดอัฟอาลีไปเพื่อรักษาหลักแห่งอัดล์ ในขณะที่อะชาอิเราะฮ์ยอมเสียอัดล์ไปเพื่อคงไว้ซึ่งเตาฮี้ดอัฟอาลี ทว่าในความเป็นจริงแล้ว มุอ์ตะซิละฮ์เองก็ไม่สามารถแจกแจงหลักแห่งอัดล์ได้อย่างถูกต้อง และอะชาอิเราะฮ์เองก็ยังเข้าไม่ถึงแก่นแห่งเตาฮี้ดอัฟอาลี สรุปได้ว่าความขัดแย้งระหว่างสองกลุ่มนี้เกิดจากมุมมองต่อเตาฮี้ดและอัดล์นั่นเอง

อัดล์ในทัศนะของอิมามียะฮ์
นักวิชาการชีอะฮ์ได้ประยุกต์คำสอนของกุรอานและฮะดีษของท่านนบี(ซ.ล.)และอะฮ์ลุลบัยต์ในการลำดับหลักแห่งอัดล์เข้าเป็นหลักศรัทธาลำดับที่สองจากหลักศรัทธาห้าประการ โดยถือว่าการกระทำต่างๆมีความผิดชอบชั่วดีแฝงอยู่ในตัวของมันเอง กล่าวคือการกระทำบางอย่างเป็นเรื่องดี และการกระทำบางอย่างเป็นเรื่องน่ารังเกียจ สติปัญญามนุษย์สามารถรับรู้ถึงความดีและความน่ารังเกียจของการกระทำต่างๆได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาบัญญัติทางศาสนา ดังที่รับรู้ว่าความยุติธรรมเป็นเรื่องดี และการกดขี่เป็นเรื่องน่ารังเกียจ ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงบัญชามนุษย์เฉพาะเรื่องที่ดีงาม และห้ามปรามเฉพาะเรื่องที่น่ารังเกียจเท่านั้น บทบัญญัติศาสนาจึงเป็นไปตามความผิดชอบชั่วดีที่แท้จริงที่ปรากฏอยู่ในแต่ละการกระทำ และพระองค์ย่อมห้ามปรามทุกสิ่งที่เป็นอันตราย เนื่องจากพระองค์จะไม่ทรงกระทำสิ่งที่น่ารังเกียจอย่างแน่นอน ด้วยเหตุนี้จึงถือว่าพระองค์ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ชะฮีดมุเฏาะฮะรีกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “อัลลอฮ์ทรงประทานเมตตาหรือลงบะลาตามความเหมาะสมในแต่ละกรณี ทั้งนี้ ระบบระเบียบของโลกมีกลไกเฉพาะอันมีผลต่อการแผ่เมตตา ให้รางวัล ทดสอบ และลงโทษ”

แม้ว่าทั้งชีอะฮ์และมุอ์ตะซิละฮ์จะมีหลักความเชื่อที่คล้ายคลึงกันหลายประการ อันทำให้ได้รับฉายาว่า “อัดลียะฮ์”ร่วมกัน ทว่ายังมีข้อแตกต่างบางประเด็นระหว่างสองสำนักคิดดังกล่าวอยู่ เป็นต้นว่า ชีอะฮ์ยอมรับหลักแห่งอัดล์โดยไม่ส่งผลให้ต้องปฏิเสธเตาฮี้ดอัฟอาลีหรือเตาฮี้ดซาตี(เอกานุภาพเชิงอาตมัน) อันทำให้อัดล์และเตาฮี้ดอยู่คู่กันได้ สำนักคิดชีอะฮ์ยอมรับในหลักแห่งอัดล์, บทบาทของสติปัญญา, กลไกของโลกอันสอดคล้องกับวิทยปัญญา และอิสรภาพของมนุษย์ในการตัดสินใจ โดยไม่จำเป็นต้องหักล้างเตาฮี้ดซาตีหรืออัฟอาลีแต่อย่างใด ชีอะฮ์ยอมรับอิสระเสรีภาพของมนุษย์ในการตัดสินใจ แต่ก็มิได้ถือว่ามนุษย์เป็นภาคีของอัลลอฮ์ หรือมีอิทธิพลต่ออำนาจลิขิตของพระองค์ ยอมรับเกาะฎอเกาะดัรของอัลลอฮ์ แต่ไม่ยอมรับว่ามนุษย์ถูกบังคับให้เป็นไปตามเกาะฎอเกาะดัรเหล่านั้นโดยดุษณี

ความยุติธรรมในทัศนะของมุอ์ตะซิละฮ์นั้นมีอยู่เฉพาะเตาฮี้ดศิฟาตี (เอกานุภาพเชิงคุณสมบัติ) มิไช่เตาฮี้ดอัฟอาลี เนื่องจากเชื่อว่าเตาฮี้ดอัฟอาลีขัดแย้งกับหลักความยุติธรรมของพระองค์ พวกเขาให้นิยามเตาฮี้ดศิฟาตีว่า “ภาวะที่อาตมันของพระองค์ปราศจากซึ่งคุณสมบัติใดๆทั้งสิ้น” โดยไม่สามารถจะพิสูจน์ได้เสมือนชีอะฮ์ว่าอาตมันและคุณสมบัติของพระองค์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อีกด้านหนึ่ง เตาฮี้ดอัฟอาลีของชีอะฮ์ก็ต่างจากเตาฮี้ดอัฟอาลีของอะชาอิเราะฮ์เช่นกัน เนื่องจากอะชาอิเราะฮ์นิยามว่า “ไม่มีสิ่งใดจะมีอานุภาพเว้นแต่จะเชื่อมโยงกับพระองค์เท่านั้น” อันหมายความว่าผู้ที่สร้างกริยาต่างๆของมนุษย์ก็คืออัลลอฮ์ โดยมนุษย์มิได้มีอานุภาพใดๆต่อกริยาของตนเองโดยสิ้นเชิง

ในขณะที่เตาฮี้ดอัฟอาลีของชีอะฮ์เน้นเกี่ยวกับเรื่องของบ่วงโซ่เชิงเหตุและผล โดยถือว่าทุกผลลัพธ์นอกจากจะเกิดจากเหตุที่อยู่ใกล้สุดแล้ว ยังเป็นอานุภาพจากพระองค์อีกด้วย ซึ่งทั้งสองประการนี้เชื่อมเป็นบ่วงโซ่ มิได้เป็นเอกเทศจากกัน

ด้วยเหตุนี้ เตาฮี้ดในมุมมองของชีอะฮ์จึงครอบคลุมเตาฮี้ดเชิงอาตมัน, เชิงอิบาดัต, เชิงคุณลักษณะ, เชิงกริยา ซึ่งล้วนสอดคล้องกับหลักความยุติธรรมของพระองค์ทั้งสิ้น

จึงกล่าวได้ว่าอุละมาชีอะฮ์อิมามียะฮ์ได้ปกปักษ์รักษาหลักความเชื่ออันชัดเจนของอิสลามให้พ้นจากข้อครหาใหม่ๆที่สังคมกาฟิรใช้โจมตี โดยได้อาศัยการผดุงเอกภาพระหว่างมุสลิม และอิงคำสอนจากกุรอาน ดุอาและฮะดีษที่เน้นการแสดงเหตุและผล ตลอดจนสร้างเสริมศักยภาพการคิดเกี่ยวกับสารธรรมอิสลาม และได้รับแรงบันดาลใจจากคุฏบะฮ์อันน่าอัศจรรย์ของท่านอิมามอลี(อ.) ในฐานะที่เป็นผู้นำเสนอสารธรรมอิสลามเชิงวิเคราะห์เจาะลึกเป็นท่านแรก

ด้วยเหตุนี้เราจึงมักเห็นว่านักปรัชญาอิสลามส่วนใหญ่เลื่อมใสในแนวทางชีอะฮ์ บุคคลเหล่านี้สามารถผดุงไว้ซึ่งปรัชญาอิสลามวิถีชีอะฮ์ ดังที่นักประวัติศาสตร์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์เองก็ยอมรับว่าปัญญาของชีอะฮ์เป็นปัญญาแนวปรัชญามาตั้งแต่อดีตกาล อันหมายความว่านับแต่อดีตเป็นต้นมา แนวคิดชีอะฮ์เป็นแนวคิดเชิงปัญญาและการแสดงเหตุผลเสมอมา เหล่านี้ทำให้อุละมาชีอะฮ์สามารถใช้คำสอนของบรรดาอิมาม(อ.)พิสูจน์ให้ชาวโลกประจักษ์ถึงบทบาทสำคัญของหลักความยุติธรรมของอัลลอฮ์ที่ปรากฏในจารีตของพระองค์และบรรดาศาสดา

หลักความยุติธรรมของพระองค์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อแนวทางชีอะฮ์ ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าภายหลังการจากไปของท่านนบีมุฮัมมัด(ซ.ล.)ผู้เป็นปรมาจารย์แห่งวิวรณ์ ท่านอิมามอลี(อ.)ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำท่านแรกตามทัศนะของชีอะฮ์ ทั้งสองท่านนี้ล้วนเป็นรูปจำลองของความยุติธรรมและความรักที่มีต่อพระองค์ ซึ่งมาตรว่าความยุติธรรมจะจำแลงเป็นมนุษย์ก็ย่อมกลายเป็นท่านนบี(ซ.ล.)และท่านอิมามอลี(อ.)อย่างแน่นอน

ในทางกลับกัน หากบุคลิกของทั้งสองท่านนี้แปรเป็นนามธรรมก็ย่อมจะกลายเป็น “ความยุติธรรม” เนื่องจากสองท่านนี้ต่างเปรียบดั่งจารีตของพระองค์ เหตุเพราะเปี่ยมไปด้วยความยุติธรรม ดังที่พระองค์ทรงตรัสเกี่ยวกับจารีตของท่านนบี(ซ.ล.)ว่า لَقَدْ كانَ لَكُمْ فِى رَسُولِ اللهِ أُسْوَةٌ حَسَنَةٌ...

ไม่เพียงแต่พระองค์จะทรงยกย่องท่าน หากแต่ยังถือว่าท่านคือแบบฉบับที่สมบูรณ์สำหรับมนุษยชาติทุกกาลสมัย และกำชับแก่มนุษยชาติให้ยึดถือแนวทางของท่านอีกด้วย[2]

 

 


[1] อัลอินซาน, อัตตักวี้ร, ฯลฯ

[2] ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.mazaheb.ir/index.php?option=com_content&task=view&id=41&Itemid=37

 

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ชีวิตและจิตวิญญาณต้องนอนหลับหรือตายด้วยหรือไม่ ?
    6373 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    ปัญหาเรื่องจิตวิญญาณและแก่นแท้ของมันเป็นปัญหาที่พิพาทถกเถียงกันมาตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันซึ่งจัดได้ว่าเป็นปัญหาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งคำถามข้างต้นก็ได้ก็เป็นผลพวงและแหล่งที่มาจากคำถามนี้เองที่ว่าแก่นแท้ของมนุษย์ก็คือ กายภาพอันเป็นวัตถุตามลักษณะที่ปรากฏกระนั้นหรือหรือว่าเบื้องหลังของมันยังมีสิ่งอื่นที่ซ่อนเร้นอยู่อีกซึ่งตาเนื้อธรรมดาไม่อาจมองเห็นได้ซึ่งอยู่นอกเหนือคุณสมบัติของวัตถุและมีลักษณะศักดิ์สิทธิ์และถ้าเป็นเช่นนั้นจริงสิ่งนั่นเป็นวัตถุหรือนามธรรมที่ไร้สถานะและชะตากรรมของสิ่งนั้นภายหลังจากการตายของร่างกายจะเป็นอย่างไร?คำตอบสำหรับคำถามข้างต้นนี้สามารถอธิบายในเชิงของทฤษฎีบท,ในลักษณะที่เป็นเชิงตรรกะเพื่อจะได้ไปถึงยังบทสรุป
  • จุดประสงค์ของการสร้างคืออะไร จงอธิบายเหตุผลในเชิงเหตุผลนิยม ถ้าเป้าหมายคือความสมบูรณ์แล้วทำไมพระเจ้าไม่ทรงสร้างมนุษย์ให้สมบูรณ์แบบ
    13106 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    พระเจ้าคือผู้ดำรงอยู่ที่ไม่มีความจำกัด พระองค์ทรงมีความสมบูรณ์แบบทุกประการ การสร้าง (บังเกิด) เป็นความงดงาม และพระองค์คือผู้มีความงดงามความงดงามอันสมบูรณ์แบบของพระองค์ เป็นตัวกำหนดว่าพระองค์ทรงสร้างทุกอย่างขึ้นตามคุณค่าของมัน ดังนั้น พระเจ้าทรงสร้างเป็นเพราะพระองค์คือผู้งดงาม หมายถึงจุดประสงค์และเป้าหมายในการสร้างของพระองค์นั้นงดงาม อีกด้านหนึ่งคุณลักษณะอาตมันของพระเจ้าไม่ได้แยกออกจากอาตมันของพระองค์ จึงสามารถกล่าวได้ว่าจุดประสงค์ของการสร้างคือ อาตมันของพระเพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์มาโดยให้มีแนวโน้มที่ดีและความชั่วร้ายภายใน และทรงประทานผู้เชิญชวนภายนอก 2 ท่าน ที่ดีได้แก่ศาสดา (นบี) และความชั่วร้ายได้แก่ชัยฎอน (ปีศาจ), ทั้งนี้มนุษย์สามารถบรรลุความสมบูรณ์สูงสุดของสรรพสิ่งที่อยู่หรือก้าวไปสู่ความชั่วช้าที่ต่ำทรามที่สุดก็เป็นได้ ทั้งที่มนุษย์นั้นมีพลังของเดรัจฉานและการลวงล่อของซาตานที่ล่อลวงอยู่ตลอดเวลา ...
  • เหตุใดท่านอิมามอลี(อ.)จึงวางเฉยต่อการหมิ่นประมาทท่านหญิงฟาฏิมะฮ์?
    7196 ประวัติหลักกฎหมาย 2554/10/09
    การที่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ถูกทุบตีมิได้ขัดต่อความกล้าหาญของท่านอิมามอลี(อ.) เพราะในสถานการณ์นั้นท่านต้องเลือกระหว่างการจับดาบขึ้นสู้เพื่อทวงสิทธิของครอบครัวที่ถูกละเมิดหรือจะอดทนสงวนท่าทีแล้วหาทางช่วยเหลืออิสลามด้วยวิธีอื่นจากการที่การจับดาบขึ้นสู้ในเวลานั้นเท่ากับการต่อต้านและสร้างความแตกแยกในหมู่มุสลิมอันจะทำให้สังคมมุสลิมยุคแรกอ่อนเปลี้ยส่งผลให้กองทัพโรมันเหล่าศาสดาจอมปลอมและผู้ตกศาสนาจ้องตะครุบให้สิ้นซากท่านอิมามอลี(อ.)ยอมสละความสุขของตนและครอบครัวเพื่อผดุงไว้ซึ่งอิสลามศาสนาที่เป็นผลงานคำสอนทั้งชีวิตของท่านนบี(ซ.ล.)และการเสียสละของเหล่าชะฮีดในสมรภูมิต่างๆ ...
  • ท่านอิมามฮุซัยนฺและเหล่าสหายในวันอาชูทั้งที่มีน้ำอยู่เพียงน้อยนิด และฆุซลฺได้อย่างไร?
    5642 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/11/21
    การพิจารณาและวิเคราะห์รายงานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความกระหายของเหล่าสหายและบรรดาอธฮฺลุลบัยตฺของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) และรายงานที่กล่าวถึงการฆุซลฺ (อาบน้ำตามหลักการ
  • ทำไมเราจึงต้องมีเพียงสิบสองอิมามเท่านั้น ในยุคสมัยของอิมามที่ไม่ปรากฏตัว เราจะสามารถหาทางรอดพ้นได้อย่างไร?
    6370 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/03
    ตำแหน่งอิมามเป็นตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระผู้เป็นเจ้า การกำหนดตัวบุคคลที่จะขึ้นมาเป็นอิมามและจำนวนของอิมามนั้นขึ้นกับพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าและทางเดียวที่เราจะสามารถรับรู้ถึงเจตนาดังกล่าวได้ก็คือฮะดีษของท่านศาสดาแห่งอิสลาม (ศ็อลฯ) นั่นเองท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวถึงบุคคลและจำนวนของอิมาม(อ
  • ฮะดีษที่ว่า “ผู้ใดสิ้นลมโดยปราศจากสัตยาบัน ถือว่าเขาตายในสภาพญาฮิลียะฮ์” รวมถึงตัวท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยหรือไม่?
    7978 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/01/19
    สัตยาบัน(บัยอัต)มีสองด้านด้านหนึ่งคือผู้นำ(นบี,อิมาม) อีกด้านหนึ่งคือผู้ตามในเมื่อท่านนบีเป็นผู้นำจึงถือเป็นฝ่ายได้รับสัตยาบันมิไช่ฝ่ายที่ต้องให้สัตยาบันแน่นอนว่าฮะดีษนี้ต้องการจะสื่อว่าลำพังการรู้จักอิมามยังไม่ถือว่าเพียงพอแต่จะต้องเจริญรอยตามด้วยอย่างไรก็ดีฮะดีษข้างต้นมิได้หมายรวมถึงท่านนบี(ซ.ล.)เนื่องจากเหตุผลที่กล่าวไปแล้วส่วนประเด็นการแต่งตั้งตัวแทนภายหลังจากท่านนบี(ซ.ล.)นั้นเรามีหลักฐานที่ชัดเจนระบุว่าท่านนบี(ซ.ล.)ได้แต่งตั้งท่านอิมามอลี(อ.)เป็นตัวแทนภายหลังจากท่านรายละเอียดโปรดคลิกอ่านจากคำตอบแบบสมบูรณ์ ...
  • ศาสนาและวัฒนธรรมมีความสัมพันธ์กันอย่างไร?
    12885 เทววิทยาใหม่ 2554/06/02
    การที่จะสามารถนิยามความสัมพันธระหว่างศาสนาและวัฒนธรรมจารีตได้นั้นขั้นแรกต้องเข้าใจถึงลักษณะจำเพาะเป้าประสงค์และผลผลิตของทั้งศาสนาและวัฒนธรรมเสียก่อน.บางคนปฎิเสธความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและวัฒนธรรมโดยสิ้นเชิงทัศนคตินี้ค่อนข้างจะไร้เหตุผลทั้งนี้ก็เพราะแม้ว่าวัฒนธรรมจารีตบางประเภทอาจจะผิดแผกและไม่เป็นที่ยอมรับโดยศาสนาเนื่องจากขัดต่อเป้าประสงค์ที่ศาสนามุ่งนำพามนุษย์สู่ความผาสุกแต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่ายังมีวัฒนธรรมจารีตอีกมากมายที่สอดคล้องและได้รับการยอมรับโดยศาสนายิ่งไปกว่านั้นยังมีวัฒนธรรมจารีตบางส่วนที่เกิดขึ้นจากคุณค่าที่ได้รับการฟูมฟักโดยศาสนาเช่นกัน. ...
  • หากในท้องปลาที่ตกได้ มีปลาตัวอื่นอีกด้วย จะรับประทานได้หรือไม่?
    5871 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/17
    มีการสอบถามคำถามทำนองนี้ไปยังสำนักงานของบรรดามัรญะอ์ตักลีดบางท่านซึ่งท่านได้ให้คำตอบดังนี้ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอี:ปลาที่ตกได้ถือว่าฮะลาลท่านอายาตุลลอฮ์ซิซตานี:อิห์ติยาฏวาญิบ(สถานะพึงระวัง) ถือว่าเป็นฮะรอมท่านอายาตุลลอฮ์ฟาฎิลลังกะรอนี:หากปลาที่ตกมาได้เป็นปลาประเภทฮาลาลก็ถือว่าเป็นอนุมัติท่านอายาตุลลอฮ์มะการิมชีรอซี:อิห์ติยาฏควรจะหลีกเลี่ยง[1]อายาตุลลอฮ์อะรอกี:อิห์ติยาฏควรจะหลีกเลี้ยงเนื่องจากเราไม่สามารถรู้ได้ว่าตอนที่มันออกมามีชีวิตหรือไม่ดังนั้นถือว่าไม่สะอาด[2]อายาตุลลอฮ์นูรีฮาเมดอนี:ถือว่าฮาลาล[3]ดังที่ได้กล่าวมาจะเห็นได้ว่าบรรดามัรญะอ์มีทัศนะที่แตกต่างกันไปเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแต่สามารถสรุปได้โดยรวมว่าหากมีสัตว์ที่อยู่ในท้องของปลาที่จับมาได้หากสัตว์ตัวนั้นเป็นปลาหรือเป็นสัตว์น้ำชนิดที่รับประทานได้ตามหลักศาสนาโดยขณะที่เราเอาผ่าออกมาเราแน่ใจว่าสัตว์น้ำดังกล่าวยังมีชีวิตอยู่ถือว่าฮาล้าลส่วนกรณีที่ต่างไปจากนี้อาทิเช่นเมื่อได้ผ่าท้องปลาและเห็นว่าสัตว์ที่อยู่ในท้องมันตายแล้วก่อนหน้านั้นถือว่าไม่สามารถรับประทานสัตว์น้ำดังกล่าวได้ส่วนในกรณีที่สาม (ไม่รู้ว่าสัตว์น้ำในท้องปลายังมีชีวิตหรือไม่) ในกรณีนี้บรรดามัรญะอ์มีทัศนะที่แตกต่างกันไปดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นดังนั้นมุกัลลัฟแต่ละจะต้องทำตามฟัตวาของมัรญะอ์ของตน
  • อัลลอฮฺ ทรงอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ธรรมชาติด้วยหรือไม่?
    5818 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/07
    อัลลอฮฺ คือพระผู้ทรงกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ทางธรรมชาติ อาตมันสากลของพระองค์มิได้อยู่ภายใต้อำนาจของสิ่งใดทั้งสิ้น นอกจากความต้องการของพระองค์ หรือเว้นเสียแต่ว่าความประสงค์ของพระองค์ต้องการที่จะปฏิบัติภารกิจหนึ่ง ซึ่งทรงเป็นสาเหตุของการเกิดสิ่งนั้น ขณะเดียวกันการละเมิดกฎต่างๆในโลกที่ต่ำกว่า โดยพลังอำนาจที่ดีกว่าของพระองค์ถือเป็น กฎเกณฑ์อันเฉพาะ และเป็นประกาศิตที่มีความเป็นไปได้เสมอ ซึ่งเราเรียกสิ่งนั้นว่า ปาฏิหาริย์,แน่นอน ปาฏิหาริย์มิได้จำกัดอยู่ในสมัยของบรรดาศาสดาเท่านั้น ทว่าสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกสมัย เพียงแต่ว่าปาฏิหาริย์ได้ถูกมอบแก่บุคคลที่เฉพาะเท่านั้น เป็นความถูกต้องที่ว่าความรู้มีความจำกัดและขึ้นอยู่ยุคสมัยและสภาพแวดล้อม ไม่มีความรู้ใดยอมรับหรือสนับสนุนเรื่องมายากล และเวทมนต์ แต่คำพูดที่ถูกต้องยิ่งกว่าคือ เจ้าของความรู้เหล่านั้นบางครั้ง ได้แสดงสิ่งที่เลยเถิดไปจากนิยามของความรู้หรือที่เรียกว่า มายากล เวทมนต์เป็นต้น อีกนัยหนึ่งกล่าวได้ว่า สิ่งนั้นคือการมุสาและการเบี่ยงเบนนั่นเอง ...
  • ความแตกต่างระหว่างจริยธรรมกับจริยศาสตร์คืออะไร? สิ่งไหนครอบคลุมมากกว่ากัน? และการตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์กับจริยธรรมอันไหนครอบคลุมมากกว่า?
    20839 จริยธรรมทฤษฎี 2555/04/07
    คำว่า “อัคลาก” ในแง่ของภาษาเป็นพหูพจน์ของคำว่า “คุลก์” หมายถึง อารมณ์,ธรรมชาติ, อุปนิสัย, และความเคยชิน,ซึ่งครอบคลุมทั้งอุปนิสัยทั้งดีและไม่ดี นักวิชาการด้านจริยศาสตร์,และนักปรัชญาได้ตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์ไว้มากมาย. ซึ่งในหมู่การตีความทั้งหลายเหล่านั้นของนักวิชาการสามารถนำมารวมกัน และกล่าวสรุปได้ดังนี้ว่า “อัคลาก ก็คือคุณภาพทางจิตวิญญาณของมนุษย์ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่มีความเหมาะสม หรือพฤติกรรมอันเหมาะสมของมนุษย์ที่ปฏิบัติในชีวิตประจำวันตน” สำหรับ ศาสตร์ด้านจริยธรรมนั้น มีการตีความไว้มากมายเช่นกัน ซึ่งในคำอธิบายเหล่านั้นเป็นคำพูดของท่าน มัรฮูม นะรอกียฺ กล่าวไว้ในหนังสือ ญามิอุลสะอาดะฮฺว่า : ความรู้ (อิลม์) แห่งจริยศาสตร์หมายถึง การรู้ถึงคุณลักษณะ (ความเคยชิน) ทักษะ พฤติกรรม และการถูกขยายความแห่งคุณลักษณะเหล่านั้น การปฏิบัติตามคุณลักษณะที่แตกต่างกันในการช่วยเหลือให้รอดพ้น หรือการการปล่อยวางคุณลักษณะที่นำไปสู่ความหายนะ” ส่วนการครอบคลุมระหว่างจริยธรรมกับศาสตร์แห่งจริยธรรมนั้น มีคำกล่าวว่า,ความแตกต่างระหว่างทั้งสองมีอยู่เฉพาะในทฤษฎีเท่านั้นเอง ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าหากจะกล่าวว่า สิ่งไหนมีความครอบคลุมมากกว่ากันจึงไม่มีความหมายแต่อย่างใด ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59465 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56925 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41727 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38481 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38467 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33503 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27576 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27303 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27194 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25268 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...